นิทานชาวสวน ๑๔ มี.ค.๕๖
นิทานชาวสวน
ชุด สงครามใต้ดิน
ตอน โรงเรียนใต้ดิน
เมื่อได้เล่าเรื่องเสรีไทยสายทหารบก สายตำรวจแล้ว คราวนี้ก็เป็นเสรีไทยสายทหารเรือบ้าง ท่านที่จะกล่าวถึงนี้มีผู้คนรู้จักชื่อเสียงน้อยเต็มที ท่านเป็นทหารเรือรุ่นเก่าจบจากโรงเรียนนายเรือตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๓ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ไม่เท่าไร ท่านผู้นี้คือ พลเรือตรี หลวงสังวรยุทธกิจ ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ได้ร่วมอยู่ในคณะราษฎร ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ด้วย
ท่านได้เป็นผู้บังคับการเรือรบหลายลำ ในระหว่างสงครามอินโดจีน ได้เป็นผู้บังคับการเรือรบหลวงศรีอยุธยา และเป็นผู้บังคับหมวดเรือปืนด้วย แต่พอถึง พ.ศ.๒๔๘๕ ขณะเป็นเจ้ากรมเสมียนตรา กลับมาสำรองราชการ กรมเสนาธิการทหาร
ท่านได้เล่าไว้ในเรื่อง เกิดมาแล้วต้องเป็นไปตามกรรม คือกฎแห่งธรรมชาติ ว่า ขณะที่เรามาอยู่กรมเสมียนตรา ซึ่งต้องจำใจทำงานไปตามบัญชาของกองบัญชาการทหารสูงสุด จอมพลก็คงไม่หายระแวง ยังมีการติดตามสอบสวนส่วนตัวเรา ทำให้เราต้องโกรธขึ้นมาบ้างเลยไม่ไปทำงานกัน จอมพลให้หมอมาตรวจ เราไม่ยอมให้ตรวจเลยสั่งย้ายไปสำรองกรมเสนาธิการทหาร เราก็ไม่ยอมไปทำงานอีก จอมพลโกรธใหญ่เลยสั่งให้ปลดออกจากราชการ
แต่อีกหนึ่งเดือนต่อมา จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ก็แต่งตั้งให้ท่านเป็นรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงมหาดไทย ท่านเล่าต่อไปว่า
ตอนนี้เราจะต้องเป็นขุนนางฝ่ายบุ๋น ได้รับแต่งตั้งตอนสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดใส่เมือง รุ่งขึ้นเราก็แต่งกายสากลด้วยอ้อนวอนของเมีย ให้ไปรายงานท่านนายก เมื่อพบ พันเอกไชย ประทีปเสน และหลวงอดุลย์ก็พยักหน้าบอกว่า อั้วบอกลื้อแล้ว หลวงพิบูลเขาโกรธลื้อไม่กี่น้ำหรอก เมื่อเราสามคนเดินมุ่งจะเข้าไปให้ใกล้ท่านนายกซึ่งแต่งตัวแบบเล่นกีฬากอล์ฟ ท่านตะโกนมาบอกว่า ไม่ต้องรายงาน สั่งหลวงพรหม (หลวงพรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) เขาไว้แล้ว ให้หลวงสังวรไปช่วยงานกระทรวงมหาดไทย คุณไชยหารถให้หลวงสังวรขี่สักคันด้วย
นึกก็น่าขัน เมื่อวานนี้เราเป็นพลเมืองลูกบ้าน กลางวัน ๆ นี้มานั่งเคียงข้างท่านรัฐมนตรีมหาดไทย ถูกแบ่งหน้าที่ให้เป็นรัฐมนตรีฝ่ายอพยพพลเมือง (Ministry of refuges) มีหน้าที่สร้างที่พัก ถนน ตระเตรียมอาหารการกินให้แก่พลเมืองที่ถูกภัยทางอากาศ
