ทำไมไทยซื้อsinovac of China

Cพีมีหุ้น15% อยากอุดหนุนไทย?

ทั้งที่แพงกว่าเจ้าอื่น ประสิทธิภาพก็สวนทาง ได้ผล50กว่า%

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
พอดีผมไปเจอข้อมูลน่าสนใจของการทำ trial เฟส 3 ในบราซิลของ Sinovac วัคซีนนะครับ

1) จากประชากรตัวอย่าง 13,000 คน ในประเทศบราซิล เกือบทั้งหมดของอาสาสมัครเป็นบุคคลากรทางการแพทย์ที่คลุกคลีกับผู้ป่วยโควิคใกล้ชิดอยู่ตลอดเวลา
อ้างอิงจาก https://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT04456595

ในขณะที่วัคซีนของ Pfizer และ Moderna จะทำการทดสอบในกลุ่มประชากรทั่วไป ดังนั้นหากพิจารณาด้วยความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อ ตัวอย่างอาสาสมัครที่ทดสอบของ Corovac จะมีโอกาสสัมผัสเชื้อมากกว่า กลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครของ Pfizer และ Moderna มาก

2) หลักการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัทครับ

Moderna จะทำการทดสอบ PCR ว่าอาสาสมัครติดเชื้อหรือไม่ เมื่ออาสาสมัครมีอาการที่บ่งบอกถึงลักษณะโรคของ Covid-19 อย่างน้อย 2 อาการขึ้นไป (ซึ่งอาการมีได้ตั้งแต่ เจ็บคอ มีไข้ ลิ้นไม่รับรส ปวดเนื้อตัว ฯลฯ)

Pfizer กับ Sinovac จะทำการทดสอบ PCR ว่าอาสาสมัครติดเชื้อหรือไม่ เมื่ออาสาสมัครมีอาการที่บ่งบอกถึงลักษณะโรคของ Covid-19 อย่างน้อย 1 อาการขึ้นไป (ซึ่งอาการมีได้ตั้งแต่ เจ็บคอ มีไข้ ลิ้นไม่รับรส ปวดเนื้อตัว ฯลฯ)

3) Protocol ในการบันทึกหรือติดตามอาการของกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครที่แตกต่างกัน

SinoVac trial, the primary endpoint is "incidence of symptomatic cases of virologically confirmed COVID-19 two weeks after the second vaccination."

Pfizer study is, "Confirmed Covid-19 with onset at least 7 days after the second dose in participants who had been without serologic or virologic evidence of SARS-CoV-2 infection up to 7 days after the second dose.

Moderna's is "Prevention of Covid-19 illness with onset at least 14 days after the second injection in participants who had not previously been infected with SARS-CoV-2."

จะพบว่า การวิเคราะห์หรือติดตามข้อมูลนั้นแตกต่างกันพอสมควรครับ ซึ่งส่งผลต่อการวิเคราะห์และประเมินผลครับ โดยของ Sinovac อาสาสมัครอาจจะมีติด Covid ระหว่างการฉีดวัคซีนเข็มแรกกับเข็มที่สอง หรือนานกว่านั้นคือก่อนฉีดเข็มแรกเล็กน้อยก็ได้ ใครที่ปรากฎอาการภายใน 14 วันหลังฉีดเข็มที่ 2 นับว่าเป็นตัวอย่างที่ไม่มีผลการป้องกันทั้งหมด

ของ Pfizer นับเฉพาะคนที่มีอาการหลังฉีดเข็มที่ 2 เป็นเวลา 7 วันขึ้นไป (อาสาสมัครที่มีอาการภายใน 7 วันหลังฉีดเข็มที่ 2 ก็ถูกตัดออกว่าไม่นับอีกด้วย) และของ Moderna ติดตามหลังฉีด 14 วันเหมือนกัน แต่เน้นว่าต้องไม่เคยติด Covid มาก่อนการฉีดเข็มที่ 2 และไม่นับคนที่ติดภายใน 14 วันหลังฉีดเข็มที่ 2

อ้างอิงจาก https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa2034577

ทำให้หลักการหรือจุดอ้างอิงประสิทธิภาพ  3 เจ้านี้เทียบกันยาก เพราะจุดเก็บตัวอย่าง จุดจบการทดลอง การตัดชุดตัวอย่างก็แตกต่างกันหน่ะครับ

4) สื่อต่างๆไม่ได้นำเสนอข้อมูลวิธีการวิจัยครับ โดยผู้ชมจำนวนไม่น้อยเข้าใจว่า เค้าทำการทดสอบฉีดวัคซีนให้อาสาสมัคร แล้วทดสอบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจาก clinical trial report ของหลายบริษัท เค้าไม่ได้วัดอย่างนั้น

