คอเลสเตอรอลสูงเกิน 200 ต้องทานยามั๊ย ?

กระทู้สนทนา

ใกล้จะถึงช่วงตรวจร่างกายประจำปีของผู้อ่านหลายท่าน  บางท่านก็ไปตรวจแล้ว เจอหมอทักเลย “ให้ไปลดคอเลสเตอรอลให้ได้ภายใน 2 เดือนนี้นะ  คราวหน้าถ้าสูงอีก คงต้องจ่ายยาให้แล้วนะ” แน่นอน ผู้อ่านหลายท่านน่าจะเคยโดนคุณหมอทักแบบนี้มาบ้าง แล้วจะทำอย่างไรดี เพื่อให้คอเลสเตอรล ลดลง  ออกกำลังกายก็แล้ว  ลดอาหารก็แล้ว ทำไมคอเลสเตอรอลไม่ยอมลด สักที  บางท่านอ่านบทความนี้ คิดในใจ “ทานยาลดไขมันอยู่ ควบคุมอยู่ แต่ก็ลดนิดเดียวเองนะ” ฯลฯ  ค่าคอเลสเตอรอลในเลือดของมนุษย์เรา ต้องไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ใช่ค่ะ แต่ด้วยพฤติกรรมในการทานอาหารของแต่ละท่านที่แตกต่างกัน แถมไม่ออกกำลังกาย (เลย) นั่นอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่คอเลสเตอรอลสูง  ไม่ว่าจะเป็นวัยเรียน วัยทำงาน  วัยทอง  หรือแม้สูงวัย ล้วนแล้วแต่มีโอกาสคอเลสเตอรอลเกินได้ทั้งนั้น  
 
องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า ในปีพ.ศ.2561 กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนทั่วโลก  โดยมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ประมาณ 18.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 31 ของอัตราการตายทั่วโลก  สำหรับประเทศไทย จากรายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข พบอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ สูงขึ้นทุกปี โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ การมีภาวะความดันโลหิตสูง การมีภาวะไขมันในเลือดสูง (ผิดปกติ) ภาวะอ้วนลงพุง และแน่นอน ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยในคนไทยที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจคือ ภาวะไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 83.2 ภาวะความดันโลหิตสูง ร้อยละ 59.7 และภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (เบาหวาน) ร้อยละ 50.7 เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

คอเลสเตอรอล ตัวชี้วัดสุขภาพ
คอเลสเตอรอล คือไขมันประเภทหนึ่งที่พบได้ในส่วนของผนังเซลล์ในร่างกายเรา รวมทั้งเป็นองค์ประกอบของน้ำดีอีกด้วย และแน่นอน ร่างกายของเราจะได้รับคอเลสเตอรอลจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป และจากตับของเราที่สามารถสังเคราะห์คอเลสเตอรอลขึ้นเองได้เช่นกัน ดังนั้น คอเลสเตอรอลที่เรารับประทานเข้าไปมากเกินไป จึงกลายเป็นส่วนเกินในร่างกาย  (เห็นมั๊ย ภัยมาอย่างเงียบ ๆ)

มาดูกัน…ไขมันในเลือดสูง เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ?
1) พันธุกรรม บุพการี หรือคนในครอบครัวมีประวัติไขมันในเลือดสูง
2)  ชอบทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่นอาหารทอด หรือ เนื้อสัตว์ติดมัน
3)  ไม่ชอบออกกำลังกาย
4)  ดื่มแอลกอฮอล์หนัก ดื่มเป็นประจำ
ถ้าอ่านตามข้อด้านบน จะเห็นว่าปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ที่สำคัญได้แก่ อายุที่มากขึ้น  ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง  และแน่นอน ไม่ค่อยออกกำลังกาย ทำให้มีการตีบตันในเส้นเลือด  ซึ่งถ้าเรามองลึกเข้าไปอีกสักนิด  เราจะเห็นว่า สาเหตุหลัก ๆ ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่ส่งผลให้คอเลสเตอรอลสูง  การทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง   ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ฯลฯ 

