สวัสดีครับ
ไม่ได้ตั้งใจจะมาเขียนอะไรแบบนี้เลยแต่เห็นหลายๆท่าน สงสัยว่ามันคืออะไร ทำอะไร เงินดีไหม สมัครยังไง
บางทีหาว่างาน Offshore มันเงินเดือนเยอะเว่อ จริงๆเหรอ? โกหกกันหรือเปล่า? ลองอ่านดูแล้วกันนะครับ
ก็ขอพื้นที่มาบอกแบบคร่าวๆ แล้วกันนะครับว่ามันเป็นยังไงไอ้งาน Offshore เนี่ย
งาน Offshore บ้านเราแทบทั้งหมดอยู่ฝั่งอ่าวไทยครับ
บริษัทที่เกี่ยวข้องกับงาน Offshore มีมากมายหลายบริษัทครับ
ของยกตัวอย่างนิดหน่อยดังนี้นะครับ
บริษัทผลิตและขาย - Chevron, PTTEP, Pearl Oil
บริษัทเรือขุดเจาะ - Transocean, Seadrill, OCB
บริษัท Service Company - Weatherford, Schlumberger, Halliburton
บริษัท Catering - Amarit Catering, Decho Catering
บริษัทหาคน Outsource - Amarit, OPS, Adisorn, Brunel, BES, JST
งานมีมากมายหลายสายงานมากๆ ไล่มาตั้งแต่พนักงานซักผ้า กวาดห้อง จัดเตียง เงินเดือน 15,000+ ไล่ไปจนถึงคนที่คุมแท่น คุมเรือ เงินเดือนมากกว่าล้าน
โดยที สงขลา นครศรีธรรมราช และ ชลบุรี(สัตหีบ) เรียกกลายๆ ได้ว่าเป็นเมืองท่าของการทำงาน Offshore ครับ
การเดินทางไปทำงานมี 2 แบบ คือนั่งเฮลิคอปเตอร์ไปทำงานหรือนั่งเรือไปถ้าอยู่ไม่ไกลมากครับ
ขณะนี้สนามบินเฮลิคอปเตอร์หลักมีอยู่ 2 ที่ คือ
1. สงขลา บริหารโดย SFS (Si-Chang Flying Service) ทำให้กับ PPTEP (ปตท.สผ.)
2. นครศรีธรรมราช บริหารโดย TAS (Thai Aviation Services) ทำให้กับ Chevron
ท่าเรือหลัก 2 แห่งคือ สงขลา และ สัตหีบ
เมื่อก่อนนี้สนามบินเฮลิคอปเตอร์ทั้ง 2 ที่ (Chevron และ PTTEP) รวมไปถึงบริษัทต่างๆ ไปเปิดสาขาและโกดังเก็บของ อยู่ที่สงขลา เลยทำให้พนักงานมากกว่าครึ่งหนึ่งของพนักงานทั้งหมดที่ทำงาน Offshore เป็นพี่ต้องชาวใต้ครับ
จุดมุ่งหมายของงาน Offshore ก็แน่นอนคือขุดเจาะหาแหล่งพลังงาน
โดยส่วนมากแล้วจะเป็นก๊าซธรรมชาติครับ น้ำมันดิบมีรองลงมา
ลักษณะการทำงานคร่าวๆ
จะทำการสำรวจเป็นอย่างแรกครับ เป็นหน้าที่ของนักฐรณีทั้งหลาย หาความน่าจะเป็นไปได้ว่าบริเวณไหนมีแหล่งพลังงานอยู่บ้าง ถ้าเจอแหล่งพลังงานที่ใหญ่พอและคุ้มค่ากับการขุดก็จะทำการสร้างแท่นใหญ่ๆ ขึ้นมา 1 แท่น เหนือน้ำ ขอเรียกว่า LQ (Living Quarters)
LQ เป็นแท่นใหญ่ๆ ที่มีคนอยู่เยอะ..ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมพลังงานที่ขุดหาได้แล้วส่งต่อกลับเข้าฝั่งครับ พนักงานที่ทำงานบน LQ จะมีทั้งพนักงานของบริษัทเจ้าของ LQ เองแต่เป็นส่วนน้อยจะเป็นระดับหัวหน้าครับ ส่วนมากจะทำการจ้างจากบริษัท Outsource มาทำงานให้ครับ บ้างก็มีพนักงานจากพวก Service Company ซึ่งคนเหล่านี้จะเป็น specialist เฉพาะด้านครับและขาดไม่ได้คือบริษัท Catering คอยดูแลเรื่องอาหารและความเป็นอยู่ของพนักงานทุกคนครับ
LQ เป็นสถานที่ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ใครอยากมาทำงานแต่กลัวเมาคลื่น ไม่ต้องกลัวครับ อิอิ