ระยะนี้ญี่ปุ่นบีบคั้นการเศรษฐกิจเมืองไทยมากขึ้น เครื่องอุปโภคบริโภคราคาสูงมากขึ้น แลทีท่าของญี่ปุ่นแสดงไม่ไว้วางใจรัฐบาลตลอดเวลานี้ ทั้งที่รัฐบาลได้เร่งรัดการอพยพพลเมือง แลการสร้างถนนไปสู่เพชรบูรณ์ แลหน่วยทหารบกทั้งหลายเริ่มทิ้งที่ตั้งในพระนคร เคลื่อนไปทางเหนือหมดแล้ว คนสำคัญในวงการทูตญี่ปุ่นได้หาโอกาสเข้าพบปะรัฐมนตรี คนที่เขาคิดว่าเป็นแขนเป็นเท้าอันใกล้ชิดของนายก แล้วก็พูดกันถึงเรื่องการแคลงใจ ซึ่งญี่ปุ่นมีต่อไทยในยามนี้ ทั้งนี้เพราะทางวิทยุกระจายเสียงฝ่ายสัมพันธมิตรก็โจมตีรัฐบาล แลยุให้คนไทยลุกฮือขึ้นขับไล่ญี่ปุ่น เมื่อถึงเวลาที่ฝรั่งยกมา
ที่จริงก็น่าสงสารนายกพิบูลสงคราม ที่พยายามดิ้นรนต่อสู้กับผู้ยึดครองทุกด้าน ท่านโอดครวญในที่ประชุมเสมอว่า พวกเราอยู่ในฐานะจิ้งจกตายซาก สำหรับส่วนตัวท่านอุตส่าห์นั่งทน การรบกวนที่จะเอาเงิน เอาสารพัดต่อคนไทย เมืองไทย ของพวกญี่ปุ่น
ความวัวไม่ทันหายความควายก็เข้ามาแทรก ท่านปรีดีกับท่านควงรวมกำลังแน่นแฟ้น ทหารเรือแสดงท่าทีหนุนหลัง ฝ่ายค้านในสภาเริ่มหาทางเคลื่อนไหวไปในทำนองโจมตีรัฐบาลให้ล้ม
คณะฝ่ายค้านในสภาได้กำลังเข้มแข็งมาก ฝ่ายค้านซึ่งท่านปรีดีหนุนหลัง มีท่านควงเป็นคนสำคัญ โดยพลโท นาคามูระ แม่ทัพหน่วยงิ และได้หลวงสินาด (หลวงสินาดโยธารักษ์) เป็นหัวแรงทางทหารบก อาศัยบารมีท่านเจ้าคุณพหล (พระยาพหลพลพยุหเสนา) ซึ่งคนทั้งหลายก็ทราบว่าท่านนอนป่วยลุกแทบไม่ไหว พวกฝ่ายค้านช่วยกันหามท่านไปนอนบัญชางานที่ท้องพระโรง โรงเรียนนายเรือ
ด้านสภาเปิดอภิปรายโจมตี เรื่องพระราชบัญญัติสร้างเพชรบูรณ์และพุทธบุรี ข้าราชการและราษฎรไม่พอใจรัฐบาล เรื่องการบังคับให้ปฏิบัติทางวัฒนธรรมอยู่เป็นทุน Sympathy ฝ่ายค้านอยู่มาก
บ่ายวันที่ ๑ สิงหาคม ซึ่งเรานั่งประชุม ค.ร.ม.เกือบครบชุด ขาดหลวงอดุลย์ และหลวงสินธุ์สงครามไชย ยังไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน ท่านนายกนั่งหัวโต๊ะ พ.อ.ไชย ลุกหายไปครู่หนึ่งกลับมาบอกว่าสภากำลังอลเวง พ.อ.ไชย ยื่นซองจดหมายให้นายก ท่านรับมาอ่านแล้วรู้สึกหน้าไม่สู้ดี ท่านส่งให้รัฐมนตรีอ่านทุกคน เราอ่านเป็นคนสุดท้าย เป็นสานส์ของแม่ทัพหน่วยงิ ขอร้องให้รัฐบาลปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มิฉะนั้นญี่ปุ่นจะจัดเรื่องตามที่เห็นสมควร
