รณรงค์ติดกล้องบันทึกเหตุการณ์ (เหตุจากกรณีระเบิดในไทย)

กระทู้โพล
รบกวนเพื่อนๆ โหวต/แสดงความเห็น/รณรงค์ เกี่ยวกับการติดกล้องบันทึกเหตุการณ์ในรถเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการป้องกันเหตุการณ์ร้ายในสังคมเราในอนาคตครับ ถ้าไม่เริ่มวันนี้ก็ไม่รู้จะเริ่มวันไหน เท่าที่ผมได้ติดตามระเบิดในราชประสงค์ หรือเหตุการณ์ร้ายอะไรก็ตามที่ไม่สามารถปิดคดีได้ และข้อมูลต่างๆ ยังไม่พบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย แต่เคยได้ยินเกี่ยวกับการปรับปรุงกล้อง CCTV ที่มีอยู่แล้ว และใช้การไม่ได้ หรือกล้องตรวจจับใบหน้าที่ผู้รักษากฏหมายเรียกร้องของบประมาณ  ซึ่งคิดๆ ดูแล้ว ข้อเสียเยอะมาก

ประเทศไทยซึ่งไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงทำนองนี้เลย จึงไม่มีใครคาดคิด หรือแม้แต่ผู้รักษากฎหมาย/หน่วยงานข่าวกรอง หรือที่เกี่ยวข้องยังควาญหาตัวผู้ก่อเหตุไม่ได้ ดังจะเห็นว่าต้องตั้งรางวัลนำจับ หรือเรียกร้องให้จัดซื้ออุปกรณ์ HI-TECH ก็ตาม นั่นแสดงให้เห็นถึงการไม่มีวิสัยทัศน์/แผนป้องกัน เข้าทำนองคำโบราณว่า วัวหายแล้วล้อมคอก ถึงเวลาแล้วครับที่ต้องช่วยกันระวังป้องกันเหตุการณ์นี้ที่อาจจะเกิดอีก...

ผมเห็นว่าพระเอกที่จะช่วยเหตุการณ์เหล่านี้ให้ทุเลา บรรเทาลงได้ สามารถช่วยตำรวจ พนักงานสืบสวน  ช่วยลดคดีความต่างๆ ได้ หรือเหตุการณ์อื่น ๆ  นั่นคือ ... กล้องบันทึกเหตุการณ์ หรือ กล้องติดรถยนต์  หรือกล้อง Action Camera ในรถจักรยายนต์/จักรยาน แล้วแต่จะเรียก  ลองจินตนาการถึงถ้ารถทุกคันมีกล้องทำนองนี้ กวาดสายตาบันทึกเหตุการณ์ในมุมกว้างตลอดเวลา เปรี่ยบเสมือน CCTV เคลื่อนที่  ทุกคนมีส่วนร่วมปกป้องประเทศตัวเอง (ถ้ากฎหมายบังคับไม่ได้จากการรณรงค์นี้ก็ตาม) เรามาช่วยกันดีมั๊ยครับ ส่วนตัวผมมีกล้องติดหมวกจักรยานต์ยนต์ เป็นข้อแรกที่ต้องคำนึงก่อนล้อหมุนต้องคิดถึงอุปกรณ์นี้ (เคยมีกรณีเหตุการณ์มาก่อนด้วย)...ยังไงต้องขอบคุณที่ร่วมการสร้างสรรค์/จรรโลงสังคมให้น่าอยู่ขึ้นครับ สุดท้ายขอให้จินตนาการนึกถึงระบบที่ผมเสนอแนะด้วยนะครับ คิดว่าคงไม่น่าเกินคำว่าเป็นไปไม่ได้เลย ผมว่าเป็นไปได้มาก

สุดท้ายผมได้รณรงค์เรื่องนี้ผ่านทางเวบไซค์ https://www.change.org ในแคมเปญตามลิ้งนี้ https://t.co/6SdbJzVg0M  เลยครับ ถ้าหากเพื่อนๆ เห็นสมควร  ขอน้อมรับข้อคิดเห็นตามวิญญูชนที่พึงมี

หมายเหตุ  ข้อความที่แจ้งมาข้างต้นจะเหมือนกับเวบไซค์รณรงค์เป็นส่วนมาก
*** ปิดโหวต วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2559 เวลา 14:00:33 น.
1. มีกฏหมายบังคับใช้การติดกล้องบันทึกเหตุการณ์ในรถยนต์/จักรยานยนต์ หรือรัฐบาลสนับสนุนในรูปแบบอื่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่