อยากทราบ ข้อดี-ข้อเสีย ของการที่อาจจะมีการให้เอกชนยักใหญ่มารับเหมาช่วง ในการก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง



ขออนุญาติแทกหลายห้องที่คิดว่าเกี่ยวข้อง คือ ด้านการพัฒนาจราจร -ด้านความคุ้มค่าทางเศรฐกิจ -ด้านวิศวกรรม  -การเมือง
เพราะน่าจะทำให้ได้ความคิดเห็นต่างๆหลากหลาย
หาก WM เห็นไม่สมควรก็จัดการเปลี่ยนเลยครับ



http://kaohoon.com/demosite/daily/content/view/1770/CP%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%99%3C/br%3E%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%871.5%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A5.
CP ผนึกยักษ์รับเหมาจีน-ฮ่องกง เข้าพบประจิน เสนอตัวลงทุนไฮสปีดเทรน เส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท ฟากไทยเบฟฯดอดคุยแล้วก่อนหน้านี้ ตีตราจองเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน วงเงิน 8.1 หมื่นล้านบาท

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  เปิดเผยว่า วานนี้ (23 เม.ย.) คณะผู้บริหารบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (CP) ประกอบด้วย นายธนากร เสรีบุรี รองประธานกรรมการ นายคณิศ แสงสุพรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร นายสัณฑศักย์ รัศมีรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และนายนิพนธ์ โชคภิรมย์วงศา ที่ปรึกษา ได้เดินทางเข้าพบเพื่อหารือการลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (High Speed Train) ซึ่ง CP เสนอขอลงทุนในเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-มาบตาพุด (ระยอง) ระยะทาง 194 กิโลเมตร วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท

พร้อมกันนี้ CP ได้นำผู้ร่วมทุนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างมาเข้าพบ ประกอบด้วย 1.บริษัท CITIC Construction Co., Ltd. จากฮ่องกง ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร ทั้งเรื่องการออกแบบ เป็นที่ปรึกษา รับเหมาก่อสร้าง และมีสถาบันการเงินของตัวเอง 2.บริษัท HNA Group จากประเทศจีน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างท่าเรือ และรถไฟ

พล.อ.อ.ประจิน  กล่าวอีกว่า เบื้องต้น CP ได้เสนอการลงทุนแบบรัฐกับเอกชนลงทุนร่วมกัน (Public–Private Partnership หรือ PPP) ประเภท Build-Operate-Transfer Contract หรือ BOT ด้วยการจ้าง CP ลงทุนก่อสร้าง พร้อมให้สัมปทานบริหารและเก็บค่าบริการ จนครบอายุสัมปทานก็จะโอนกรรมสิทธิ์ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ตนจึงให้ CP กลับไปจัดทำรายละเอียดให้ชัดเจนและนำส่งข้อมูลมาอีกครั้งในวันที่ 9 พฤษภาคมนี้ ซึ่ง CP ระบุว่า จะต้องไปศึกษาเพิ่มเติมในพื้นที่ก่อสร้างจริงบริเวณลาดกระบัง บางปะกง พัทยา และระยองด้วย

นอกจากนี้กระทรวงคมนาคมยังได้ชี้แจงต่อ CP ไปว่า โครงการนี้ต้องมีบริษัทสัญชาติไทยเป็นแกนนำในการรับงาน  แม้บริษัท CITIC และ HNA จะเป็นบริษัทรายใหญ่ของฮ่องกงกับจีนก็ไม่สามารถเป็นผู้นำกลุ่มได้ ซึ่ง CP ระบุว่าได้อธิบายให้ทั้ง 2 บริษัทเข้าใจแล้ว และสามารถยอมรับกับกติกานี้ได้

อย่างไรก็ตาม พล.อ.อ.ประจิน ยอมรับว่ารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-มาบตาพุด ยังอยู่ระหว่างการจัดทำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งตามระเบียบแล้วต้องรอให้ผ่านการพิจารณา EIA ก่อนจึงจะสามารถนำส่งโครงการขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ แต่เพื่อเป็นการแสดงความตั้งใจให้เอกชนเห็นว่ารัฐบาลจะลงทุนเส้นทางนี้แน่นอน จึงได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และ ร.ฟ.ท.เร่งจัดทำรายละเอียดเพื่อนำส่งเข้าที่ประชุม ครม.ขออนุมัติโครงการรอไว้ก่อน จากนั้นเมื่อผลศึกษา EIA แล้วเสร็จค่อยเริ่มดำเนินการก่อสร้าง