หลังจากสร้าง LQ แล้วก็จะทำการสร้างแท่นเล็กๆ ขอเรียกว่า Platform รอบๆ ตัว LQ อีกทีหนึ่ง โดยที่ LQ จะมีท่อใต้น้ำเชื่อมกับ Platform ทั้งหลายรอบๆตีว โดยที่ LQ ทำหน้าที่รวมรวบพลังงานที่ขุดมาได้ครับ
Platform จะไม่มีคนอยู่นะครับ เป็นแท่นเล็กๆ จากพื้นทะเลพุ่งเหนือออกมาจากผิวน้ำ ทำหน้าที่เหมือนฐาน รอให้เรือมาขุดครับ
พอเราได้ LQ กับ Platform แล้ว ก็ถึงขั้นตอนขุดๆๆๆ หาพลังงาน
โดยจะทำการจ้างบริษัทเรือขุดเจาะเข้ามาทำการขุดเจาะตาม platform ต่างๆ ที่สร้างมาครับ
โดยปรกติแล้ว เรือขุดเจาะจะมีพนักงานพื้นฐานเป็นของบริษัทตัวเองติดมากับเรือเลย แต่บางครั้งก็จ้างเอาจากบริษัท Outsource ครับ
เรือขุดเจาะในเมืองไทยแบ่งได้ออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ Tender Rig กับ Jack up
Tender Rig จะเป็นทรงคล้ายๆเรือทั่วๆไป ยาวๆ เรียวๆ มีหัวเรือ แต่ไม่มีเครื่องยนต์ครับ
ย้ายไปย้ายมาได้โดยอาศัยเรือลากครับ พอหยุดก็จะวางสมอครับ
Tender Rig จะโยกเยกตามจังหวะคลื่น สนุกสนานครับ
Jack up จะเป็นทรงเหลี่ยมๆ กลมๆ ครับ โดยที่จะมี "ขา" ยาวๆ ที่สามารถยกขึ้น ยกลงได้ครับ ไม่สามารถไปไหนได้ด้วยตัวเองเช่นกัน ต้องอาศัยเรือลากครับ พอจะย้าย ก็จะยกขาขึ้นมา พอจะหยุดก็จะเอาขาลงไปถึงพื้นใต้ทะเลแล้วดันตัวเองขึ้นมาเหนือน้ำครับ ดังนั้นจะไม่โยกเยกเหมือน Tender Rig นะครับ
บนเรือขุดเจาะจะมีพนักงานหลากหลายตำแหน่งมากๆครับทุกคนล้วนแต่มีความสำคัญกับงานมากๆ ไม่ว่าจะเป็น Painter/Roustabout/Barge Captain ตากแดดตากฝนอยู่ที่ deck ของเรือ ไม่ก็ไปลุยโคลนกับพี่ๆ Floorhand/Driller อยู่บน platform หรือระดับนั่ง Office ใช้ความคิดอย่าง OIM กับ DSM ที่ต้องคอยดูแลงานและรับผิดชอบคนทั้งลำ รวมไปถึงพี่ Radio Operator ที่เป็นศูนย์รวมของทุกอย่างบนเรือ ใครมีอะไรต้องแจ้งให้ห้อง Radio รู้ แถมพี่เค้าเป็นคนคอยดูแลพนักงานไปกลับอีกด้วย...วันไหนเป็นวันใกล้ๆ วันจะกลับบ้านจะเห็นบางคนเอาขนมไปเซ่นพี่ Radio ขอกลับบ้านไวๆ อิอิ...ขาดใครไปไม่ได้จริงๆ ครับ โดยเฉพาะ "Paramedic"
Medic ทำหน้าที่เปรียบเสมือนหมอประจำเรือ...ใครเป็นอะไรไปหา Medic ครับ
ที่บอกว่า Medic สำคัญมากๆ เพราะถ้าอยู่ดีๆ Medic ทำงานไม่ได้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม งานทุกอย่างต้องหยุดหมดครับ หัวหน้างานที่ว่าใหญ่ที่สุดบนเรือขาดไป 1 คน ก็เอารองหัวหน้ามาทำแทนก่อนได้ แต่ Medic ไม่ได้ครับ สำคัญมากๆ
นอกจากนี้เรือขุดเจาะยังต้องการพนักงานจาก Service Company ที่มีความสามารถเฉพาะด้านมาทำงานอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น MWD (Measure While Drilling), DD (Directional Driller), Cementer, Wireline Engineer, Mud Engineer, Mud logger และอื่นๆอีกเยอะแยะ
พอเรือขุดเจาะ เจาะพบพลังงานแล้วก็จะทำการปิดหลุม แล้วก็ย้ายไปเจาะที่ platform อื่นต่อๆ ไปครับ
ที่เล่ามาทั้งหมดนี้เป็นฉบับย่อมากๆๆๆๆๆๆๆ เอาแค่พอให้เห็นภาพกว้างๆ ว่าทำอะไรกัน ถ้าจะเอาละเอียดนี้ต้องเขียนกันไปเดือนเป็นปีครับ เยอะมาก
แล้วอยากมาทำงาน Offshore บ้างจะต้องทำยังไง?
