ทำวิธีขอย้ายสิทธิ์บัตรทองยังไงบ้างครับ ต้องไปแจ้งที่ไหน

ตอนแรกสิทธิ์บัตรทองผมอยู่หัวเฉียวแต่พอย้ายมหาลัยมาเรียนแถบนนท์ทำให้ใช้บัตรทองได้ที่โรงบาบปากเกร็ดครับ
ซึ่งมันไกลมากๆๆ ไม่สะดวก เลยอยากรู้วิธีขอย้ายสิทธิ์กลับมาได้ไหม  บ้านผมอยู่แถวเขตดุสิต-ป้อมปราบน่ะครับ  จะใช้สิทธิ์โรงบาลไหนได้มั่ง
ผมเน้นทำฟันน่ะครับ ไม่ได้รักษาไข้  แล้วใช้เวลาย้ายนานไหมครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ทำบัตรทองใหม่และแจ้งย้ายบัตรทองได้ที่ไหน

ทำบัตรทองใหม่
๑.      ทำบัตรทองได้ที่สำนักงานเขตทุกพื้นที่
๒.      ผู้ป่วยที่มีสิทธิ์ว่าง สามารถรับเลือกสิทธิ์การรักษา ณ วันที่เข้ารับการรักษา ได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ทุกที่
แจ้งย้ายบัตรทอง
ผู้ถือบัตรทองสามารถขอย้ายสถานพยาบาลต้นสังกัด ได้ปีละ ๒ ครั้ง ที่สำนักงานเขตทุกพื้นที่ กรณีที่มีการย้ายที่อยู่อาศัย
เช่น ไปทำงาน  หรือไปเรียนต่อเป็นเวลานาน ๆ หากเจ็บป่วยจะไม่สามารถกลับมาใช้สิทธิรักษาที่สถานพยาบาลต้นสังกัดได้
ควรแจ้งย้ายบัตรทองเพื่อความสะดวกในการเข้ารับการรักษา การแจ้งย้ายสามารถแจ้งที่ต้นสังกัด หรือย้ายที่ปลายทางก็ได้

สิทธิของผู้ถือบัตรทอง
ผู้ถือบัตรทองสามารถใช้บัตรทอง  เข้ารับบริการทั้งสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค (ก่อนป่วย)
และการรักษาโรค (เมื่อป่วยแล้ว) ดังนี้
การสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค เช่น ฝากท้อง ตรวจสุขภาพเด็ก ให้วัคซีนเด็ก ตรวจสุขภาพ
(ตามแนวทางที่กำหนด)การวางแผนครอบครัว การเยี่ยมบ้าน  เพื่อให้การดูแลและให้ความรู้  การตรวจฟัน
การเคลือบหลุมร่องฟัน เป็นต้น
การรักษาโรค ตั้งแต่โรคทั่วไป เช่น  ไข้หวัด  ท้องเสีย โรคกระดูก ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ฯลฯ
ที่รักษาโดยยากิน ยาฉีด หรือการรักษาพื้นฐานทั่วไป จนถึงโรคร้ายแรงที่ต้องผ่าตัด หรือรักษาแบบอื่นที่ซับซ้อน
โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น ผ่าตัดหัวใจ  ผ่าตัดสมอง โรคมะเร็ง ฯลฯ การรักษาโรคเอดส์และไตวาย
สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้   ส่วนยาต้านไวรัสเอดส์หรือยา AZT มีงบประมาณเฉพาะจัดไว้ที่กระทรวงสาธารณสุข
ผู้ป่วยเอดส์รายใดจะได้รับยาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผลการตรวจของแพทย์ผู้ทำการรักษา ทั้งนี้บัตรทองยังครอบคลุม
ในกรณี อุบัติเหตุ ฉุกเฉิน ด้วย

ผู้ถือบัตรทอง ต้องปฏิบัติตนดังนี้
1.ไปใช้สิทธิ กับสถานพยาบาลที่ได้เลือก และปฏิบัติตามขั้นตอนของสถานพยาบาลนั้นๆ
2.พกบัตรประจำตัวประชาชนเสมอเวลามารับบริการที่สถานรักษาพยาบาล
3.ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้การรักษา เช่น การ การมาตรวจตามนัด การรับประทานยาต่อเนื่อง เป็นต้น

โรคที่ใช้สิทธิบัตรทองไม่ได้
๑.      โรคจิตที่ต้องรับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยในเกินกว่า ๑๕ วัน
๒.      การบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติด
๓.      อุบัติเหตุจากรถที่มี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (เบิกจาก พ.ร.บฯ ก่อนส่วนเกินจึงใช้สิทธิบัตรทอง)
๔.      การรักษาที่ต้องนอนโรงพยาบาลต่อเนื่อง นานเกินกว่า ๑๘๐ วัน
๕.      การทำฟันปลอมและรักษารากฟัน

ที่มา::: สปสช.
http://office.bangkok.go.th/healthcenter47/index.php?option=com_content&view=article&id=23:2011-10-11-04-35-32&catid=8:2011-10-08-08-04-42&Itemid=30
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่