กระทู้สรรเสริญคุณของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร

วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ เป็นวันคล้ายวันปรินิพพานของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร
อัครสาวกเบื้องขวา เอตทัคคะเลิศกว่าภิกษุทั้งปวงในฝ่ายผู้มีปัญญามาก ท่านมีความ
คุ้นเคยกับพระผู้มีพระภาคเจ้ามาก บำเพ็ญบารมีสิ้น ๑ อสงไขย กำไรแสนกัป และมี
อุปการะแก่พระศาสนาอย่างหาประมาณมิได้ ควรที่พุทธบริษัทจะระลึกถึงคุณของท่าน
ด้วยศรัทธาอันประกอบไปด้วยปัญญา

              อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสรรเสริญคุณของท่าน ที่พระสาวกทั้งหลายได้กล่าว
สรรเสริญคุณของท่าน และที่ท่านได้บันลือสีหนาทไว้เป็นเอนก เป็นต้นว่า:-


พระพุทธพจน์
             [๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นบุคคลอื่นแม้คนเดียว ผู้
ยังธรรมจักรที่ยอดเยี่ยมอันตถาคตให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามโดยชอบ เหมือน
สารีบุตรนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมยังธรรมจักรที่ยอดเยี่ยม อันตถาคต
ให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามโดยชอบทีเดียว ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=585&Z=627

พระพุทธพจน์
             [๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึง
อ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสารีบุตรและภิกษุโมคคัลลานะนี้ เป็นตราชูมาตรฐานของภิกษุ
สาวกของเรา ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=2295&Z=2375

พระพุทธพจน์
             [๑๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็น
ผู้ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ใน
อริยวิมุติ ภิกษุรูปนั้นคือ สารีบุตรนั่นเอง ผู้ที่กล่าวชอบ พึงกล่าวชมว่า เป็นผู้
ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ใน
อริยวิมุติ ฯ
             [๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็นบุตร
เป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม
อันธรรมเนรมิต เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตร
นั่นเอง ที่ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมว่า เป็นบุตรเป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค
เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม อันธรรมเนรมิต เป็นธรรม
ทายาท ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมประกาศ
ธรรมจักร อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว ไปตามลำดับโดยชอบ
ทีเดียว ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=2324&Z=2444

พระพุทธพจน์
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร เราติเตียนกรรมไรๆ อันเป็นไปทาง
กายหรือทางวาจาของเธอไม่ได้เลย สารีบุตร เธอเป็นบัณฑิต สารีบุตร เธอเป็น
ผู้มีปัญญามาก เป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา สารีบุตร เธอเป็นผู้มีปัญญาชวนให้ร่าเริง
เป็นผู้มีปัญญาว่องไว เป็นผู้มีปัญญาหลักแหลม เป็นผู้มีปัญญาสยายกิเลสได้
สารีบุตร โอรสพระองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมยังจักรอันพระราชบิดา
ให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามได้โดยชอบ ฉันใด สารีบุตร เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันเราให้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามได้โดยชอบ
แท้จริง ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=6170&Z=6223

พระพุทธพจน์
             [๓๐๔] พ. อย่างนั้นๆ อานนท์ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ
ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบสารีบุตร เพราะสารีบุตรเป็น
บัณฑิต มีปัญญามาก เป็นเจ้าปัญญา มีปัญญาชวนให้ร่าเริง มีปัญญาแล่น
มีปัญญาหลักแหลม มีปัญญาแทงตลอด มีความปรารถนาน้อย สันโดษ เป็นผู้
สงัดกาย สงัดใจ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร เป็นผู้เข้าใจพูด อดทน
ต่อถ้อยคำ เป็นผู้โจทก์ท้วงคนผิด เป็นผู้ตำหนิคนชั่ว อานนท์ ใครเล่าที่ไม่ใช่คน
พาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบสารีบุตร ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=2026&Z=2090