ถ้าอยากได้เงินเดือนสูงๆ ตั้งแต่เริ่ม
บอกตรงๆครับเรียนอะไรจบที่ไหนมาก็ได้ ไม่มีสายตรงครับ
ถ้าคุณจบวิศวะแทบจะทุกสาขา คุณก็จะได้เปรียบเรื่องงานที่เกี่ยวกับด้านการขุดเจาะโดยตรงครับ แต่ไม่เสมอไป บางคนแค่จบ ปวช. แต่คลุกคลีกับวงการมา 5 - 6 ปีรู้เรื่องแทบทุกอย่าง ไปสมัครพร้อมกับคุณเค้าอาจเลือกคนมีประสบการณ์ก็ได้นะครับ
นอกจากนี้พวกที่จบพวกสายวิชาชีพหน่อยๆ ก็ได้เปรียบครับ
เช่นช่างเครื่อง ช่างไฟฟ้าครับ แม้กระทั่งพวกที่จบจากด้านการบินก็เห็นมาทำ Radio Operator กันแทบจะครองอ่าวไทยเลย อิอิ
ทั้งนี้ทั้งนั้นอีก 1 อย่างที่จะทำให้คุณได้เปรียบคือ ภาษา ครับ
ใช้ภาษาเยอะมากๆ และมันไม่ใช่ภาษาพูดง่ายๆ แบบบอกทางฝรั่งที่สุขุมวิทนะครับ
TOEIC อย่างน้อยๆ น่าจะถือไว้สัก 600 ครับ
พวกนี้เงินเริ่มต้น ไม่ต่ำกว่า 4-5 หมื่น แน่นอน บางคนเริ่มกันเป็นแสน แล้วแต่งานครับ
โอกาสก้าวหน้าสูงครับ มีอีกหลายตำแหน่งเลยให้ไป แถมยังสามารถโยกย้ายบริษัท ไปทำสิ่งที่เราชอบ ถนัดเป็นพิเศษได้
ถ้าคิดว่าตัวเองยังไม่เก่งพอ แต่อยากลง Offshore มาชิมลางก่อน
ตำแหน่งใช้แรงงาน เงินเดือนก็ไม่ได้น้อยเลยครับ
พนักงาน Catering รับกันเฉลี่ยๆ เดือนละ 15,000
ถ้าพวกช่างทั่วไปทำทุกอย่าง ทาสี ล้างเรือ นายสั่งมาเราจัดให้ ก็ประมาณ 25,000
อันนี้เป็นแค่จุดเริ่มต้นของสายงานใช้แรงงานนะครับ ถ้าคุณเก่ง คุณเข้าตา คุณสามารถไต่ระดับไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น Driller เงินเดือนอยู่เกือบๆ 3 แสน หรือไม่ก็ไปทำให้กับ Service Company เงินเดือนหลายแสน
อนาคตในสายงานของการทำงาน Offshore นี้บอกตรงๆ ว่ามันมีความยืดหยุ่นสูงมากครับ
สมมุติถ้าเป็นพนักงาน HR คงจะไปทำด้านการเงินลำบาก ถ้าไม่ไปเรียนต่อ
แต่งาน Offshore ไม่ใช่แบบนั้นเสมอไปครับ พี่ๆหลายๆ คนที่ผมรู้จักที่จบเพียงแค่ ปวช. ไม่ก็ ม.6 เริ่มงานมาจากด้าน Catering หั่นผักในครัว ได้รับโอกาสไปลองออกทำงานข้างนอก แล้วก็ผลิกตัวเองไปทำบน platform จนตอนนี้พี่เค้านั่งหน้าเครื่อง console คอยบังคับหัวเจาะเงินเดือนเกือบ 3 แสน โดยที่ไม่ได้ไปเรียนต่ออะไรที่ไหนเลย พี่เค้าเพิ่งจะอายุ 36 เมื่อไม่นานมานี้เองครับ
แต่พี่เค้าเป็นคนเก่งจริงๆ ครับ ทุกคนยอมรับ ฝรั่งยอมรับ รวมไปถึงบุญ วาสนาพี่เค้ามาดีด้วย อิอิ
รับผู้หญิงไหม?
รับครับแต่ส่วนมากจะเป็นงานสาย Office ครับ
แต่สาวๆ ลุยๆ ก็มีให้เห็นบ้างเหมือนกันครับ
งาน Offshore ไม่กีดกันผู้หญิงนะครับ แต่บางตำแหน่งก็รับแต่ผู้ชายครับเพราะงานมันหนักจริงๆ
ความเป็นอยู่เป็นอย่างไร?
มีทีวี มีห้องออกกำลังกาย มี internet เล่นถึงแม้จะช้าเป็นเต่า มีอาหารมื้อหลักทุกๆ 6 ชม. มีอาหารว่างขั้นอาหารหลักตลอด กินดี อยู่ดี ของกินไม่เคยหมด
มีคนซักผ้าให้ มีคนล้างห้องน้ำ กวาด ถูห้องให้
ทำงานกันกี่วัน? หยุดกี่วัน?
