หรือภาษาไทยจะเป็นซากฟอซซิ่ลที่มีชีวิตของภาษาจีนโบราณ?

กระทู้สนทนา
หลายวันมานี้ลองนั่งลิสต์คำคำจีนกลาง กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน ฮากกา แต้จิ๋ว จ้วง คำเมือง ไทยกลาง อีสาน ไทใหญ่ดู
ว่ามีคำไหนที่ใช้คล้ายคลึงกันมาก จึงทำให้ จขกท พยายามไปสืบเสาะหาแหล่งข้อมูลโดยการเชิร์ชหาเป็นภาษาจีน
ปรากฎว่ามีนักวิชาการ(สมัครเล่นด้วย) และคนจีนในเวบบอร์ดจำนวนเยอะพอสมควรที่ถกเถียงกันเรื่อง ภาษาไทยและภาษาจีน
ว่าจริงๆแล้วควรจะจัดให้ภาษาตระกูลไท-กะได หรืออยู่ในกลุ่มตระกูลภาษา จีน ทิเบต. ซึ่งหลายคนก็ตั้งข้อสังเกตเราอิงข้อมูลตามนักวิชาการทางตะวันตก เกินไป เราควรตั้งขอสันนิฐฐานจากภาษาจีนโบราณด้วย
แล้วมีคนถามว่าและภาษาจีนโบราณมีใครรู้ได้อย่างไรว่าสมัยไหน ออกเสียงอย่างไร
ก็มีคนตอบบว่าดูจาก ศิลปะ ภาษาที่ยืมไปของประเทศเพื่อนบ้าน ภาษาถิ่นนั้นๆที่เคยเป็นสถานที่บริเวณใกล้เคียงแต่ละยุคสมัย

รวมไปถึงคำศัพท์ของประเทศต่างๆที่อยู่รายล้อมจีน
มีนักวิชาจีนบางคนบอกว่า หากเราได้ลองมองภาพรวมแล้ว ควรจะเอาภาษาตระกูลไทยกลับเข้ามาอยู่ในกลุ่มจีน ทิเบต และก็ถกเถียงกันต่างๆนาๆ
เช่นว่า
-.ภาษาพม่าที่จัดอยู่ในกลุ่มทิเบตนั้น ไม่มีอะไรเหมือนภาษาจีนเลย นอกจากมีวรรณยุกต์ กับ การทำหน้าที่ส่วนขยายของของคำวิเศษที่เหมือนกัน
-.มีคำไทยจำนวนมากมายที่เมื่อสืบคนดีดีแล้วสามารถอ้างอิงกับตัวอักษรจีนได้หมดเลย
- มีกฏบางกฎที่เมื่อคำจีนออกเสียงแบบนี้ เสียงในภาษาตระกูลไทยจะเปลี่ยนเป็นอีกเสียง ค่อนข้างชัดเจน
เช่น
หากอิงจากภาษาจีนกลาง และภาษาจีนถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะภาษาจีนฮากกา หรือจีนแคะนั้นซึ่งนักวิชาจีนบางสายมองว่า เป็นฟอซซิ่ลของภาษจีนโบราณ กล่าวคือมีความใกล้เคียงกับภาษาจีนโบราณที่สุดแล้ว อิงจากภาษาจีนฮากกาด้วยก็น่าจะหาขอมูลได้เยอะพอสมควร

มีกฎการออกเสียงบางกฏลองเปรียบเทียงกันดู
คำที่มีเสียงนำว่า H จะเป็นเสียง kh ในภาษาไทย
เช่น คำว่า Khao สีขาว จะเหมือนกับคำว่า 皓 hao ห้าวในภาษาจีน(โบราณที่แปลว่าสีขาว)
คำว่า Khaek แขก  จะเหมือนคำว่า  客 Hak ฮั๊ก หรือ หาก ในภาษากวางตุ้งและฮากกา
คำว่า Khai ไข (ที่แปลว่าเปิด) จะเหมือนกับคำว่า 開 Hoi ฮอย ในภาษากวางตุ้งหรือฮากกา ซึ่งคำว่าไขยี่ก็เหมือนกับจีนกลางด้วยซ้ำ
คำว่า Khoi คอย (รอคอย) จะเหมือนกับกับว่า 候 hou หาว ในภาษากวางตุ้ง

