การเจริญพันธุ์และ 6 คำถามที่พบบ่อย อยากมีลูกต้องรู้!

กระทู้สนทนา
การเจริญพันธุ์ คืออะไร
เมื่อพูดถึงชายหญิงที่ใช้ชีวิตคู่ อยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยา ซึ่งเรียกว่าคู่สมรส อันหมายรวมถึงคู่ที่จดทะเบียนสมรสหรือไม่ก็ตาม หากคิดวางแผนสร้างครอบครัวแล้ว มักจะต้องคิดถึงการมีสมาชิกลูกหลาน ทางการแพทย์เรียกว่า Fertility ภาษาจีนเรียกว่า 生育能力 ซึ่งแปลตรงตัวว่า ภาวะการเจริญพันธุ์ หรือความหมายง่าย ๆ คือความสามารถในการมีบุตรนั่นเอง

ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะคู่สมรสชายจริงหญิงแท้เท่านั้น แม้ว่าในปัจจุบันโลกได้ล้ำหน้าไปมากถึงขนาดมีการจำแนกชายข้ามเพศ หญิงข้ามเพศ รวมถึงการใช้ชีวิตคู่ของกลุ่มคนเหล่านี้ และบางประเทศอนุญาตให้จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฏหมาย สามารถสร้างครอบครัวด้วยกันได้

คำถามที่พบบ่อย
- ภาวะมีบุตรยากพบบ่อยแค่ไหน
- เมื่อไหร่ต้องได้รับการตรวจเช็ค
- สามีต้องเข้ารับการตรวจด้วยหรือไม่
- การตรวจมีรายการอะไรบ้าง
- มีสิ่งใดช่วยทำให้มีบุตรง่ายขึ้นบ้างไหม
- ทางเลือกในการรักษามีอะไรบ้าง

ภาวะมีบุตรยากพบบ่อยแค่ไหน
เมื่อคู่สมรสอยู่ด้วยกัน ไม่ได้คุมกำเนิด มีเพศสัมพันธุ์ปกติสม่ำเสมอ รวมเวลาหกเดือนถึงหนึ่งปีแล้วฝ่ายหญิงยังไม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะหากผ่ายหญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจ เหตุผลเป็นเพราะโอกาสที่จะมีบุตรน้อยลงมาก หากรอไปนานกว่านี้ก็ไม่มีประโยชน์ เป็นการประวิงเวลาและเสียโอกาสดำเนินขั้นตอนในการรักษา หากเคยมีบุตรมาก่อนหน้านี้ โอกาสในการมีบุตรยากก็จะลดน้อยลงไป

สามีต้องเข้ารับการตรวจร่วมด้วยหรือไม่
ไม่ว่าอย่างไรฝ่ายชายควรรับการตรวจไปพร้อม ๆ กัน เนื่องจากพบว่าร้อยละ10 ของคู่สมรสมีปัญหาซ่อนอยู่ และฝ่ายชายมีโอกาสพบปัญหาได้บ่อยเท่า ๆ กับฝ่ายหญิง หรือพบร่วมกันทั้งคู่ก็ได้ จึงจำเป็นต้องวางแผนและรับการรักษาไปด้วยกัน
 
ผู้หญิงตรวจอะไรบ้าง
การตรวจจะแตกต่างกับการตรวจเช็คสุขภาพประจำปี นอกจากตรวจร่างกายทั่วไป ฝ่ายหญิงยังต้องมีการตรวจภายในของสตรี ซึ่งเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับภาวะเจริญพันธุ์ การตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องการตกไข่ การตรวจฮอร์โมน AMH เพื่อดูว่าฟองไข่เพียงพอ ที่จะมีอากาสตั้งครรภ์ในแต่ละรอบหรือไม่

การตรวจอัลตราซาวด์ของสตรีเป็นการตรวจที่สำคัญ มักใช้การตรวจทางช่องคลอดเนื่องจากชัดเจนและรวดเร็วกว่า ตรวจอัลตราซาวด์เพื่อหาความผิดปกติของมดลูก เช่น เนื้องอกมดลูก ภาวะมดลูกโต ตรวจอัลตราซาวด์เยื่อบุโพรงมดลูก ประเมินความหนา และหาความผิดปกติ เช่น ติ่งเนื้อ ตรวจอัลตราซาวด์ดูรังไข่เพื่อประเมินจำนวนฟองไข่ในแต่ละรอบระดู รวมถึงความผิดปกติที่พบร่วมด้วย เช่น ถุงน้ำในรังไข่ หากท่อนำไข่ตีบตันส่วนปลาย แพทย์มักจะมองเห็นถุงน้ำในท่อนำไข่จากการอัลตราซาวด์

การตรวจว่าท่อนำไข่ตีบตันหรือไม่ด้วยการฉีดสีเอ็กซเรย์ หรือการฉีดสีขณะผ่าตัดส่องกล้องในช่องท้อง การตรวจทั้งสองอย่างนี้ สถานพยาบาลบางแห่งแนะนำเป็นทางเลือกในกรณีที่หาสาเหตุอื่น ๆ ไม่พบ และยังต้องการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการกระตุ้นไข่ตกร่วมกับฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก หรือ IUI

อ่านต่อ ผู้ชายตรวจอะไรบ้าง สิ่งใดที่ช่วยทำให้มีบุตรง่ายขึ้น ทางเลือกในการรักษา
บทความโดย iBaby Fertility and Genetic CenteriBaby Fertility and Genetic Center
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่