อันนี้แล้วแต่บริษัทเลยครับ
มีตั้งแต่ทำ 4 อาทิตย์ พัก 4 อาทิตย์ ทำ 3/3 ทำ 4/2 ทำ 2/1 ทำ 2/2
โดยการจ่ายเงินมีหลักใหญ่ๆ คือ
1. จ่ายเป็นเงินเดือน ทุกเดือนเท่ากันหมด ไม่ว่าเดือนนี้คุณจะทำงานกี่วัน พักกี่วัน
เช่นกรณีทำ 4 อาทิตย์หยุด 2 อาทิตย์
เดือน ม.ค. มี 31 วัน ในเดือน ม.ค. ทำงานไป 20 วัน พักไป 11 วัน
กับเดือน ก.พ. มี 28 วัน พักต่อเนื่องจาก ม.ค. อีก 3 วัน (พักครบ 2 อาทิตย์) แล้วทำงานอีก 25 วัน
ทั้ง 2 เดือนนี้ ได้เงินเดือนเท่ากัน สมมุติคือ 50,000
2. จ่ายเป็นเงินเดือน ทุกเดือนเท่ากันหมด แต่ได้ค่า Offshore Allowance
สมมุติตกลงกันว่าจะให้ค่า Offshore Allowance วันละ 1,000 บาท
เช่นกรณีทำ 4 อาทิตย์หยุด 2 อาทิตย์
เดือน ม.ค. มี 31 วัน ในเดือน ม.ค. ทำงานไป 20 วัน พักไป 11 วัน
กับเดือน ก.พ. มี 28 วัน พักต่อเนื่องจาก ม.ค. อีก 3 วัน (พักครบ 2 อาทิตย์) แล้วทำงานอีก 25 วัน
ได้เงินเดือนมาตราฐานคือ 50,000 บาท
ม.ค. มีวันทำงาน 20 วัน ได้ค่า Offshore Allowance เพิ่มอีก 20,000 = 70,000
ก.พ. มีวันทำงาน 25 วัน ได้ค่า Offshore Allowance เพิ่มอีก 25,000 = 75,000
3. จ่ายเป็นรายวัน
เอาง่ายๆ วันพักไม่ได้แม้แต่บาทเดียว ต้องลงมาทำงานถึงจะได้เงิน
ทำงานวันละกี่ ชม.?
เวลาทำงาน ปกติคือ ทำ 12 ชม. พัก 12 ชม. ต่อวันครับ
งานไม่หนักไปเหรอ? ไม่เลยครับถ้าทำ 8 ชม. พัก 16 ชม. เหมือนบนฝั่ง มันจะว่างเกินไปครับ จนบางคนฟุ้งซ่านครับ อิอิ
นึกไม่ออกละ
เอาเป็นว่าทั้งนี้ทั้งนั้น อย่าเพิ่งคิดว่าเงินเยอะ อยากมาทำๆๆๆๆๆๆ นะครับ
ข้อเสียมันมีครับ
การอยู่ Offshore ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่หลายๆ คนคิด
เห็นมาเยอะมากๆ พวกที่แมนๆ ใจสู้โคตรๆ หนักไม่กลัว เบายิ่งสบาย...ปากบอกอยู่ได้มาถึง Offshore ปุป 1 อาทิตย์ร้องกลับบ้าน ส่งกลับแทบไม่ทัน
งานกดดันครับ ไม่ได้กดดันอะไรเลย กดดันตัวเองครับ
ตัวผม ผมอาจจะชินไปแล้วก็ได้เพราะโตมากับการอยู่คนเดียว เอาตัวรอดมาตั้งแต่เด็กๆ เลยทนทานกับความเหงาและความกดดันกว่าคนอื่นครับ
ข้อเสียอีกอย่างคือ พลาดโอกาสหลายๆ โอกาส ไม่ว่าจะงานแต่ง งานเลี้ยง ปีใหม่ ตรุษจีน สงกรานต์ ถ้าตารางงานคุณไปตกเอาวันพวกนี้ก็รอใหม่ปีหน้าครับ
แต่แย่สุดคือเวลาคนที่คุณรัก ป่วยหรือไม่สบาย คุณทุกข์ทรมาณครับ เพราะติดอยู่กลางทะเล
โดยปกติแล้วสามารถลาหยุดได้ครับ แต่ถึงจะลา มันก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะได้กลับเดี๋ยวนั้นเลย
ต้องรอเฮลิคอปเตอร์มารับ ถ้าไม่มีที่เหลือก็อาจนั่งเรือกลับหรือแย่ไปกว่านั้นคือต้องรออีก 2 - 3 วันถึงจะมีที่นั่งว่างที่จะพาคุณกลับฝั่งได้ซึ่งมันอาจจะสายไปแล้วก็ได้ครับ
พิมพ์มาเยอะละ ไม่รู้จะบอกอะไรแล้วครับ
เอาเป็นว่าถ้าคิดออก จะมาเพิ่มนะครับ
ขอบคุณที่เสียเวลาอ่านครับ
ขอบคุณครับ
ปล. คนที่สนใจ เรื่องสมัครที่ไหน ยังไง ลองหาๆกันเอาเองนะครับ เยอะแยะมากมายครับ ถามอากู๋ได้เลยครับ ลองช่วยตัวเองก่อนจะขอความช่วยเหลือจากคนอื่นนะครับ
oOo งานนอกชายฝั่ง // Offshore oOo
