ที่มาของ ม.171 วรรค 4 รธน.50 และความเกียวพันกับ ม.158 รธน.60 โดนบังคับใช้อย่างไร ?

กระทู้คำถาม
รธน.50 ม.171 วรรค 4 นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินว่าแปดปีมิได้

เข้าใจว่าเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนายกไว้ ซึ่งคระกรรมการร่างฯ
ได้ให้ที่มาว่าล้อมาจากการปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเช่นเดียวกัน
ในการประชุมมีมติตามข้อกฎหมายข้างต้น หาอ่านได้จากบันทึกการประชุมด้านล่าง

แต่ก่อนการจบประชุมนายพิเชียรอํานาจวรประเสริฐ มีคำถามว่าเป็นมาติดต่อกันเจ็ดปีแล้ว เว้นวรรคไปเพียงหนึ่งปี
ก็สามารถกลับมาเป็นต่อได้อีกแปดปี เพราะถือว่าเว้นวรรคการดำรงตำแหน่งไปหนึ่งปีแล้วจะสมกับเจตนารมณ์หรือ ?

"นายพิเชียร อํานาจวรประเสริฐ : ขออนุญาต คําเดียวเองครับ คือถ้าเกิดเขา ดํารงตําแหน่งมาอยู่ ๗ ปีแล้วเขาหยุดพักไปปีหนึ่ง แล้วเขากลับมาใหม่อีกนี่ ได้ไหมครับ ได้ใช่ ไหมครับ เพราะฉะนั้นเขาอาจจะอยู่ได้ถึง ๑๕ ปีนะครับ ถ้าแบบนี้นะครับ มันจะไม่สม เจตนารมณ์ที่ท่านให้เว้น ๘ ปีนะครับ"

อ้างอิงบันทึกการประชุม : https://bit.ly/3C40uwZ หน้า 237

ผมเข้าใจว่าคุณมีชัยคงได้อ่านบันทึกการประชุมนี้ จากเดิมที่กำหนดได้ดำรงตำแหน่งติดต่อเกินแปดปีไม่ได้
จึงเปลี่ยนเป็นจบการดำรงตำแหน่งที่แปดปี เพื่อที่จะแน่ใจได้ว่าไม่มีใครอยู่ในตำแหน่งนานเกินไป
เป็นที่มาของ ม.158 

คำถามคือเมื่อที่มาชัดเจนว่าลอกมาจาก อปท. อบจ. คำถามคือแล้วองค์กรเหล่านั้นบังคับใช้อย่างไร
นับอย่างไร เมื่อเคยดำรงตำแหน่งก่อนการแก้ไขกฎหมายมีการนับวาระก่อนนั้นหรือไม่ ?

ถ้าไม่คำวินิจฉัยของศาลรธน.ก็ยังพอฟังขึ้น ใครมีแนวทางการวินิจฉัยในเรื่องนี้ก็ของความกรุณาแชร์ด้วย

แต่เท่าที่ผมหาข้อมูลในเรื่องเดียวกันพบแค่การเปลี่ยนข้อบังคับสหกรณ์ใหม่ โดยกำหนดให้กรรมการเป็นเกินสองวาระ
ติดต่อกันไม่ได้ คกก.กฤษฎีกา ได้ตอบว่าการเลือกให้เป็นครั้งที่สามไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อ้างอิง : http://km.cpd.go.th/pdf-bin/pdf_8235919182.pdf

โดยถ้าการบังคับใช้กฎหมายแตกต่างกันระหว่าง นายก อปท. อบจ. กับ นายกรัฐมนตรีแตกต่างกัน
คำถามกฎหมายของไทยจะมีความแน่นอนได้อย่างไร ?
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่