เค้าจะมีกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับวัคซีนหลอก 1 กลุ่ม ที่เรียกว่า Placebo สมมติว่ามี 1,000 คน
อีกกลุ่มคือกลุ่มที่ได้รับวัคซีน (จะเริ่มนับที่จุดใดและเลิกติดตามที่จุดใดก็ตามวิธีทดลองของแต่ละผู้ผลิต) สมมติว่า 1,000 คน

เวลาผ่านไป ดูว่าทั้ง 2,000 คน มีคนที่มีอาการเกี่ยวกับ Covid-19 เข้าข่ายที่ต้องนำไปทดสอบ PCR กี่คน (ตรงนี้ก็มีหลักในการเลือกคนที่มีอาการไปตรวจวัดอีก ว่ามีอาการแบบใดถึงเชิญตัวไปวัด และจะเริ่มวัดหลังจากฉีดวัคซีนเข็มสองกี่วัน)

สมมติ Placebo 1,000 คน คนที่มีอาการมีสัก 50 คน หรือก็คือ 5%
กลุ่มที่ได้รับวัคซีน 1,000 คน มีอาการ 1 คน หรือก็คือ 0.1%

Efficiency ของวัคซีนตัวนี้ คำนวนแบบง่ายๆ (แต่เข้าใจว่าความจริงซับซ้อนกว่านี้) คือ 100% - (0.1%/5%) = 98% หน่ะครับ

ปัญหาคือ Placebo กับ กลุ่มตัวอย่างในประเทศต่างๆ น่าจะมีสัดส่วนการติดแตกต่างกันไป ในกลุ่มประชากร (หรือประเทศ) ที่ชุกโรค Placebo อาจจะติดกันเพียบสูงถึง 20% ก็ได้ และกลุ่มที่ได้รับวัคซีนและมีอาการ อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ นี่ไม่รวมปัจจัยที่ไม่เหมือนกันด้าน ความสามารถในการป้องกันตัวของประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง เชื้อชาติ ความง่ายในการติดโรค วิธีการปฏิบัติตน ฯลฯ

สมมติ Placebo 1,000 คน คนที่มีอาการมีสัก 200 คน หรือก็คือ 20%
กลุ่มที่ได้รับวัคซีน 1,000 คน มีอาการ 50 คน หรือก็คือ 5%

Efficiency ของวัคซีนตัวนี้ ก็จะเปลี่ยนแปลงไปเป็น คือ 100% - (5%/20%) = 75% หน่ะครับ
ความคิดเห็นที่ 5
ส่วนที่ทำไมไทยเราซื้อวัคซีนของ Sinovac

คือกระแสสั่งซื้อวัคซีนของชาติต่างๆ ไปยังบริษัทผู้พัฒนาวัคซีนมีมาตั้งแต่ Q2/2020 แล้วหน่ะครับ ใครเชื่อมั่นในเจ้าไหนก็เอาเงินไปวาง สั่งจอง หรือยอมให้ทำการทดลองในประเทศตัวเองไปก่อน เพราะรัฐบาลทุกชาติเล็งเห็นว่า ไม่มีทางที่ผู้ผลิตวัคซีนเจ้าใดจะสามารถผลิตวัคซีนป้อนประชากรทุกคนบนโลกได้ภายในระยะเวลาสั้นๆแน่นอน ดังนั้นถ้าไม่เสี่ยงจองก็ไม่ได้ของโดยเร็วแน่ๆ

อย่าง Pfizer นั้นโดนจองโดยสหรัฐ ยุโรป และชาติมีเงินหลายๆประเทศไปแล้ว ขนาดสหรัฐที่เป็นประเทศผู้ผลิตยังไม่สามารถเหมากำลังการผลิตเอาไปฉีดให้ประชากรตัวเองได้ทั้งหมดเลย และโควต้าการผลิตก็โดนจองยาวไปหลายเดือนล่วงหน้าแล้ว ดังนั้นจะเห็นว่าหลายๆชาติไม่ได้สั่งจองหรือวางเดิมพันกับผู้ผลิตเจ้าใดเจ้าหนึ่งเท่านั้น แต่กระจายความเสี่ยงไปหลายเจ้าหน่ะครับ

ไทยเรา ผมว่ารัฐบาลเราเดินเกมส์ช้าไป เพราะเราคิดว่าคุมการระบาดได้ ไม่ต้องรีบมากนัก รอกลางปี 2564 ค่อยฉีดก็ได้ แต่พอโควิดมันมาหนักปลายปี เราจึงต้องไปหาผู้พัฒนาที่พอมีลุ้น มีกำลังการผลิตเหลือจะแบ่งวัคซีนมาได้ เพื่อฉีดให้กับประชากรบางส่วนก่อน เพราะถ้ารอของสยามไบโอไซน์ ก็ต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าจะเริ่มแจกจ่ายวัคซีนชุดแรกออกไปได้ฮะ