หรือกฏการผันเสียงนี้ก็สามารถใช้ได้ในภาษาไทยกับภาษาจ้วงได้ด้วย

เช่นคำว่า ข้าว ตรงกับคำว่า เห้า ในภาษาจ้วง
คำว่า ค่ำ ตรงกับคำว่า แห่ม ในภาษาจ้วง
คำว่า ขาว ก็ตรงกับคำว่า หาว ในภาษาจ้วง


หรือกฏการเปลี่ยนเสียงในกรณีที่เอาภาษาจีนกลางเป็นแกน หากจีนกลางเสียง Q (เสียง ช ) กลุ่มภาษาไท-จ้วงรวมทั้งจีนถิ่นอื่นจะเปลี่ยนเป็น K หรือ H หรือจากเสียง
เช่นคำว่า qing 輕 ออกเสียง ว่าชิง แปลว่า ค่อยๆ เบาๆ ในภาษากวางตุ้งออกเสียงว่า เฮ้ง ภาษาฮากกาออกเสียงว่า คิง ภาษาฮกเกี้ยนออกเสียงว่า คิง ภาษาไทยออกเสียงว่า "ค่อย"  (ค่อยๆ เบา) (ภาษาญี่ปุ่นเอาไปทีหลังออกเสียงว่า เค)
คำว่า   qing 青ออกเสียงว่า ชิง แปลว่า เขียวหรือน้ำเงิน เมื่อเทียบกับภาษาไทยจะออกเสียงว่า Khiao

ขอเอาบางส่วนในลิสต์มาให้ดูแล้วกัน
แล้วยังมีอีกหลายกฏการเปลี่ยนเสียง ที่ จขกท ยิ่งขยิ่งอ่านยิ่งทึ่ง
ในความหาข้อมูลเชิ่งลึกเปรียบเปรยของนักวิชาจีนที่มีความพยายามมาก  .....


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากท่านใดเรียนภาษาจีนมาอย่าได้เอาภาษาจีนกลางเป็น Base เด็ดขาด เพราะนอกว่าภาษาจีนกลาง
เป็นภาษาที่เกิดจากทางเหนือที่มีความหนาวจัด จึงทำให้กฎการออกเสียงแบบทางเหนือ ได้รับอิทธิพลจากชนกลุ่มน้อยแถวนั้นแล้ว
ยังมีความแตกต่างจากภาษาจีนถิ่นอื่นๆที่อยู่ทางใต้ ซึ่งอากาศร้อน และการออกเสียงจะแตกต่างกับทางเหนืออย่างมาก

หากท่านไหนรู้ภาษาจีนถิ่นของตัวเองก็ลองเทียบดูครับ

ส่วนในลิสต์ คีอพอจะรู้ว่ามันออกเสียงยังไง แต่กลัวไม่แม่น เลยเว้นไว้
บางอันก็รอให้แน่ใจก่อน

อักษรจีน / คำานจีนจีนกลาง / คำอ่านกวางตุ้ง / ฮกเกี้ยนหรือแต้จิ๋ว / ไทย อีสาน หรือ ล้านนา