ไม่ได้ตั้งใจจะมาเขียนอะไรแบบนี้เลยแต่เห็นหลายๆท่าน สงสัยว่ามันคืออะไร ทำอะไร เงินดีไหม สมัครยังไง
บางทีหาว่างาน Offshore มันเงินเดือนเยอะเว่อ จริงๆเหรอ? โกหกกันหรือเปล่า? ลองอ่านดูแล้วกันนะครับ
ก็ขอพื้นที่มาบอกแบบคร่าวๆ แล้วกันนะครับว่ามันเป็นยังไงไอ้งาน Offshore เนี่ย
งาน Offshore บ้านเราแทบทั้งหมดอยู่ฝั่งอ่าวไทยครับ
บริษัทที่เกี่ยวข้องกับงาน Offshore มีมากมายหลายบริษัทครับ
ของยกตัวอย่างนิดหน่อยดังนี้นะครับ
บริษัทผลิตและขาย - Chevron, PTTEP, Pearl Oil
บริษัทเรือขุดเจาะ - Transocean, Seadrill, OCB
บริษัท Service Company - Weatherford, Schlumberger, Halliburton
บริษัท Catering - Amarit Catering, Decho Catering
บริษัทหาคน Outsource - Amarit, OPS, Adisorn, Brunel, BES, JST
งานมีมากมายหลายสายงานมากๆ ไล่มาตั้งแต่พนักงานซักผ้า กวาดห้อง จัดเตียง เงินเดือน 15,000+ ไล่ไปจนถึงคนที่คุมแท่น คุมเรือ เงินเดือนมากกว่าล้าน
โดยที สงขลา นครศรีธรรมราช และ ชลบุรี(สัตหีบ) เรียกกลายๆ ได้ว่าเป็นเมืองท่าของการทำงาน Offshore ครับ
การเดินทางไปทำงานมี 2 แบบ คือนั่งเฮลิคอปเตอร์ไปทำงานหรือนั่งเรือไปถ้าอยู่ไม่ไกลมากครับ
ขณะนี้สนามบินเฮลิคอปเตอร์หลักมีอยู่ 2 ที่ คือ
1. สงขลา บริหารโดย SFS (Si-Chang Flying Service) ทำให้กับ PPTEP (ปตท.สผ.)
2. นครศรีธรรมราช บริหารโดย TAS (Thai Aviation Services) ทำให้กับ Chevron
ท่าเรือหลัก 2 แห่งคือ สงขลา และ สัตหีบ
เมื่อก่อนนี้สนามบินเฮลิคอปเตอร์ทั้ง 2 ที่ (Chevron และ PTTEP) รวมไปถึงบริษัทต่างๆ ไปเปิดสาขาและโกดังเก็บของ อยู่ที่สงขลา เลยทำให้พนักงานมากกว่าครึ่งหนึ่งของพนักงานทั้งหมดที่ทำงาน Offshore เป็นพี่ต้องชาวใต้ครับ
จุดมุ่งหมายของงาน Offshore ก็แน่นอนคือขุดเจาะหาแหล่งพลังงาน
โดยส่วนมากแล้วจะเป็นก๊าซธรรมชาติครับ น้ำมันดิบมีรองลงมา
ลักษณะการทำงานคร่าวๆ
จะทำการสำรวจเป็นอย่างแรกครับ เป็นหน้าที่ของนักฐรณีทั้งหลาย หาความน่าจะเป็นไปได้ว่าบริเวณไหนมีแหล่งพลังงานอยู่บ้าง ถ้าเจอแหล่งพลังงานที่ใหญ่พอและคุ้มค่ากับการขุดก็จะทำการสร้างแท่นใหญ่ๆ ขึ้นมา 1 แท่น เหนือน้ำ ขอเรียกว่า LQ (Living Quarters)
LQ เป็นแท่นใหญ่ๆ ที่มีคนอยู่เยอะ..ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมพลังงานที่ขุดหาได้แล้วส่งต่อกลับเข้าฝั่งครับ พนักงานที่ทำงานบน LQ จะมีทั้งพนักงานของบริษัทเจ้าของ LQ เองแต่เป็นส่วนน้อยจะเป็นระดับหัวหน้าครับ ส่วนมากจะทำการจ้างจากบริษัท Outsource มาทำงานให้ครับ บ้างก็มีพนักงานจากพวก Service Company ซึ่งคนเหล่านี้จะเป็น specialist เฉพาะด้านครับและขาดไม่ได้คือบริษัท Catering คอยดูแลเรื่องอาหารและความเป็นอยู่ของพนักงานทุกคนครับ
LQ เป็นสถานที่ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ใครอยากมาทำงานแต่กลัวเมาคลื่น ไม่ต้องกลัวครับ อิอิ