หลังจาก Butantan ประกาศผลการทดสอบเฟส 3 ในบราซิลออกมา ผมว่าเป็นข้อมูลที่มีค่ามากนะ เพราะกลุ่มอาสาสมัครทดลองเป็นบุคคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสหรือเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโควิดแทบจะล้วนๆเลย มันแสดงให้เห็นถึงกรณีเลวร้ายมากๆของบุคคลากรแนวหน้าในการรับมือโรคว่า ถ้าคุณฉีดวัคซีน คุณจะลดอัตราการติดเชื้อได้มากถึง 50% เลยนะครับ ลดอาการป่วยเหลือแค่อาการเล็กๆน้อยหรือไม่มีอาการเลยได้ถึง 78% และป้องกันการติดเชื้อรุนแรงได้เกือบ 100% นั่นทำให้เราไม่ต้องเสียบุคคลากรทางการแพทย์ที่เป็นหน่วยแนวหน้าไปจากเชื้อโควิค

เอาง่ายๆว่า สมมติถ้าบุคคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ฉีดวัคซีนเลย ทุกๆ 1,000 คน อาจจะมีความเสี่ยงที่จะต้องมีคนติด 50 คน
แต่พอฉีดวัคซีนตัวนี้ ทุกๆ 1,000 คน อาจจะมีความเสี่ยงที่จะต้องมีคนติดเหลือแค่ 25 คน แถมใน 25 คนนี้ จะไม่มีใครมีอาการหนักระดับปอดอักเสบต้องนอนโรงพยาบาลเลย และจะมีแค่ 5-7 คนที่มีอาการเจ็บคอหรือเป็นไข้เล็กน้อย

ผมว่า มันก็เป็นทางเลือกที่ไม่ได้แย่เกินไปนัก ในภาวะขาดแคลนวัคซีนแบบนี้ สำหรับใช้ซื้อเวลาออกไปสัก 2-3 เดือน ในการรอให้สยามไบโอไซน์ผลิตวัคซีนตัวใหม่ออกมาฉีดให้กับประชาชนส่วนใหญ่นะครับ

มันก็เหมือนคุณพึ่งมีความจำเป็นต้องกลับบ้านไปดูใจญาติที่ป่วยขั้นตรีทูต ในคืนก่อนวันหยุดยาวสงกรานต์นั่นแลครับ คุณไม่ได้ซื้อตั๋วรถไฟ หรือ รถทัวร์ ล่วงหน้า จะไปคาดหวังว่าจะได้รถปรับอากาศพิเศษ นครชัยแอร์ หรือรถนอนชั้น 1 คงลำบาก

แต่อย่างไรก็ต้องกลับ ตั๋วรถบัสเสริมน้ำหยดแอร์ไม่เย็น เก้าอี้พลาสติก หรือรถไฟชั้น 3 ตั๋วยืนโหนตรงประตู ก็ต้องจำใจซื้อไว้ก่อนนั่นแล
ความคิดเห็นที่ 2
ส่วนตัวสงสัยเหมือนกันครับ เลยไปค้นหาข่าวจากสื่อที่ดูน่าเชื่อถือมาอ่าน สรุปแบบหยาบๆคือ

ข้อดี แช่ตู้เย็นธรรมดาได้ ทำให้สะดวกกับการเก็บรักษาและขนออกไปฉีดนอกสถานที่ ส่วนวัคซีนของไฟเซอร์ โมเดน่าต้องแช่แข็ง -20 กับ -70

ข้อเสีย คือผลเฟส 3 ยังไม่ชัดเจน

เอาจริงๆของมาปุ๊ป ฉีดคนในคณะรัฐมนตรีออกสื่อก่อนเลยฮะ เรียกความเชื่อมั่น 555
ส่วนเรื่องหุ้น CP ผมว่าไร้สาระครับ ลงทุน 500 ล้าน USD เพื่อจะเอาออเดอร์ 2 ล้านโดสของไทย โคตรไม่คุ้ม

แบบละเอียดสรุปได้ตามนี้ ตัว Sinovac วัคซีนนะครับ

1. ผ่านการทดสอบแล้ว 2 เฟส (จากทั้งหมด 3 เฟส)

2. ผลการทดสอบเฟส 3 ที่ทำในตุรกีได้ผล 91.5% แต่ที่ทำในบราซิลได้ผลมากกว่า 50% ซึ่งผลแบบเต็มๆยังไม่ประกาศ ทำให้ดูน่าสงสัย