รัฐบาลของ จอมพล ป.พิบูลสงครามได้ลาออกเมื่อ ๑ สิงหาคม ๒๔๘๗ พลเรือตรี หลวงสังวรยุทธกิจ ได้รับการทาบทามจากรัฐบาล พันตรี ควง อภัยวงศ์ ให้เป็นรัฐมนตรีอีก ท่านก็ไม่ยอมรับ แต่ต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สารวัตรใหญ่ทหาร ท่านเล่าว่า
พอตอนค่ำวันนั้น (๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๗) พระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เราเป็นสารวัตรใหญ่ทหาร อันมีนายควงสนองพระบรมราชโองการ ประกาศก้องขึ้นทางวิทยุกระจายเสียง เมียนั่งฟังวิทยุแล้วบ่นว่า พุทธโธ่เอ๋ยคุณหลวง เคยมีหน้าที่เป็นผู้บังคับกองเรือ เวลานั่งเรือเล็กผ่านเรือใหญ่ เคยมีเกียรติยศ แตรเดี่ยวเป่ากระทั่งทหารทุกคนลุกขึ้นยืนตรงคำนับ เราก็ไม่รู้จะพูดว่าอย่างไร ได้แต่บอกว่าพรหมลิขิตสร้างฉันมารับใช้บ้านเมืองอย่างนี้นี่
รุ่งขึ้นเราต้องแต่งการสากลไปกรมสารวัตรทหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่โรงละครสวนมิสกวัน พบรองสารวัตรซึ่งมานั่งร่วมคุย เราไม่มีฟอร์มทหารจะแต่ง เพราะตัดสินใจทิ้งน้ำกันหมด เมื่อคราวถูกนายกพิบูลปลดเราออกจากราชการ ในพระบรมราชโองการคงใช้ยศนายนาวาเอกทหารเรือ เราจึงต้องไปว่าจ้างเจ๊กให้ตัดยูนิฟอร์มด่วน ๔-๕ วันให้แล้วทันกำหนดการที่ท่านขุนปลดปรปักษ์ กำหนดที่จะส่งหน้าที่กัน
กรมสารวัตรเนื้อแท้ ๆ ไม่มีอะไรเลย สถานที่ก็ยืมเรือนโรงของสวนมิสกวัน ซึ่งรัฐบาลกำหนดไว้ให้กรมศิลปากรสร้างโรงละครแห่งชาติ ยานพาหนะตลอดจนผู้คนได้มาจากกรมทหารบก เรือ อากาศ แบ่งมาให้แห่งละเล็กละน้อย ก่อนที่ท่านนายกพิบูลจะปรับปรุงขึ้นใหม่จนตอนที่เราจะไปรับหน้าที่นี้ ได้ความว่าทหารที่สามกองทัพจะรุทิ้งแล้ว เขาจึงส่งมาอยู่กรมสารวัตร ท่านพิบูลเห็นความจำเป็นที่ญี่ปุ่นเขาก้าวไกลทาง M.P. ของเขา ท่านจึงได้จัดหน่วย M.P.ของเราขึ้น โดยบรรจุบุคคลชั้นดีขึ้นหน่อยไว้ แต่ก็ไม่สู้มากพอที่จะดำเนินการกีดกันญี่ปุ่นได้
ส่วนงานที่ท่านได้รับใหม่นี้เป็นของคณะรัฐบาลท่านควง อภัยวงศ์ ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เสรีไทยเต็มตัวตามที่ท่านปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าขบวนการเสรีไทยในประเทศ ขอร้องให้ทำงานเพื่อชาติ ท่านได้เล่าต่อไปว่า
สายตาของพวกญี่ปุ่นเขาคอยจับเคลื่อนไหวเรา พอเริ่มนั่งเก้าอี้ได้เดือนหนึ่ง พ.อ.ทูโคตะ หัวหน้าสารวัตรญี่ปุ่น พร้อมด้วยนายเอบาตา ล่ามพิเศษได้มาเยี่ยมคำนับ แลเขาทราบว่าเราเคยไปอยู่ในนาวีญี่ปุ่นมาด้วย เขาจึงทำความสนิทสนมกับเรามาก จนเกิดการต้องเชิญเลี้ยงกันบ่อย ๆ หน่วยสารวัตรของเขาแลเราทำงานประสานกันได้ดีมาก โดยเหตุที่หัวหน้าสารวัตรของเขา เป็นคนสำคัญของแม่ทัพหน่วยงิ พลโทนาคามูระอยู่แล้ว เราจึงต้องถูกเชิญไปทุกคราวที่มีการ dinner ที่หน่วยงิ
