🥃มาลาริน/ปีหน้าโตแบบก้าวกระโดด..“IMF” มอง ศก.โลกปีนี้ฟื้นตัวใกล้เคียงกับที่คาด ขณะที่ไทยโต 1% ก่อนปีหน้าพุ่ง 4.5%

กระทู้คำถาม
นานาเยี่ยม“IMF” มอง ศก.โลกปีนี้ฟื้นตัวใกล้เคียงกับที่คาด ขณะที่ไทยโต 1% ก่อนปีหน้าพุ่ง 4.5%



กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์เศรษฐกิจไทยขยายตัว 1.0 % ในปี 2021 ซึ่งต่ำกว่าการประมาณการเดิมเมื่อ ก.ค.2021 (2.1%) และคาดว่าจะขยายตัว 4.5% ในปี 2022 และจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยระหว่างปี 2023-2026 ที่ 3.5-4.0% นอกจากนี้ยังประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับ 0.9% และ 1.3% ในปี 2021 และปี 2022 ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะขาดดุล 0.5% ของ GDP ในปี 2021 และกลับมาเกินดุล 2.1% ของ GDP ในปี 2022 ตามลำดับ

ด้าน Krungthai COMPASS ระบุว่า มีมุมมองต่อเศรษฐกิจไทย สอดคล้องกับทิศทางของ IMF โดยระบุว่าคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ 0.5% และ 3.9% ในปี 2021-2022 โดยมีมุมมองว่าเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวได้ช้าเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า จำนวนนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติที่ยังอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าไทยจะมีแผนการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2021 แต่จำนวนนักท่องเที่ยวไม่น่าจะเพิ่มขึ้นมากนัก เนื่องจากอัตราการติดเชื้อโควิด-19 รายวันของประเทศไทยยังอยู่ในระดับสูง ส่วนภาคส่งออก แม้จะฟื้นตัวได้แต่ยังมีปัจจัยลบที่เข้ามาชะลอการฟื้นตัว ทั้งต้นทุนวัตถุดิบสำหรับภาคการผลิตและการขนส่งทางเรือที่สูงขึ้น รวมถึงเงินบาทที่มีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2022

สำหรับการคาดการณ์ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะกลางของไทยอาจต้องพิจารณา downside scenario ของการใช้ยุทธศาสตร์อยู่ร่วมกับโควิด-19 แบบโรคประจำถิ่น IMF คาดการณ์ว่าในระยะกลางเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวระหว่างปี 2023-2026 ที่ 3.5-4.0% แต่หากคำนึงถึงฉากทัศน์การอยู่ร่วมกับโควิด-19 แบบโรคประจำถิ่น ก็น่าจะทำให้การเติบโตของ GDP ของไทยในระยะกลางลดลงไปอีกราว 0.4 – 1.0% (เทียบจากตัวเลขประเมินของกลุ่มเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนา) อันเกิดจากการสูญเสียผลิตภาพของภาคธุรกิจในช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบธุรกิจใหม่ การว่างงานที่เพิ่มขึ้นชั่วคราว และการจำกัดการเดินทาง และทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนโควิดได้ช้าลงกว่าที่คาด

ทั้งนี้คาด ธปท.จะยังไม่เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อของไทยที่ค่อนข้างน้อย จากความกังวลที่เศรษฐกิจไทยอาจเข้าสู่ภาวะชะงักงัน (Stagflation) อันเกิดจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ล่าช้ากว่าการเร่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกนั้น Krungthai COMPASS มองว่า แม้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่ากลุ่มตลาดเกิดใหม่เป็นระยะเวลานาน รวมถึงเศรษฐกิจในภาวะวิกฤตยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ในทุกภาคส่วน (K-shape recovery) โดยเฉพาะตลาดแรงงานที่เผชิญแผลเป็นรุนแรงจาก วิกฤตโควิด-19 จนทำให้บางส่วนเสี่ยงที่จะว่างงานระยะยาว แต่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยจะเร่งตัวขึ้นเพียงระยะสั้น เนื่องจากองค์ประกอบของตะกร้าเงินเฟ้อของไทยที่อิงจากราคาน้ำมันในตลาดโลกมีกลไกในการควบคุมเสถียรภาพด้านราคาพลังงานไม่ให้ผันผวนตามทิศทางตลาดโลกตาม พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงพ.ศ.2562 ประกอบกับสัดส่วนสินค้านำเข้า (Import content) ที่อยู่ในระดับไม่สูงนักเมื่อเทียบกับสัดส่วนสินค้าส่งออก (Export content) ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น ส่งผ่านมายังอัตราเงินเฟ้อของไทยค่อนข้างจำกัด

Krungthai COMPASS มองว่า มาตรการกระตุ้นจากภาครัฐเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างแรงส่งทางเศรษฐกิจของไทย สะท้อนจากที่ IMF ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2022 ขยายตัวต่ำกว่าประมาณการครั้งก่อนหน้าค่อนข้างมากที่ระดับ 4.5% สอดคล้องกับ Krungthai COMPASS ที่มองว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้าจะขยายตัวได้เพียง 3.9% ซึ่งนั่นหมายความว่า รอยต่อของวัฏจักรเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเปลี่ยนผ่านจากภาวะซบเซา (Stagnation) ไปสู่ระยะของฟื้นตัว (Recovery) ได้ล่าช้ากว่าเดิม ฉะนั้นแล้ว การเร่งอัดฉีดมาตรการทางการคลังตามการขยับขึ้นของเพดานหนี้สาธารณะ นอกจากจะช่วยพยุงการบริโภคในประเทศแล้วยังสร้างเสริมความเชื่อมั่นแก่ภาคการลงทุนอีกด้วย หนุนภาพเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ควรจะต้องมีมาตรการที่จะช่วยเร่งการปรับโครงสร้างของภาคธุรกิจ และลด slack ของตลาดงาน เพื่อพยุงผลิตภาพของที่อาจถูกกระทบจาก downside scenario ของการอยู่ร่วมกับโควิด-19 แบบโรคประจำถิ่นด้วย

https://siamrath.co.th/n/290405

ปูเสื่อIMF คาดการณ์เศรษฐกิจไทยโต 1% ก่อนปีหน้าทะยาน 4.5%



https://www.thaipost.net/main/detail/120189

เพี้ยนดีออก หมอเศรษฐกิจทำนายทายทักว่า...เศรษฐกิจพุ่งทะยานในปีหน้าอย่างแน่นอน

อีกไม่กี่เดือนก็จะสิ้นปี 2564  ลาทีปีแห่งความวิกฤต

ปีหน้าชีวิตจะดีขึ้นทุกๆคนค่ะ

โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่