พระสาวกพจน์
             [๖๙๔] สา. อาวุโส เปรียบเหมือนก้อนหินเล็กๆ ที่บุคคลเอาไปวาง
เปรียบเทียบกับขุนเขาหิมพานต์ฉันใด เราเมื่อเปรียบเทียบเคียงกับท่านมหาโมค-
*คัลลานะก็ฉันนั้นเหมือนกัน แท้จริง ท่านมหาโมคคัลลานะเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มี
อานุภาพมาก เมื่อจำนงอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัปแล ฯ
             [๖๙๕] ม. อาวุโส ก้อนเกลือเล็กๆ ที่บุคคลหยิบเอาไปวางเปรียบเทียบ
กับหม้อเกลือใหญ่ ฉันใด ผมเมื่อเปรียบเทียบท่านสารีบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แท้จริง ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงชม ทรงสรรเสริญ ทรง
ยกย่องแล้วโดยปริยายมิใช่น้อย มีอาทิว่า ภิกษุผู้ถึงซึ่งฝั่งคือพระนิพพาน เป็นผู้
เยี่ยมด้วยปัญญา ด้วยศีลและอุปสมะ คือพระสารีบุตร ดังนี้ ฯ
             ท่านมหานาคทั้งสองนั้น เพลิดเพลินคำสนทนาที่เป็นสุภาษิตของกันและ
กัน ด้วยประการดังนี้แล ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=7246&Z=7292

พระสาวกพจน์
             [๓๐๐] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระปุณณมันตานีบุตรจึงถามดังนี้ว่า
ท่านผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย รู้จักท่านว่าอย่างไร? ท่านพระสารีบุตร
ตอบว่า ท่านผู้มีอายุ ผมชื่ออุปติสสะ แต่พวกเพื่อนพรหมจรรย์ รู้จักผมว่าสารีบุตร. ท่านพระ
ปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ผมกำลังพูดอยู่กับท่านผู้เป็นสาวกทรงคุณคล้ายกับ
พระศาสดา มิได้ทราบเลยว่า ท่านชื่อสารีบุตร ถ้าผมทราบว่า ท่านชื่อสารีบุตรแล้ว คำที่พูดไป
เพียงเท่านี้ คงไม่แจ่มแจ้งแก่ผมได้ เป็นการน่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแล้ว ธรรมอันลึกซึ้ง
อันท่านพระสารีบุตรเลือกเฟ้นมาถามแล้วด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ตามเยี่ยงพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว
รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้ จะพึงถาม ฉะนั้น เป็นลาภมากของเพื่อนพรหมจรรย์
ความเป็นมนุษย์นับว่าเพื่อนพรหมจรรย์ได้ดีแล้ว ที่ได้พบเห็น นั่งใกล้ท่านพระสารีบุตร แม้
หากว่า เพื่อนพรหมจรรย์จะเทิดท่านพระสารีบุตรไว้บนศีรษะด้วยเทริดผ้าจึงจะได้พบเห็น นั่งใกล้
แม้ข้อนั้นก็เป็นลาภมากของเธอเหล่านั้น ความเป็นมนุษย์นับว่าอันเธอเหล่านั้นได้ดีแล้ว อนึ่ง
นับว่าเป็นลาภมากของผมด้วย เป็นการได้ดีของผมด้วย ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้พระสารีบุตร.
             พระมหานาคทั้งสองนั้น ต่างชื่นชมสุภาษิตของกันและกัน ด้วยประการฉะนี้แล.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4988&Z=5108&pagebreak=0

พระสาวกพจน์
                          พระเชตวันนี้มีประโยชน์ อันสงฆ์ผู้แสวงบุญอยู่อาศัยแล้ว อัน
                          พระองค์ผู้เป็นธรรมราชาประทับ เป็นที่เกิดปีติแก่ข้าพระองค์
                          สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕ อย่างนี้ คือ กรรม ๑
                          วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอุดม ๑ ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตร
                          หรือด้วยทรัพย์ เพราะฉะนั้นแล บุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็ง
                          เห็นประโยชน์ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย จะ
                          บริสุทธิ์ในธรรมนั้นได้ด้วยอาการนี้ พระสารีบุตรนั้นแล ย่อม
                          บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ด้วยศีล และด้วยความสงบ ความจริง
                          ภิกษุผู้ถึงฝั่งแล้ว จะอย่างยิ่งก็เท่าพระสารีบุตรนี้ ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=9311&Z=9524