แม้ท่านต้องคบทหารญี่ปุ่นเพื่อแก้เรื่องความยุ่งยากสงสัยกันเกิดขึ้นเนือง ๆ จน เบาบางลงมากแล้ว แต่ท่านก็ไม่ลืมหน้าที่ซึ่งต้องปฏิบัติงานเสรีไทยกู้บ้านกู้เมือง ท่านจึงคิดถึงกองทัพประชาชนที่ขาดนายทหารนายสิบที่จะนำการรบ ขณะนั้นเป็นเวลาปิดการศึกษาในกรุงเทพ ราษฎรอพยพไปต่างจังหวัด ท่านจึงเรียกรับสมัครนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเข้ารับการฝึกฝน โดยใช้หลักสูตรนายร้อยสำรอง อบรมนักศึกษาจุฬาลงกรณ์ และหลักสูตรนายสิบ อบรมนักเรียนเตรียมทั้งจุฬาลงกรณ์และธรรมศาสตร์
ต่อมาท่านได้เลื่อนยศเป็นพลเรือตรี และเปิดโรงเรียนสารวัตรทหาร ซึ่งมีกำลังสามกองร้อยทหารราบ กับหนึ่งหมวดปืนกลหนัก ได้รับครูจากทหารบก เรือ ตำรวจ มาช่วยอบรมสั่งสอน ได้ทำพิธีเปิดโรงเรียนต่อหน้ารัฐมนตรีกลาโหม นายพลโทนาคามูระและพันเอกทูโอตะ กับคณะนายทหารญี่ปุ่นได้มาเป็นแขกด้วย
เรื่องการเปิดโรงเรียนสารวัตรทหารนี้ ประธานรุ่นนักเรียนทหารสารวัตร พ.ศ.๒๔๘๘ ได้เล่าไว้ว่า
ในวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๘ เวลา ๑๐.๐๐ น. ได้มีการประชุมนิสิตชายทุกคณะแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยขึ้นที่หอประชุมจุฬาฯ มีนิสิตเข้าร่วมประชุมประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ คน พล.ร.ต.สังวรฯ ได้ลุกขึ้นกล่าวอารัมภบท และชี้แจงวัตถุประสงค์ในการเปิดรับสมัครนักเรียนนายทหารสารวัตรครั้งนี้ สุดท้ายได้ขอร้องให้บรรดานิสิตทั้งหมดเสียสละเพื่อประเทศชาติ โดยสมัครเข้าเป็นนักเรียนนายทหารสารวัตร ในตอนแรกบรรดานิสิตต่างงงงวย และไม่สู้เข้าใจในคำพูดของท่านสารวัตรใหญ่ทหาร เท่าใดนัก ทว่าต่อมามีการกระซิบบอกกันเป็นทางลับ ๆ ว่า การเป็นนักเรียนนายทหารสารวัตรคราวนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อไปสู้รบต่อต้านญี่ปุ่นนั่นแหละ บรรดานิสิตทั้งหมดจึงเข้าใจ ต่างได้สมัครเข้าเรียนในโรงเรียนนายทหารสารวัตรประมาณ ๓๐๐ คนเศษ หลังจากทำการตรวจโรคแล้ว จึงคัดเลือกผู้ที่เป็นนักเรียนนายทหารสารวัตรไว้ ๒๙๘ นาย
กิจการของนักเรียนทหารสารวัตร ที่มีความมุ่งหมายที่จะให้เป็นผู้นำกองทัพประชาชน เพื่อปลดแอกจากกองทัพญี่ปุ่น จึงได้เริ่มขึ้นตั้งแต่บัดนั้น.