หลังจากสร้าง LQ แล้วก็จะทำการสร้างแท่นเล็กๆ ขอเรียกว่า Platform รอบๆ ตัว LQ อีกทีหนึ่ง โดยที่ LQ จะมีท่อใต้น้ำเชื่อมกับ Platform ทั้งหลายรอบๆตีว โดยที่ LQ ทำหน้าที่รวมรวบพลังงานที่ขุดมาได้ครับ
Platform จะไม่มีคนอยู่นะครับ เป็นแท่นเล็กๆ จากพื้นทะเลพุ่งเหนือออกมาจากผิวน้ำ ทำหน้าที่เหมือนฐาน รอให้เรือมาขุดครับ
พอเราได้ LQ กับ Platform แล้ว ก็ถึงขั้นตอนขุดๆๆๆ หาพลังงาน
โดยจะทำการจ้างบริษัทเรือขุดเจาะเข้ามาทำการขุดเจาะตาม platform ต่างๆ ที่สร้างมาครับ
โดยปรกติแล้ว เรือขุดเจาะจะมีพนักงานพื้นฐานเป็นของบริษัทตัวเองติดมากับเรือเลย แต่บางครั้งก็จ้างเอาจากบริษัท Outsource ครับ
เรือขุดเจาะในเมืองไทยแบ่งได้ออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ Tender Rig กับ Jack up
Tender Rig จะเป็นทรงคล้ายๆเรือทั่วๆไป ยาวๆ เรียวๆ มีหัวเรือ แต่ไม่มีเครื่องยนต์ครับ
ย้ายไปย้ายมาได้โดยอาศัยเรือลากครับ พอหยุดก็จะวางสมอครับ
Tender Rig จะโยกเยกตามจังหวะคลื่น สนุกสนานครับ
Jack up จะเป็นทรงเหลี่ยมๆ กลมๆ ครับ โดยที่จะมี "ขา" ยาวๆ ที่สามารถยกขึ้น ยกลงได้ครับ ไม่สามารถไปไหนได้ด้วยตัวเองเช่นกัน ต้องอาศัยเรือลากครับ พอจะย้าย ก็จะยกขาขึ้นมา พอจะหยุดก็จะเอาขาลงไปถึงพื้นใต้ทะเลแล้วดันตัวเองขึ้นมาเหนือน้ำครับ ดังนั้นจะไม่โยกเยกเหมือน Tender Rig นะครับ
บนเรือขุดเจาะจะมีพนักงานหลากหลายตำแหน่งมากๆครับทุกคนล้วนแต่มีความสำคัญกับงานมากๆ ไม่ว่าจะเป็น Painter/Roustabout/Barge Captain ตากแดดตากฝนอยู่ที่ deck ของเรือ ไม่ก็ไปลุยโคลนกับพี่ๆ Floorhand/Driller อยู่บน platform หรือระดับนั่ง Office ใช้ความคิดอย่าง OIM กับ DSM ที่ต้องคอยดูแลงานและรับผิดชอบคนทั้งลำ รวมไปถึงพี่ Radio Operator ที่เป็นศูนย์รวมของทุกอย่างบนเรือ ใครมีอะไรต้องแจ้งให้ห้อง Radio รู้ แถมพี่เค้าเป็นคนคอยดูแลพนักงานไปกลับอีกด้วย...วันไหนเป็นวันใกล้ๆ วันจะกลับบ้านจะเห็นบางคนเอาขนมไปเซ่นพี่ Radio ขอกลับบ้านไวๆ อิอิ...ขาดใครไปไม่ได้จริงๆ ครับ โดยเฉพาะ "Paramedic"
Medic ทำหน้าที่เปรียบเสมือนหมอประจำเรือ...ใครเป็นอะไรไปหา Medic ครับ
ที่บอกว่า Medic สำคัญมากๆ เพราะถ้าอยู่ดีๆ Medic ทำงานไม่ได้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม งานทุกอย่างต้องหยุดหมดครับ หัวหน้างานที่ว่าใหญ่ที่สุดบนเรือขาดไป 1 คน ก็เอารองหัวหน้ามาทำแทนก่อนได้ แต่ Medic ไม่ได้ครับ สำคัญมากๆ
นอกจากนี้เรือขุดเจาะยังต้องการพนักงานจาก Service Company ที่มีความสามารถเฉพาะด้านมาทำงานอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น MWD (Measure While Drilling), DD (Directional Driller), Cementer, Wireline Engineer, Mud Engineer, Mud logger และอื่นๆอีกเยอะแยะ
พอเรือขุดเจาะ เจาะพบพลังงานแล้วก็จะทำการปิดหลุม แล้วก็ย้ายไปเจาะที่ platform อื่นต่อๆ ไปครับ
ที่เล่ามาทั้งหมดนี้เป็นฉบับย่อมากๆๆๆๆๆๆๆ เอาแค่พอให้เห็นภาพกว้างๆ ว่าทำอะไรกัน ถ้าจะเอาละเอียดนี้ต้องเขียนกันไปเดือนเป็นปีครับ เยอะมาก
แล้วอยากมาทำงาน Offshore บ้างจะต้องทำยังไง?