“ตอนนี้เรายังเปิดโอกาสให้เอกชนรายอื่นๆ ที่สนใจเข้ามาเสนอได้ แล้วเราก็จะนำข้อเสนอของแต่ละรายมาพิจารณาเทียบกัน ซึ่งหลังจากวันที่ 16 พ.ค.นี้ ยังไม่มีใครมาเสนอเพิ่มเติม มี CP รายเดียว เราก็จะทำรายละเอียดส่งครม. คาดว่าจะนำส่งได้ช่วงปลายเดือนพ.ค.นี้ หากได้รับความเห็นชอบเราก็จะเจรจากับ CP ตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการ ของรัฐ ปี 2556” พล.อ.อ.ประจิน  กล่าว

พล.อ.อ.ประจิน  กล่าวต่อว่า  ก่อนหน้านี้บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือไทยเบฟฯได้มาเข้าพบเพื่อเสนอตัวลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหินแล้ว จึงได้ระบุให้ไทยเบฟฯตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อประสานงานกับคณะทำงานของกระทรวงคมนาคม ที่มี ร.ฟ.ท.กับ สนข.รับผิดชอบ และขณะนี้อยู่ระหว่างการนัดหมายกับไทยเบฟฯ เพื่อนำรายละเอียดการลงทุนมาเสนอกระทรวงคมนาคมอีกครั้งฯ โดยเส้นทางดังกล่าวมีระยะทาง 211 กิโลเมตร วงเงิน 81,136.20 ล้านบาท และคาดว่าจะนำเสนอ ครม.ได้ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้เช่นเดียวกับเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-มาบตาพุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานคณะกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ BTS พร้อมคณะผู้บริหาร BTS ได้เข้าพบ พล.อ.อ.ประจิน เพื่อเสนอตัวลงทุนงานเดินรถ จัดหาขบวนรถและวางระบบ โดยจะปรับจากระบบหัวรถจักรดีเซลมาเป็นรถจักรไฟฟ้า เพื่อการขนส่งสินค้าในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่  รางความกว้าง 1 เมตร (Meter Gauge) 6 เส้นทาง โดยขอสัมปทานการเดินรถ 30 ปี  ซึ่ง พล.อ.อ.ประจิน ระบุให้ BTS จัดทำรายละเอียดผลตอบแทนที่จะให้กับภาครัฐมานำเสนอใหม่อีกครั้ง เนื่องเห็นว่ายังให้ผลตอบแทนต่ำเกินไป





อยากทราบ ข้อดี-ข้อเสีย ของการที่อาจจะมีการให้เอกชนมารับเหมาช่วงต่อ ในการก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง
ส่วนตัวคิดแบบคนบ้านๆธรรมดาๆ   ว่าการที่จะให้คนมารับช่วงค่าใช้จ่ายน่าจะสูงกว่า
เช่น ผมจ้างนาย ก.  มาทาสีบ้าน   แต่นาย ก. ไปจ้างอีกคนมาทำ  

แต่ทีนี้ผมว่าอาจจะมีข้อดีหรือข้อเด่น ที่ยังไม่ทราบ  
เพราะกรณีนี้ อาจจะมีข้อดีที่จำเป็นกว่าก็ได้  เช่นรัฐทำเองจะเกิดปัญหาบางอย่าง ฯลฯ
แต่ถ้ามีเหตุผลเป็นแบบนี้จริง ก็น่าจะเป็นการดีกว่าเพราะจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่และคุ้มค่ากว่า

จึงอยากถามคนที่มีความรู้ ว่า ข้อดี-ข้อเสีย มีอะไรบ้าง

สำหรับคนที่มีอคติต่างๆต่อ บ.เอกชน  เรื่องต่างๆก่อนหน้านี้
ช่วยงดแสดง คคห. ลักษณะ ที่อาจจะทำให้จุดประสงค์หรือประเด็นของกระทู้ ต้องผิดแผกออกไป ครับ
1. เห็นด้วยหรือไม่ ?  ให้เอกชนมารับช่วงดำเนินการ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่