รับมือภัยแล้ง เตรียมพร้อมติดตั้ง ‘แท็งค์น้ำ-ถังเก็บน้ำ’


เพราะ “น้ำดื่ม” คือสิ่งจำเป็นสิ่งแรกสำหรับการดำรงชีวิตในภาวะสถานการณ์ภัยพิบัติ ดังนั้นในภาวะปกติการเก็บกักตุนน้ำให้พอเพียงกับการใช้งานในวันที่น้ำไม่ไหล หรือในภาวะภัยแล้ง จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นเหมือนเช่นบ้านไทยในอดีตที่มักมีตุ่มน้ำเรียงรายเก็บกักน้ำฝนไว้ดื่มกิน แต่รูปแบบในวันนี้อาจเปลี่ยนจากตุ่มเรียงแถว มาเป็น “แท็งค์น้ำ – ถังเก็บน้ำ” ใบใหญ่ที่แค่เพียงปล่อยน้ำเข้า ก็มีน้ำใช้ไปได้นาน แล้วแท็งค์น้ำขนาดเท่าใดกัน จึงจะเหมาะและพอเพียงกับสมาชิกในแต่ละครอบครัว มาทำความรู้จักกับแท็งค์น้ำว่าแท็งค์แบบใดที่จะเหมาะกับครอบครัวของเรา

รูปแบบของแท็งค์น้ำ
แท็งค์น้ำมีด้วยกันหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน สถานที่ติดตั้ง ขนาดพื้นที่ใช้สอยของแต่ละบ้าน รวมถึงงบประมาณที่พอเหมาะพอควร

Stainless Steel Tank
ถังเก็บน้ำแบบสแตนเลส ทนแดด ทนฝน นำ้หนักน้อย ไม่เป็นสนิม ไม่เกิดกลิ่น เมื่อเก็บน้ำเป็นเวลานานติดตั้งและทำความสะอาดง่าย มีท่อระบายตะกอนที่ก้นแท็งค์น้ำ ข้อควรระวัง ควรระวังเรื่องรอยเชื่อมต่ออาจเกิดการรั่วซึมและเป็นสนิมได้ ไม่เหมาะกับการบรรจุน้ำกร่อย น้ำทะเล


FiberGlass Tank
ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส เหมาะกับระบอุตสาหกรรม ติดตั้งได้ทั้งแบบบนดินและฝังดิน ไม่เป็นสนิม ซึ่งเป็นถังที่ไม่ควรเก็บน้ำดื่ม ข้อควรระวัง ในการใช้งานระยะยาวใยไฟเบอร์กลาสอาจเสื่อมและหลุดออกมาปนเปื้อนในน้ำทำให้มีกลิ่นเหม็น ทำความสะอาดยาก และมีน้ำหนักมากเคลื่อนย้ายลำบาก


Polymer ELIXIR Tank
ถังเก็บน้ำโพลีเมอร์ ทนต่อแสงอัลตราไวโอเลต ไม่แตกกรอบง่าย ทึบแสง ไม่เป็นตะไคร่ เหมาะที่จะใช้เพื่อเป็นถังเก็บน้ำโดยเฉพาะ มีรูปทรงและสีสันสวยงามเหมาะกับบ้านยุคใหม่ทุกสไตล์ ข้อควรระวัง ล้างตะกอนยาก เพราะท่อระบายน้ำอยู่ด้านข้างของถัง ต้องระวังเรื่องข้อต่อต่างๆ อาจหลุดออกจากกันได้ง่าย ตัวถังมีน้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายและติดตั้งยาก

PE Tank
ถังเก็บน้ำพลาสติก ทนการกัดกร่อนของกรดและสารเคมีบางชนิดได้ ไม่มีรอยต่อ ไม่เป็นสนิม มีทั้งแบบบนดินและฝังดิน ซึ่งถ้าเป็นพลาสติกเกรดดีๆ ก็สามารถบรรจุน้ำดื่มได้ ข้อควรระวัง อาจมีเมือกลื่นเกาะในถัง ทำความสะอาดยาก เคลื่อนย้ายไม่สะดวก มีกลิ่นเหม็นของเนื้อ