#############
วางเมื่อ เวลา ๐๗.๒๙
นิทานชาวสวน ๑๔ มี.ค.๕๖
นิทานชาวสวน
ชุด สงครามใต้ดิน
ตอน โรงเรียนใต้ดิน
เมื่อได้เล่าเรื่องเสรีไทยสายทหารบก สายตำรวจแล้ว คราวนี้ก็เป็นเสรีไทยสายทหารเรือบ้าง ท่านที่จะกล่าวถึงนี้มีผู้คนรู้จักชื่อเสียงน้อยเต็มที ท่านเป็นทหารเรือรุ่นเก่าจบจากโรงเรียนนายเรือตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๓ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ไม่เท่าไร ท่านผู้นี้คือ พลเรือตรี หลวงสังวรยุทธกิจ ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ได้ร่วมอยู่ในคณะราษฎร ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ด้วย
ท่านได้เป็นผู้บังคับการเรือรบหลายลำ ในระหว่างสงครามอินโดจีน ได้เป็นผู้บังคับการเรือรบหลวงศรีอยุธยา และเป็นผู้บังคับหมวดเรือปืนด้วย แต่พอถึง พ.ศ.๒๔๘๕ ขณะเป็นเจ้ากรมเสมียนตรา กลับมาสำรองราชการ กรมเสนาธิการทหาร
ท่านได้เล่าไว้ในเรื่อง เกิดมาแล้วต้องเป็นไปตามกรรม คือกฎแห่งธรรมชาติ ว่า ขณะที่เรามาอยู่กรมเสมียนตรา ซึ่งต้องจำใจทำงานไปตามบัญชาของกองบัญชาการทหารสูงสุด จอมพลก็คงไม่หายระแวง ยังมีการติดตามสอบสวนส่วนตัวเรา ทำให้เราต้องโกรธขึ้นมาบ้างเลยไม่ไปทำงานกัน จอมพลให้หมอมาตรวจ เราไม่ยอมให้ตรวจเลยสั่งย้ายไปสำรองกรมเสนาธิการทหาร เราก็ไม่ยอมไปทำงานอีก จอมพลโกรธใหญ่เลยสั่งให้ปลดออกจากราชการ
แต่อีกหนึ่งเดือนต่อมา จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ก็แต่งตั้งให้ท่านเป็นรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงมหาดไทย ท่านเล่าต่อไปว่า
ตอนนี้เราจะต้องเป็นขุนนางฝ่ายบุ๋น ได้รับแต่งตั้งตอนสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดใส่เมือง รุ่งขึ้นเราก็แต่งกายสากลด้วยอ้อนวอนของเมีย ให้ไปรายงานท่านนายก เมื่อพบ พันเอกไชย ประทีปเสน และหลวงอดุลย์ก็พยักหน้าบอกว่า อั้วบอกลื้อแล้ว หลวงพิบูลเขาโกรธลื้อไม่กี่น้ำหรอก เมื่อเราสามคนเดินมุ่งจะเข้าไปให้ใกล้ท่านนายกซึ่งแต่งตัวแบบเล่นกีฬากอล์ฟ ท่านตะโกนมาบอกว่า ไม่ต้องรายงาน สั่งหลวงพรหม (หลวงพรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) เขาไว้แล้ว ให้หลวงสังวรไปช่วยงานกระทรวงมหาดไทย คุณไชยหารถให้หลวงสังวรขี่สักคันด้วย
นึกก็น่าขัน เมื่อวานนี้เราเป็นพลเมืองลูกบ้าน กลางวัน ๆ นี้มานั่งเคียงข้างท่านรัฐมนตรีมหาดไทย ถูกแบ่งหน้าที่ให้เป็นรัฐมนตรีฝ่ายอพยพพลเมือง (Ministry of refuges) มีหน้าที่สร้างที่พัก ถนน ตระเตรียมอาหารการกินให้แก่พลเมืองที่ถูกภัยทางอากาศ