ถ้าอยากได้เงินเดือนสูงๆ ตั้งแต่เริ่ม
บอกตรงๆครับเรียนอะไรจบที่ไหนมาก็ได้ ไม่มีสายตรงครับ
ถ้าคุณจบวิศวะแทบจะทุกสาขา คุณก็จะได้เปรียบเรื่องงานที่เกี่ยวกับด้านการขุดเจาะโดยตรงครับ แต่ไม่เสมอไป บางคนแค่จบ ปวช. แต่คลุกคลีกับวงการมา 5 - 6 ปีรู้เรื่องแทบทุกอย่าง ไปสมัครพร้อมกับคุณเค้าอาจเลือกคนมีประสบการณ์ก็ได้นะครับ
นอกจากนี้พวกที่จบพวกสายวิชาชีพหน่อยๆ ก็ได้เปรียบครับ
เช่นช่างเครื่อง ช่างไฟฟ้าครับ แม้กระทั่งพวกที่จบจากด้านการบินก็เห็นมาทำ Radio Operator กันแทบจะครองอ่าวไทยเลย อิอิ
ทั้งนี้ทั้งนั้นอีก 1 อย่างที่จะทำให้คุณได้เปรียบคือ ภาษา ครับ
ใช้ภาษาเยอะมากๆ และมันไม่ใช่ภาษาพูดง่ายๆ แบบบอกทางฝรั่งที่สุขุมวิทนะครับ
TOEIC อย่างน้อยๆ น่าจะถือไว้สัก 600 ครับ
พวกนี้เงินเริ่มต้น ไม่ต่ำกว่า 4-5 หมื่น แน่นอน บางคนเริ่มกันเป็นแสน แล้วแต่งานครับ
โอกาสก้าวหน้าสูงครับ มีอีกหลายตำแหน่งเลยให้ไป แถมยังสามารถโยกย้ายบริษัท ไปทำสิ่งที่เราชอบ ถนัดเป็นพิเศษได้
ถ้าคิดว่าตัวเองยังไม่เก่งพอ แต่อยากลง Offshore มาชิมลางก่อน
ตำแหน่งใช้แรงงาน เงินเดือนก็ไม่ได้น้อยเลยครับ
พนักงาน Catering รับกันเฉลี่ยๆ เดือนละ 15,000
ถ้าพวกช่างทั่วไปทำทุกอย่าง ทาสี ล้างเรือ นายสั่งมาเราจัดให้ ก็ประมาณ 25,000
อันนี้เป็นแค่จุดเริ่มต้นของสายงานใช้แรงงานนะครับ ถ้าคุณเก่ง คุณเข้าตา คุณสามารถไต่ระดับไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น Driller เงินเดือนอยู่เกือบๆ 3 แสน หรือไม่ก็ไปทำให้กับ Service Company เงินเดือนหลายแสน
อนาคตในสายงานของการทำงาน Offshore นี้บอกตรงๆ ว่ามันมีความยืดหยุ่นสูงมากครับ
สมมุติถ้าเป็นพนักงาน HR คงจะไปทำด้านการเงินลำบาก ถ้าไม่ไปเรียนต่อ
แต่งาน Offshore ไม่ใช่แบบนั้นเสมอไปครับ พี่ๆหลายๆ คนที่ผมรู้จักที่จบเพียงแค่ ปวช. ไม่ก็ ม.6 เริ่มงานมาจากด้าน Catering หั่นผักในครัว ได้รับโอกาสไปลองออกทำงานข้างนอก แล้วก็ผลิกตัวเองไปทำบน platform จนตอนนี้พี่เค้านั่งหน้าเครื่อง console คอยบังคับหัวเจาะเงินเดือนเกือบ 3 แสน โดยที่ไม่ได้ไปเรียนต่ออะไรที่ไหนเลย พี่เค้าเพิ่งจะอายุ 36 เมื่อไม่นานมานี้เองครับ
แต่พี่เค้าเป็นคนเก่งจริงๆ ครับ ทุกคนยอมรับ ฝรั่งยอมรับ รวมไปถึงบุญ วาสนาพี่เค้ามาดีด้วย อิอิ
รับผู้หญิงไหม?
รับครับแต่ส่วนมากจะเป็นงานสาย Office ครับ
แต่สาวๆ ลุยๆ ก็มีให้เห็นบ้างเหมือนกันครับ
งาน Offshore ไม่กีดกันผู้หญิงนะครับ แต่บางตำแหน่งก็รับแต่ผู้ชายครับเพราะงานมันหนักจริงๆ
ความเป็นอยู่เป็นอย่างไร?
มีทีวี มีห้องออกกำลังกาย มี internet เล่นถึงแม้จะช้าเป็นเต่า มีอาหารมื้อหลักทุกๆ 6 ชม. มีอาหารว่างขั้นอาหารหลักตลอด กินดี อยู่ดี ของกินไม่เคยหมด
มีคนซักผ้าให้ มีคนล้างห้องน้ำ กวาด ถูห้องให้
ทำงานกันกี่วัน? หยุดกี่วัน?