แท็งค์น้ำขนาดไหนที่เหมาะกับครอบครัวเรา
โดยเฉลี่ยแล้ว หนึ่งคนจะใช้น้ำอยู่ที่ 200 ลิตร/วัน/คน ซึ่งน้ันหมายความว่าขนาดถังเก็บน้ำสำรองก็ควรจะคิดจากปริมาณของสมาชิกในบ้านคูณด้วยปริมาณการใช้น้ำต่อวัน (เมื่อได้ผลลัพธ์ควรคูณด้วย 2 อีกที เผื่อสถานการณ์ฉุกเฉินน้ำไม่ไหลมากกว่า 1 วัน) ส่วนถังเก็บน้ำฝน ขอให้เลือกขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีพื้นที่จัดวาง เพราะต้องเก็บน้ำฝนให้ได้มากพอสำหรับการรอหน้าฝนอีก 1 ปี ข้างหน้า


การติดตั้งที่ต้องรู้
เมื่อได้แท็งค์น้ำที่ต้องการแล้วตำแหน่งการจัดวางและติดตั้งต้องรู้ด้วยว่าบ้านของเราจะติดตั้งแท็งค์ไว้ตรงไหนได้ ที่สำคัญแท็งค์น้ำขนาดใหญ่จะขนเข้าบ้านได้อย่างไรนั้นห้ามละเลยเด็ดขาด ว่าจะขนข้ามรั้ว ยกผ่านประตูบ้านได้หรือไม่


- แท็งค์น้ำต้องติดตั้งเดินท่อตรงจากมิเตอร์เข้าสู่แท็งค์มีระยะห่างไม่เกิน 2 เมตร สำหรับติดตั้งปั๊มให้ไม่โดนแดด โดนฝน และห่างจากผนังอย่างน้อย 5 เซนติเมตร โดยให้พื้นที่รอบๆ เหลือกว้างอย่างน้อง 10 เซนติเมตร ส่วนด้านบนให้มีพื้นที่พอให้เปิดฝาถังทำความสะอาดได้สะดวก

- การติดตั้งแท็งค์น้ำบนพื้นคอนกรีตที่เพิ่งเทเสร็จ ควรให้คอนกรีตมีอายุอย่างน้อย 7 วัน ซึ่งจะรับน้ำหนักได้ แข็งแรงประมาณ 90 % หรือหลัง 28 วันจะรับน้ำหนักได้เต็มที่

- ตั้งแท็งค์น้ำในตำแหน่งที่การต่อท่อจากแท็งค์ไปยังปั๊มน้ำทำได้สะดวก ไม่เกะกะ และต่อท่อระบายตะกอนที่ก้นแท็งค์ เพื่อสะดวกในการทำความสะอาด

-ใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อที่เป็น พีวีซี ทองเหลือง หรือสแตนเลสขนาด 3/4 หรือ 1 นิ้ว เพื่อให้น้ำไหลเข้าได้เร็วและเพื่อป้องกันการผุกร่อนและเป็นสนิม

" การเก็บกักน้ำในแท็งค์ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกหนึ่งปี
หากไม่มีภาวะฉุกเฉินใดๆ ให้ถ่ายน้ำออกมาใช้กับกิจวัตรต่างๆ เช่น รดน้ำต้นไม้ ล้างรถ หรือการทำความสะอาดต่างๆ
แล้วค่อยบรรจุน้ำสะอาดสำหรับดื่มลงไปใหม่ เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำจะสะอาดสำหรับภาวะฉุกเฉินในอนาคต "


HomeGuru by HomePro
อุ่นใจทุกเรื่องบ้านไปกับโฮมโปร และติดตามเคล็ดลับดีๆ เพื่อบ้านได้ทาง http://bit.ly/HomeGuru_Homepro
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่