บันลือสีหนาท
              ได้ยินว่า คนอื่นยกพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสีย ชื่อว่าสามารถเพื่อจะทันปัญญาของ
พระสารีบุตรเถระหามิได้. นัยว่า เหตุนั้นแล พระเถระจึงยืนตรงพระพักตร์พระศาสดา
บันลือสีหนาทว่า "พระเจ้าข้า เมื่อฝนตกแม้ตลอดกัลป์ทั้งสิ้น ข้าพระองค์ก็สามารถเพื่อจะนับ
แล้วยกขึ้นซึ่งคะแนนว่า ‘หยาดน้ำทั้งหลายตกในมหาสมุทรเท่านี้หยาด, ตกบนแผ่นดินเท่านี้หยาด,
บนภูเขาเท่านี้หยาด."
               แม้พระศาสดาก็ตรัสกะท่านว่า "สารีบุตร เราก็ทราบความที่เธอสามารถจะนับได้."
ชื่อว่าข้ออุปมาเปรียบด้วยปัญญาของท่านนั้น ย่อมไม่มี.
               เหตุนั้นแล ท่านจึงกราบทูลว่า :-
                                   ทรายในแม่น้ำคงคาพึงสิ้นไป น้ำในห้วงน้ำใหญ่
                         พึงสิ้นไป ดินในแผ่นดินพึงสิ้นไป การแก้ปัญหาด้วย
                         ความรู้ของข้าพระองค์ ย่อมไม่สิ้นไปด้วยคะแนน.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=24&p=2

----------------------------------------------------------------------------

              ก็พระเถระพระองค์ใด เป็นอัครสาวกเบื้องขวา เป็นบุตรโดยธรรมของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นที่รักของเพื่อนสพรหมจรรย์ เป็นบัณฑิตผู้มีปัญญามาก
บำเพ็ญบารมีสิ้น ๑ อสงไขยกำไรแสนกัป นับแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
อโนมทัสสี แสดงธรรมอันวิจิตร ยังสัตว์ให้ถึงอมฤตธรรม เป็นผู้ไม่กำเริบด้วยมานะ
อุปมาตนเหมือนผ้าเช็ดธุลี เป็นผู้เคารพอาจารย์คือพระอัสสชิทุกเมื่อ เป็นผู้ทดแทน
ค่าเลี้ยงดูด้วยน้ำนมของนางสารีพราหมณีด้วยการประดิษฐานมารดาไว้ในโสดาปัตติผล
เป็นผู้เมื่อทูลลาปรินิพพานแล้ว มหาชนทั้งหลายล้วนติดตามไป และเทวดาและพรหมทั้งหลาย
ตามปรนนิบัติแล้วในเวลาใกล้ปรินิพพาน


              ข้าพเจ้าขอขอบน้อมพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า.

----------------------------------------------------------------------------

แนะนำ:-

            พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
            มหาวรรค ภาค ๑
            พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรพชา
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=1358&Z=1513

            พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
            มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
            ทีฆนขสูตร
            เรื่องทีฆนขปริพาชก
                         ท่านพระสารีบุตรบรรลุอรหัต
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=4661&Z=4768
            ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269

             อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑
             เรื่องสญชัย
             บุรพกรรมของพระอัครสาวกทั้งสอง  
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=8#บุรพกรรมของพระอัครสาวกทั้งสอง

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
             ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
             สารีปุตตเถรคาถา
             คาถาสุภาษิตของพระสารีบุตรเถระ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=8049&Z=8133

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
             ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
             สารีปุตตเถราปทาน
             ว่าด้วยบุพจริยาของพระสารีบุตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=290&Z=675

            พระสารีบุตรปรินิพพาน
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=2#อคฺคสาวกนิพฺพานวณฺณนา

            อ่าน และค้นพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม
            อรรถกถาชาดกทั้งหมด ๕๔๗ เรื่อง             
            พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
            พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/
             สารบัญ อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท
             อรรถาธิบาย เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕
             ทั้งหมด ๓๐๒ เรื่อง
http://84000.org/tipitaka/attha/index25b.php
http://84000.org/tipitaka/attha/index25b2.php

             พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
             สารบัญประเภทธรรม
http://84000.org/tipitaka/dic/d_type_index.php?          

             หมวดหนังสือธรรมะ
http://84000.org/tipitaka/book/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่