อันนี้แล้วแต่บริษัทเลยครับ
มีตั้งแต่ทำ 4 อาทิตย์ พัก 4 อาทิตย์ ทำ 3/3 ทำ 4/2 ทำ 2/1 ทำ 2/2
โดยการจ่ายเงินมีหลักใหญ่ๆ คือ
1. จ่ายเป็นเงินเดือน ทุกเดือนเท่ากันหมด ไม่ว่าเดือนนี้คุณจะทำงานกี่วัน พักกี่วัน
เช่นกรณีทำ 4 อาทิตย์หยุด 2 อาทิตย์
เดือน ม.ค. มี 31 วัน ในเดือน ม.ค. ทำงานไป 20 วัน พักไป 11 วัน
กับเดือน ก.พ. มี 28 วัน พักต่อเนื่องจาก ม.ค. อีก 3 วัน (พักครบ 2 อาทิตย์) แล้วทำงานอีก 25 วัน
ทั้ง 2 เดือนนี้ ได้เงินเดือนเท่ากัน สมมุติคือ 50,000
2. จ่ายเป็นเงินเดือน ทุกเดือนเท่ากันหมด แต่ได้ค่า Offshore Allowance
สมมุติตกลงกันว่าจะให้ค่า Offshore Allowance วันละ 1,000 บาท
เช่นกรณีทำ 4 อาทิตย์หยุด 2 อาทิตย์
เดือน ม.ค. มี 31 วัน ในเดือน ม.ค. ทำงานไป 20 วัน พักไป 11 วัน
กับเดือน ก.พ. มี 28 วัน พักต่อเนื่องจาก ม.ค. อีก 3 วัน (พักครบ 2 อาทิตย์) แล้วทำงานอีก 25 วัน
ได้เงินเดือนมาตราฐานคือ 50,000 บาท
ม.ค. มีวันทำงาน 20 วัน ได้ค่า Offshore Allowance เพิ่มอีก 20,000 = 70,000
ก.พ. มีวันทำงาน 25 วัน ได้ค่า Offshore Allowance เพิ่มอีก 25,000 = 75,000
3. จ่ายเป็นรายวัน
เอาง่ายๆ วันพักไม่ได้แม้แต่บาทเดียว ต้องลงมาทำงานถึงจะได้เงิน
ทำงานวันละกี่ ชม.?
เวลาทำงาน ปกติคือ ทำ 12 ชม. พัก 12 ชม. ต่อวันครับ
งานไม่หนักไปเหรอ? ไม่เลยครับถ้าทำ 8 ชม. พัก 16 ชม. เหมือนบนฝั่ง มันจะว่างเกินไปครับ จนบางคนฟุ้งซ่านครับ อิอิ
นึกไม่ออกละ
เอาเป็นว่าทั้งนี้ทั้งนั้น อย่าเพิ่งคิดว่าเงินเยอะ อยากมาทำๆๆๆๆๆๆ นะครับ
ข้อเสียมันมีครับ
การอยู่ Offshore ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่หลายๆ คนคิด
เห็นมาเยอะมากๆ พวกที่แมนๆ ใจสู้โคตรๆ หนักไม่กลัว เบายิ่งสบาย...ปากบอกอยู่ได้มาถึง Offshore ปุป 1 อาทิตย์ร้องกลับบ้าน ส่งกลับแทบไม่ทัน
งานกดดันครับ ไม่ได้กดดันอะไรเลย กดดันตัวเองครับ
ตัวผม ผมอาจจะชินไปแล้วก็ได้เพราะโตมากับการอยู่คนเดียว เอาตัวรอดมาตั้งแต่เด็กๆ เลยทนทานกับความเหงาและความกดดันกว่าคนอื่นครับ
ข้อเสียอีกอย่างคือ พลาดโอกาสหลายๆ โอกาส ไม่ว่าจะงานแต่ง งานเลี้ยง ปีใหม่ ตรุษจีน สงกรานต์ ถ้าตารางงานคุณไปตกเอาวันพวกนี้ก็รอใหม่ปีหน้าครับ
แต่แย่สุดคือเวลาคนที่คุณรัก ป่วยหรือไม่สบาย คุณทุกข์ทรมาณครับ เพราะติดอยู่กลางทะเล
โดยปกติแล้วสามารถลาหยุดได้ครับ แต่ถึงจะลา มันก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะได้กลับเดี๋ยวนั้นเลย
ต้องรอเฮลิคอปเตอร์มารับ ถ้าไม่มีที่เหลือก็อาจนั่งเรือกลับหรือแย่ไปกว่านั้นคือต้องรออีก 2 - 3 วันถึงจะมีที่นั่งว่างที่จะพาคุณกลับฝั่งได้ซึ่งมันอาจจะสายไปแล้วก็ได้ครับ
พิมพ์มาเยอะละ ไม่รู้จะบอกอะไรแล้วครับ
เอาเป็นว่าถ้าคิดออก จะมาเพิ่มนะครับ
ขอบคุณที่เสียเวลาอ่านครับ
ขอบคุณครับ
ปล. คนที่สนใจ เรื่องสมัครที่ไหน ยังไง ลองหาๆกันเอาเองนะครับ เยอะแยะมากมายครับ ถามอากู๋ได้เลยครับ ลองช่วยตัวเองก่อนจะขอความช่วยเหลือจากคนอื่นนะครับ