คนผอม คอเลสเตอรอลสูง ได้นะ
ระดับคอเลสเตอรอลสูง ไม่ได้ขึ้นกับอยู่กับระดับรูปร่าง  ผู้เขียนเคยได้คุยกับเพื่อนรุ่นน้องอายุประมาณ 34 ปี ทำงานออฟฟิศ เธอมีรูปร่างผอม แบบเห็นไหปาร้าเลยหล่ะค่ะ แต่ปรากฏว่าเธอคอเลสเตอรอลสูงมาก เพราะด้วยพฤติกรรมของเธอที่ชอบดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำทุกวัน (เน้น ทุกวันนะคะ)  ดื่มชานมไข่มุก  เอนจอยกับการทานของทอด ของหวาน เธอกวาดเรียบ เพราะเธอจะคิดเสมอว่า เธอผอมมาก ต้องทานเพื่อให้อ้วน  (ถึงแม้ทานอย่างไร ก็ไม่อ้วนสักที) แต่กลับเป็นว่า ค่าคอเลสเตอรอลรวมสูงถึง 320 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  (ลืมบอกว่า เธอไม่ชอบออกกำลังกาย อีกด้วย)  ถือเป็นเคสตัวอย่างสำหรับคนผอม ที่คอเลสเตอรอลสูงมาก  เพราะไขมันในเลือดที่เราพบนั้น มันเป็นคนละส่วนกับไขมันที่สะสมอยู่ตามผิวหนัง  และในทางกลับกัน คนอ้วน ก็ไม่จำเป็นเสมอไปที่จะเป็นคนที่มีไขมันในเลือดสูง แต่อาจจะมีแค่ไขมันที่สะสมอยู่ตามร่างกายมากกว่าเท่านั้นเอง 
 
คอเลสเตอรอลสูงเกิน 200 ต้องทานยาลดไหม ?
 
ถือเป็นคำถามที่พบบ่อย  เพื่อนท่านหนึ่งไปตรวจเลือดวัดค่าคอเลสเตอรอล เห็นค่าตัวเลขอยู่ที่ 280 ซึ่งเหมือนเดิมมาตลอด 3 ปีมาแล้ว ไม่เคยลดเลย อันตรายไหม ต้องทานยาลดไหม ?
 
คือต้องอธิบายดังนี้ว่า ค่าคอเลสเตอรอลที่ตรวจได้ 280 ถือเป็นผลรวมของคอเลสเตอรอลทั้งหมด ซึ่งเราต้องมาดูองค์ประกอบของคอเลสเตอรอลก่อน อันประกอบด้วย 3 ชนิด คือ LDL (ไขมันเลว) HDL (ไขมันดี) และ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerine) ซึ่งจะอันตรายหรือไม่นั้น ต้องมาดูที่ 3 ตัวนี้ ว่าสัดส่วนอยู่เท่าไหร่ 
 
·      LDL (ไขมันเลว) หรือไขมันไม่ดี ถือเป็นไขมันที่มีความหนาแน่นต่ำ อาจทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ฯลฯ โดยปกติไม่ควรเกิน 120 mg/dl
 
·      HDL (ไขมันดี) ถือเป็นไขมันที่มีความหนาแน่นสูง เป็นไขมันดีต่อหลอดเลือดในร่างกาย และเป็นตัวช่วยไม่ให้ไขมันเลวไปสะสมในหลอดเลือดแดง  โดยปกติไม่ควรน้อยกว่า 40mg/dl
 
·      Triglycerine ไตรกลีเซอไรด์ (หลายคนจะคุ้นตัวนี้มาก) ถือเป็นไขมันที่การจากการสังเคราะห์ในร่างกายเราเอง และจากการรับประทานอาหาร โดยปกติไม่ควรเกิน 150mg/dl
 
มาถึงคำถามว่า ต้องทานยาไหม ? ถ้าค่า LDL และ ไตรกลีเซอไรด์สูงมาก ก็อาจจะต้องทานยาในการปรับระดับคอเลสเตอรอลให้ลดลง แต่โดยส่วนใหญ่ยาลดคอเลสเตอรอล จะเป็นกลุ่มยา Statin ทานแล้วลดคอเลสเตอรอลได้แบบทันใจเลย แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงตามมาด้วย เช่น เวียนศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ  นอกจากนี้ การยาลดคอเลสเตอรอลบางตัว อาจทำให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนลดลงได้ อย่างไรก็ตาม เราสามารถลดคอเลสเตอรอล ด้วยตัวเองได้เช่นกัน
 