ระยะนี้ญี่ปุ่นบีบคั้นการเศรษฐกิจเมืองไทยมากขึ้น เครื่องอุปโภคบริโภคราคาสูงมากขึ้น แลทีท่าของญี่ปุ่นแสดงไม่ไว้วางใจรัฐบาลตลอดเวลานี้ ทั้งที่รัฐบาลได้เร่งรัดการอพยพพลเมือง แลการสร้างถนนไปสู่เพชรบูรณ์ แลหน่วยทหารบกทั้งหลายเริ่มทิ้งที่ตั้งในพระนคร เคลื่อนไปทางเหนือหมดแล้ว คนสำคัญในวงการทูตญี่ปุ่นได้หาโอกาสเข้าพบปะรัฐมนตรี คนที่เขาคิดว่าเป็นแขนเป็นเท้าอันใกล้ชิดของนายก แล้วก็พูดกันถึงเรื่องการแคลงใจ ซึ่งญี่ปุ่นมีต่อไทยในยามนี้ ทั้งนี้เพราะทางวิทยุกระจายเสียงฝ่ายสัมพันธมิตรก็โจมตีรัฐบาล แลยุให้คนไทยลุกฮือขึ้นขับไล่ญี่ปุ่น เมื่อถึงเวลาที่ฝรั่งยกมา
ที่จริงก็น่าสงสารนายกพิบูลสงคราม ที่พยายามดิ้นรนต่อสู้กับผู้ยึดครองทุกด้าน ท่านโอดครวญในที่ประชุมเสมอว่า พวกเราอยู่ในฐานะจิ้งจกตายซาก สำหรับส่วนตัวท่านอุตส่าห์นั่งทน การรบกวนที่จะเอาเงิน เอาสารพัดต่อคนไทย เมืองไทย ของพวกญี่ปุ่น
ความวัวไม่ทันหายความควายก็เข้ามาแทรก ท่านปรีดีกับท่านควงรวมกำลังแน่นแฟ้น ทหารเรือแสดงท่าทีหนุนหลัง ฝ่ายค้านในสภาเริ่มหาทางเคลื่อนไหวไปในทำนองโจมตีรัฐบาลให้ล้ม
คณะฝ่ายค้านในสภาได้กำลังเข้มแข็งมาก ฝ่ายค้านซึ่งท่านปรีดีหนุนหลัง มีท่านควงเป็นคนสำคัญ โดยพลโท นาคามูระ แม่ทัพหน่วยงิ และได้หลวงสินาด (หลวงสินาดโยธารักษ์) เป็นหัวแรงทางทหารบก อาศัยบารมีท่านเจ้าคุณพหล (พระยาพหลพลพยุหเสนา) ซึ่งคนทั้งหลายก็ทราบว่าท่านนอนป่วยลุกแทบไม่ไหว พวกฝ่ายค้านช่วยกันหามท่านไปนอนบัญชางานที่ท้องพระโรง โรงเรียนนายเรือ
ด้านสภาเปิดอภิปรายโจมตี เรื่องพระราชบัญญัติสร้างเพชรบูรณ์และพุทธบุรี ข้าราชการและราษฎรไม่พอใจรัฐบาล เรื่องการบังคับให้ปฏิบัติทางวัฒนธรรมอยู่เป็นทุน Sympathy ฝ่ายค้านอยู่มาก
บ่ายวันที่ ๑ สิงหาคม ซึ่งเรานั่งประชุม ค.ร.ม.เกือบครบชุด ขาดหลวงอดุลย์ และหลวงสินธุ์สงครามไชย ยังไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน ท่านนายกนั่งหัวโต๊ะ พ.อ.ไชย ลุกหายไปครู่หนึ่งกลับมาบอกว่าสภากำลังอลเวง พ.อ.ไชย ยื่นซองจดหมายให้นายก ท่านรับมาอ่านแล้วรู้สึกหน้าไม่สู้ดี ท่านส่งให้รัฐมนตรีอ่านทุกคน เราอ่านเป็นคนสุดท้าย เป็นสานส์ของแม่ทัพหน่วยงิ ขอร้องให้รัฐบาลปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มิฉะนั้นญี่ปุ่นจะจัดเรื่องตามที่เห็นสมควร
