เมื่ออยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านดิจิตอลทีวีและก่อนปิดอนาล๊อกทีวีเต็มตัว จะทำอย่างไรดี? มีคำตอบให้ครับ --ตอนที่4--

>>>ตอนที่1<<<
http://pantip.com/topic/30325836
>>>ตอนที่2<<<
http://pantip.com/topic/30327149
>>>ตอนที่3<<<
http://pantip.com/topic/30333292

ตอนที่4นี้จะพูดถึงหลังจากดิจิตอลทีวีมาแล้ว จะมีอะไรแปลกใหม่ให้ได้ใช้กันบ้าง มาดูกันครับ

*** ในไทยอาจจะไม่มีจริง แต่ผมกล่าวถึงความสามารถและลูกเล่นของมัน ที่ต่างประเทศทำได้ มาให้ดูกัน จะมีหรือไม่มีในไทย ก็แล้วแต่ กสทช.กับทางสถานีด้วยครับ ***

----- มีดิจิตอลทีวีแล้ว จะเจอสิ่งแปลกใหม่ -----

1.เลือกตัวเลือกของเราเอง


ในบางรายการ จะใส่ลูกเล่นในการดูทีวีด้วยการกดตัวเลือกโดยการปุ่ม4สี สังเกตว่ารีโมทพวกทีวี LCD,LED,Plasma จะมีปุ่มสี4ปุ่ม คือ สีแดง เขียว เหลือง น้ำเงิน ซึ่งที่จริงปุ่มพวกนี้ไว้ใช้กับTeletextและตัวเลือกต่างๆของเมนูทีวี แต่ก็ใช้กับการเลือกตัวเลือก ได้เหมือนกัน

เช่น เราดูเกมส์โชว์อยู่ มีดารามาร่วมสนุกตอบคำถาม โดยคำถามมีตัวเลือกให้4ตัวเลือก ทีวีก็จะขึ้นให้เลือกคำตอบ ตอบข้อไหนก็ให้กดสีนั้น สมมติเราตอบข้อ3 พอพิธีกรบอกคำตอบ ก็จะขึ้นให้เราดูด้วยว่า ที่เราตอบถูกหรือผิด โดยอาจจะขึ้นผลรวมของทุกคนที่ตอบข้อถามข้อนั้น(คนที่ดูรายการเดียวกับเรา) มีตอบ1กี่คน ตอบ2กี่คน

แต่ระบบนี้ไม่ได้มีให้ใช้บ่อย เพราะไม่ค่อยมีคนร่วมเล่น แถมระบบค่อนข้างซับซ้อน ทำให้ไม่ได้รับความนิยม


2.ผังรายการอิเล็กทรอนิกส์ (EPG)

ความสามารถนี้เป็นความสามรถยอดฮิตของดิจิตอลทีวีเลยก็ว่าได้ เพราะผังรายการอิเล้กทรอนิกส์หรือที่เรียกง่ายๆว่า ตารางเวลา, ผังรายการ จะบอกเวลาที่รายการนั้นๆจะออกอากาศในแต่ละช่อง โดยสามารถดูได้ล่วงหน้าถึง7วัน และสามารถตั้งให้เตือนเมื่อรายการที่ต้องการถึงเวลาออกอากาศแล้ว และในรุ่นดีๆหน่อยจะสามารถตั้งอัดรายการได้ทั้งอัดตามช่วงเวลาที่เรากำหนดเอง หรืออัดเป็นซีรี่ส์โดยอัตโนมัติ (เวลาและวันที่ไม่ต้องตั้งเองนะครับ เวลาและวันที่ถูกส่งมาจากทางสถานี ต่อให้เราถอดปลั๊ก รีเซ็ท เวลาก็จะวิ่งตามเวลาจริงเอง)

โดยผังรายการนี้สามารถบอกทั้งเลขช่อง,ชื่อช่อง,โลโก้ช่อง,รายการในแต่ละเวลา,รายละเอียดรายการแบบย่อ

ในทีวีแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อจะมีรูปแบบของผังรายการไม่เหมือนกัน โดยข้อมูลจะถูกส่งมาจากสถานีเข้ามาที่ทีวีและทีวีจะเป็นตัวนำไปแสดงผล ตามรูปแบบฟอนต์และการจัดวางของตัวทีวีเอง


3.ข้อมูลแบบสั่งเองได้

หนึ่งในลูกเล่นสุดว้าว! ในก็คือหน้าจอบอกข้อมูลต่างๆ โดยเมื่อเรากดเพื่อเปิดเมนูของช่อง หน้าจอช่องที่เราดูอยู่ก็เล็กลง และจะมีข้อมูลต่างๆแสดงขึ้นมา เช่น อุณหภูมิในเขตที่เราอยู่ ราคาหุ้น ราคาน้ำมัน ข่าวสารต่างๆ โดยข้อมูลทั้งหมดส่งมาจากสถานีของแต่ละช่อง แต่ละช่องจะมีหน้าตาหน้านี้ไม่เหมือนกัน และความสามารถนี้ไม่ต้องใช้อินเตอร์เน็ตใดๆ

ถ้าเราอยากดูข้อมูลต่างๆ เราก็กดขึ้นลงซ้ายขวาบนรีโมทแล้วเลือกเพื่อดูข้อมูลให้มากขึ้น เช่น เปิดมาขึ้นอุณหภูมิที่กรุงเทพ เรากดเข้าไป ก็จะมีของจังหวัดอื่นๆมาให้ดูด้วย โดยจะบอกทั้งอุณหภูมิ ความเร็วลม ความชื้นในอากาศ และการดูหุ้นสามารถเลือกดูตัวที่เราต้องการแบบเฉพาะได้ด้วย และข้อมูลที่ส่งมามีการอัพเดทตลอดเวลา


4.ดูหลายมุมมองและดูข้อมูลยิบย่อย

เทคโนโลยีนี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่จะเริ่มใช้ในอีกไม่นานนี้ โดย NHK ได้คิดค้นระบบ Hybridcast ซึ่งสามารถดูมุมมองต่างๆในรายการเดียวกันได้ถึง 5 มุมมอง และสามารถดูข้อมูลต่างๆในรายการ เช่น ชื่อผู้เล่นในการแข่งฟุตบอล ประวัติของนักกีฬา สภาพอากาศของสถานที่ถ่ายทอดสด หรือแม้กระทั่งรายชื่อนักเตะโดยจะมีชื่อขึ้นบนหัวโดยชื่อจะตามติดตลอดเวลาทำให้จำได้ว่าใครเป็นใคร โดยระบบนี้จะใช้งานร่วมกับแท๊บเล็ตได้ด้วย


โดยในญี่ปุ่นจะเริ่มให้บริการระบบนี้ในปีหน้า นำร่องใน3เมืองใหญ่คือ โตเกียว, โอซาก้า, นาโกยา


5.ซับไตเติ้ล

เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในดิจิตอลทีวี นั่นก็คือซับไตเติ้ล เรียกอีกชื่อคือ คำบรรยาย
โดยซับไม่ได้มีทุกรายการนะครับ ถ้ารายการไหนมีก็จะบอกไว้มุมจอก่อนรายการเริ่ม โดยขนาด ฟอนต์ ส่วนมากจะทำมาเป็นมาตรฐานเลย คือ รายการไหนๆก็ขนาดเท่ากัน ฟอน์ตเดียวกัน แต่อาจจะมีซับหลายสีถ้ามีคนพูดพร้อมกันหลายคน เพื่อจะได้แยกออกว่าใครพูดอะไร โดยจากที่บอกไปในตอนที่2ว่า ส่วนมากจะใช้แบบ "Closed Caption" คือการที่ซับจะบอกเสียงการกระทำทุกอย่าง แม้แต่เสียงปิดประตูก็จะบอกด้วยว่า [เสียงปิดประตู]


(ถ้ารายการไหนมีซับไตเติ้ล ก็จะเขียนบอกไว้ตอนเริ่ม ละครส่วนมากจะใส่ซับไตเติ้ลมาให้ด้วย)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่