3 วิธีลดคอเลสเตอรอลด้วยตัวเอง
 
ในผู้ป่วยที่มีคอเลสเตอรอลสูงมาก แพทย์อาจแนะนำให้ทานยาเพื่อช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลไม่ให้เกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  แต่ก็มีแพทย์ส่วนใหญ่ แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารก่อน  เพราะโดยส่วนใหญ่ผู้ป่วย จะปฏิเสธการทานยา เพราะทราบดีว่าการทานยาต่อเนื่อง มักมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย   วันนี้ผู้เขียน จะมาแนะนำวิธีลดคอเลสเตอรอลแบบง่าย ๆ  ทำเองได้ (ไม่ง้อยา)
·      เลือกอาหาร  เลือกกิน
หยิบมาไว้อันดับแรกเลย ต้องเลือกกิน ไม่ใช่กินไม่เลือก เพราะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทานอาหารส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลอย่างมาก  หลีกเลี่ยงการทานอาหารทอด  อาหารมัน  และของหวาน ควรเลือกทานอาหารที่มีไขมันดี  (ไขมันไม่อิ่มตัว) ลดอาหารซีฟู้ด (อาหารทะเล) 

·      ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ข้อนี้ พูดง่าย ๆ คือ ลดดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์  เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นสาเหตุในการกระตุ้นให้ตับผลิตไตรกลีเซอร์ไรด์เพิ่มขึ้นด้วย   การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังเป็นสาเหตุของโรคความดันเลือดสูง  โรคหัวใจ  ฯลฯ

·      เน้นออกกำลังกาย
เน้นการออกกำลังกาย อย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์  การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยลดคอเลสเตอรอลได้
 
เคยได้ยิน “ถั่วนัตโตะ” ลดไขมันในเลือดได้ ?
ปัจจุบันมีงานวิจัย พบว่า มีสารสกัดจากธรรมชาติที่ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ผลหลายชนิด  หนึ่งในนั้น คือ “ถั่วนัตโตะ” หรือถั่วหมักญี่ปุ่น  “ถั่วนัตโตะ” เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน  ผลพลอยได้จากกระบวนการหมักจะได้สารสกัด Nattokinase เป็นเอมไซม์ที่ช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยสลายลิ่มเลือด ลดภาวะหลอดเลือดอุดตัน  ลดความเสี่ยงเกิดโรคเส้นเลือดในสมองแตก ได้ดี อีกทั้งยังมี โปรไบโอติกส์ (Probiotics)  วิตามิน เค 2, วิตามินบี  12 (Vitamin B12) และสารต้านอนุมูลอิสระ  ปัจจุบัน “ถั่วนัตโตะสกัดเข้มข้น” มีจำหน่ายในรูปแบบอาหารเสริม หาซื้อง่าย แถมยังรับประทานง่ายมาก ๆ 
 
ถ้าคอเลสเตอรอลสูงเกิน 200 จำเป็นต้องทานยามั๊ย ? สำหรับผู้เขียนตอบได้ทันทีเลยว่า ไม่ต้องพึ่งยาเลยค่ะ  พึ่งตัวเองนี่ดีสุด โดยปรับพฤติกรรมในการทานอาหาร พูดง่าย ๆ ต้องเพิ่มวินัยในการเลือกทานอาหาร จำกัดแคลอรี่หน่อย เพิ่มการออกกำลังกายบ้าง ลดของทอด-ของหวาน (ไปเลย)   แต่บางท่านอาจบ่นในใจว่า พูดง่าย ทำยาก (เนอะ)  ก็แนะนำอีกหนึ่งทางเลือกพวกสารสกัดจากธรรมชาติถั่วนัตโตะ ก็น่าสนใจไม่น้อย  พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ
.............
(เครดิต :  Prevention and Treatment of High Cholesterol, www.heart.org, Cholesterol Management, www.webmd.com, www.ถั่วนัตโตะ.com, http://bit.ly/3cNSsuh , Symptoms, Causes and Treament Hight Cholesterol, www.familydoctor.org, www.i-kinn.com)
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่