รัฐบาลของ จอมพล ป.พิบูลสงครามได้ลาออกเมื่อ ๑ สิงหาคม ๒๔๘๗ พลเรือตรี หลวงสังวรยุทธกิจ ได้รับการทาบทามจากรัฐบาล พันตรี ควง อภัยวงศ์ ให้เป็นรัฐมนตรีอีก ท่านก็ไม่ยอมรับ แต่ต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สารวัตรใหญ่ทหาร ท่านเล่าว่า
พอตอนค่ำวันนั้น (๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๗) พระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เราเป็นสารวัตรใหญ่ทหาร อันมีนายควงสนองพระบรมราชโองการ ประกาศก้องขึ้นทางวิทยุกระจายเสียง เมียนั่งฟังวิทยุแล้วบ่นว่า พุทธโธ่เอ๋ยคุณหลวง เคยมีหน้าที่เป็นผู้บังคับกองเรือ เวลานั่งเรือเล็กผ่านเรือใหญ่ เคยมีเกียรติยศ แตรเดี่ยวเป่ากระทั่งทหารทุกคนลุกขึ้นยืนตรงคำนับ เราก็ไม่รู้จะพูดว่าอย่างไร ได้แต่บอกว่าพรหมลิขิตสร้างฉันมารับใช้บ้านเมืองอย่างนี้นี่
รุ่งขึ้นเราต้องแต่งการสากลไปกรมสารวัตรทหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่โรงละครสวนมิสกวัน พบรองสารวัตรซึ่งมานั่งร่วมคุย เราไม่มีฟอร์มทหารจะแต่ง เพราะตัดสินใจทิ้งน้ำกันหมด เมื่อคราวถูกนายกพิบูลปลดเราออกจากราชการ ในพระบรมราชโองการคงใช้ยศนายนาวาเอกทหารเรือ เราจึงต้องไปว่าจ้างเจ๊กให้ตัดยูนิฟอร์มด่วน ๔-๕ วันให้แล้วทันกำหนดการที่ท่านขุนปลดปรปักษ์ กำหนดที่จะส่งหน้าที่กัน
กรมสารวัตรเนื้อแท้ ๆ ไม่มีอะไรเลย สถานที่ก็ยืมเรือนโรงของสวนมิสกวัน ซึ่งรัฐบาลกำหนดไว้ให้กรมศิลปากรสร้างโรงละครแห่งชาติ ยานพาหนะตลอดจนผู้คนได้มาจากกรมทหารบก เรือ อากาศ แบ่งมาให้แห่งละเล็กละน้อย ก่อนที่ท่านนายกพิบูลจะปรับปรุงขึ้นใหม่จนตอนที่เราจะไปรับหน้าที่นี้ ได้ความว่าทหารที่สามกองทัพจะรุทิ้งแล้ว เขาจึงส่งมาอยู่กรมสารวัตร ท่านพิบูลเห็นความจำเป็นที่ญี่ปุ่นเขาก้าวไกลทาง M.P. ของเขา ท่านจึงได้จัดหน่วย M.P.ของเราขึ้น โดยบรรจุบุคคลชั้นดีขึ้นหน่อยไว้ แต่ก็ไม่สู้มากพอที่จะดำเนินการกีดกันญี่ปุ่นได้
ส่วนงานที่ท่านได้รับใหม่นี้เป็นของคณะรัฐบาลท่านควง อภัยวงศ์ ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เสรีไทยเต็มตัวตามที่ท่านปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าขบวนการเสรีไทยในประเทศ ขอร้องให้ทำงานเพื่อชาติ ท่านได้เล่าต่อไปว่า
สายตาของพวกญี่ปุ่นเขาคอยจับเคลื่อนไหวเรา พอเริ่มนั่งเก้าอี้ได้เดือนหนึ่ง พ.อ.ทูโคตะ หัวหน้าสารวัตรญี่ปุ่น พร้อมด้วยนายเอบาตา ล่ามพิเศษได้มาเยี่ยมคำนับ แลเขาทราบว่าเราเคยไปอยู่ในนาวีญี่ปุ่นมาด้วย เขาจึงทำความสนิทสนมกับเรามาก จนเกิดการต้องเชิญเลี้ยงกันบ่อย ๆ หน่วยสารวัตรของเขาแลเราทำงานประสานกันได้ดีมาก โดยเหตุที่หัวหน้าสารวัตรของเขา เป็นคนสำคัญของแม่ทัพหน่วยงิ พลโทนาคามูระอยู่แล้ว เราจึงต้องถูกเชิญไปทุกคราวที่มีการ dinner ที่หน่วยงิ