3. ได้รับการอนุมัติให้ใช้ได้ในกรณีฉุกเฉินในจีน ข้อนี้สำคัญขีดเส้นใต้ไว้

4. เป็นวัคซีน 1 ในสองตัว ที่สามารถเก็บได้ในอุณหภูมิตู้เย็นธรรมดาๆ 2-8 องศาเซลเซียส (อีกตัวคือ Astra ที่เราซื้อมาผลิตในประเทศ) ทำให้ง่าย และ สะดวกในการเอาไปฉีด ต่างกับวัคซีนตัวอื่นที่ต้องแช่แข็ง -20 และ -70 องศา

5. รัฐบาลไทยสั่งซื้อ 2 ล้านโดส ล็อตแรก 2 แสนโดสจะมาปลายเดือนกุมภา ล็อตสอง 8 แสนโดส ในเดือนมีนา ล๊อตสุดท้าย 1 ล้านโดสเดือนเมษา โดยหลังจากนั้นวัคซีนของ Astra ที่ซื้อมาผลิตในบ้านเราจะผลิตได้พร้อมใช้งานในเดือนพฤษภา

6. แผนใช้งานวัคซีน Sinovac คือ
ล็อตแรก 2 แสนโดส
- 20,000  ฉีดให้ประชาชนในจังหวัดเสี่ยงสูงสุด
- 180,000 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงในลำดับถัดมา
ล็อตสอง 8 แสนโดส
- 200,000 เป็นโดสที่สองสำหรับคนที่ได้ฉีดล็อตแรก
- 600,000 สำหรับประชาชนในจังหวัดเสี่ยง
ล็อตสาม 1 ล้านโดส
- 600,000 เป็นโดสสองสำหรับคนที่เพิ่งได้ฉีดโดสแรกในล็อตสอง
- 400,000 สำหรับประชาชนทั่วไป (ในข่าวเขียนว่า other personel)

7. ประเทศอื่นๆที่มีการสั่งซื้อวัคซีน Sinovac แล้ว ได้แก่ สหรัฐอาหรับ บาห์เรน อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และประเทศที่มีการทดสอบเฟสสามคือ ตุรกี บราซิล และ ชิลี

8. CP ลงทุนใน Sinovac เมื่อเดือนธันวา 63 เป็นเงิน 515 ล้านusd ตอนนี้ถือหุ้น 15% ซึ่งไม่ใช่ครั้งแรกที่ CP ลงทุนใน บ.จีน
ปัจจุบัน CP มีหุ้นใน บ. ประกันภัย Ping An โดยได้รับผลตอบแทน คิดจากปี 2012-2020 จาก Ping An มากถึง 76.2 % โดยบริษัทในเครือที่ให้ผลตอบแทนเป็นที่สองคือ CPALL (เจ้าของ 7-11) อยู่ที่ 31.8%

คหสต.

1. ดูจากไทม์ไลน์ ถ้า รบ จะเอา sinovac มาเผื่อไว้ใช้ฉุกเฉิน กรณีเอาไม่อยู่จริงๆ เพื่ออุดช่องว่างระหว่างรอการผลิตวัคซีน Astra มันพอฟังได้
แต่ รบ มีแผนการใช้งานวัคซีน Sinovac แบบชัดเจน (อ้างอิงในข่าวของบางกอกโพสต์) ทำให้สงสัยต่อว่า ถ้ามีผลข้างเคียงรุนแรง มีการวางแผนรองรับแล้วใช่มั๊ย

และคนที่จะได้รับวัคซีน เขารู้หรือเปล่าว่าวัคซีนนี้มันยังเทสไม่จบ

2. กรณีของ CP ส่วนตัวมองว่าลงทุน 500 ล้านดอลล่าห์เพื่อจะได้ออเดอร์จากไทย 2 ล้านโดส มันดูเป็นการขี่ช้างจับตั๊กแตนไปหน่อย ออเดอร์ของ Sinovac ที่น่าจะได้จากทั่วโลกแบบเบาะๆต้องมี 500-1,000 ล้านโดสแหงๆ
3. ส่วนสาเหตุที่ รบ โดนด่าโดนโยงแบบที่คนไม่ค่อยมองข้อเท็จจริง อาจจะต้องกลับมาดูตัวเองว่า ที่ผ่านมาทำวีรกรรมอะไรบ้าง ถึงยืนเฉยๆเค้าก็ไม่รัก

4. สื่อในบ้านเราส่วนใหญ่เอียง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง บางสื่อหนักถึงขั้นเอาความจริงด้านเดียวมาเสี้ยมคนอ่าน ซึ่งเป็นเรื่องน่าเศร้า ลำบากคนที่อยากได้ข้อเท็จจริงต้องไปหาข่าวจากสื่อนอกมาเทียบอีกที

อ้างอิง:
https://www.bbc.com/news/world-asia-china-55212787
https://www.bangkokpost.com/.../35m-more-shots-to-be...
https://asia.nikkei.com/.../China-s-Sinovac-attracts-515m...
https://www.finnomena.com/u_____n/ping-an-1/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่