แม้ท่านต้องคบทหารญี่ปุ่นเพื่อแก้เรื่องความยุ่งยากสงสัยกันเกิดขึ้นเนือง ๆ จน เบาบางลงมากแล้ว แต่ท่านก็ไม่ลืมหน้าที่ซึ่งต้องปฏิบัติงานเสรีไทยกู้บ้านกู้เมือง ท่านจึงคิดถึงกองทัพประชาชนที่ขาดนายทหารนายสิบที่จะนำการรบ ขณะนั้นเป็นเวลาปิดการศึกษาในกรุงเทพ ราษฎรอพยพไปต่างจังหวัด ท่านจึงเรียกรับสมัครนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเข้ารับการฝึกฝน โดยใช้หลักสูตรนายร้อยสำรอง อบรมนักศึกษาจุฬาลงกรณ์ และหลักสูตรนายสิบ อบรมนักเรียนเตรียมทั้งจุฬาลงกรณ์และธรรมศาสตร์
ต่อมาท่านได้เลื่อนยศเป็นพลเรือตรี และเปิดโรงเรียนสารวัตรทหาร ซึ่งมีกำลังสามกองร้อยทหารราบ กับหนึ่งหมวดปืนกลหนัก ได้รับครูจากทหารบก เรือ ตำรวจ มาช่วยอบรมสั่งสอน ได้ทำพิธีเปิดโรงเรียนต่อหน้ารัฐมนตรีกลาโหม นายพลโทนาคามูระและพันเอกทูโอตะ กับคณะนายทหารญี่ปุ่นได้มาเป็นแขกด้วย
เรื่องการเปิดโรงเรียนสารวัตรทหารนี้ ประธานรุ่นนักเรียนทหารสารวัตร พ.ศ.๒๔๘๘ ได้เล่าไว้ว่า
ในวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๘ เวลา ๑๐.๐๐ น. ได้มีการประชุมนิสิตชายทุกคณะแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยขึ้นที่หอประชุมจุฬาฯ มีนิสิตเข้าร่วมประชุมประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ คน พล.ร.ต.สังวรฯ ได้ลุกขึ้นกล่าวอารัมภบท และชี้แจงวัตถุประสงค์ในการเปิดรับสมัครนักเรียนนายทหารสารวัตรครั้งนี้ สุดท้ายได้ขอร้องให้บรรดานิสิตทั้งหมดเสียสละเพื่อประเทศชาติ โดยสมัครเข้าเป็นนักเรียนนายทหารสารวัตร ในตอนแรกบรรดานิสิตต่างงงงวย และไม่สู้เข้าใจในคำพูดของท่านสารวัตรใหญ่ทหาร เท่าใดนัก ทว่าต่อมามีการกระซิบบอกกันเป็นทางลับ ๆ ว่า การเป็นนักเรียนนายทหารสารวัตรคราวนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อไปสู้รบต่อต้านญี่ปุ่นนั่นแหละ บรรดานิสิตทั้งหมดจึงเข้าใจ ต่างได้สมัครเข้าเรียนในโรงเรียนนายทหารสารวัตรประมาณ ๓๐๐ คนเศษ หลังจากทำการตรวจโรคแล้ว จึงคัดเลือกผู้ที่เป็นนักเรียนนายทหารสารวัตรไว้ ๒๙๘ นาย
กิจการของนักเรียนทหารสารวัตร ที่มีความมุ่งหมายที่จะให้เป็นผู้นำกองทัพประชาชน เพื่อปลดแอกจากกองทัพญี่ปุ่น จึงได้เริ่มขึ้นตั้งแต่บัดนั้น.
#############
วางเมื่อ เวลา ๐๗.๒๙