ดื่ม -飲   / อิน / หยำ / หลิม / ดื่ม
เวลา 時  / สือ / สี / สี / ตี * ตี 1-2-3-4-5
ไป-去 / ชวี่ / เฮอย / คี่,คู่.ขื่อ/ ภาษาไทยคือ "ก้าว" ก้าวเดิน ก้าวไป(มักใช่ร่วมกัน) ภาษาไทใหญ่ กว่า แปลว่าไป
รู้ -知 จือ / จี๊ / ไจ / ภาษาอีสาน จื่อ แปลว่ารู้ แปลว่าจดจำได้
สะพาน -橋 เฉียว / คิ๊ว / เคียว / ภาษาอีสานคือ ขัว แปลว่าสะพาน
ต้องการ - 想  เสี่ยง / เสิอง / ซิ่ว (เสีนยงออกจมูก) / ภาษาไทย เสี้ยน ต้องการ อยาก แต่สมัยนี้ใช้ในทางลบ
กระบอง - 棒 ปั้ง /  ไม่แน่ใจ / ไม่แน่ใจ / ไม่แน่ใจ / ภาษาไทยคือ กระบอง บอง
หกล้ม คว่ำ- 倒 / เต้า /  ภาษาเหนือ ต้าว แปลว่าหกล้ม
เช้า ตอนเชามืด 晨 / เฉิน / ชิ้น / กวางตุ้ง ส่าน / ภาษาไทย สาง รุ่งสาง
  
มีคำไทยเป็นจำนวน ร้อยๆพันๆคำที่ส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบของคำซ้อน
เหมือนว่าภาษาไทยจะพยายามเก็บเอาคำเก่าไว้ด้วย ซึ่งคำเหล่านี้เมื่อสืบค้นลงไป
เป็นน่าทึ่งว่า ภาษาไทยเหมือนจะเป็นซากฟอซซิ่ลของภาษจีนสมัยก่อนเลยทีเดียว




อย่าง
ผีสาง   คำว่า สาง คือ 神 กวางตุ้งออกเสียงว่า สัน แปลว่า เทพเจ้า / คนตระกูลไทยสมัยก่อนคงจะเรียกรวมๆกับผี เพราะนับถือผี
แว่นแคว้น  คำว่า แคว้นคือ 國 คำนี้ภาษาฮากกาออกเสียงว่าแกว่ด เหมือนคำว่า แคว้นของไทย และภาษาฮากกาคือภาษาถิ่นของจีนที่เขาว่าโบราณที่สุด
โบยบิน คำว่าโบย คือ  飛  คำนี้ภาษาแต่จิ๋วและเกี้ยนออกเสียงว่า ปวย กวางตุ้งออกเสียงว่า เฟ๊ย เกาหลีที่รับไปทีหลังมีกฏว่าเสียง F จะเป็น B เกาหลีออกว่า บี
สู่ขอ คำว่า ขอ ตรวกับคำว่า 求 คำนี้ภาษาฮากกาออกเสียงว่า คิ๊ว ภาษากวางตุ้งออกเสียงว่ส เข่า แปลว่า ร้องขอ ขอ
ก้าวย่าง  คำว่า ก้าว เขียนไว้แล้ว ส่วนคำว่า ย่าง คือคำ 行 ภาษากวางตุ้งออกเสียงว่า หั่ง ภาษาฮกกี้ยนออกเสียงว่า เกี๋ย (เสียงออกจมูก) แปลว่าเดิน คำนี้ในภาษาอีสานออเสียงว่า ญ่าง แปลว่า เดิน เสียงออกจมูกเหมือนกัน
สั่งสอน คำว่า สอน คือ 訓 ภาษากวางตุ้งออกเสียงว่า ซวิน แปลว่าสั่งสอน
ร้องกู่ หรือ กู่ร้อง คำว่า กู่ คือ 叫 ภาษากวางตุ้งอกเสียงว่า กิว ภาษา ฮกเกี้ยนออกเสียงว่า เกี้ย

ที่นี้มาลองเล่นสนุก ลองเอาคำไทยเทียบเสียงคำศัพท์จีนดู

ญี่ปุ่น 日本  ประกอบไปด้วย 日 แปลว่าพระอาทิตย์ กวางตุ้งออกเสียงว่า หยัด / ฮากกาออกเสียงว่าหงิด / เวียดนามออกเสียง หญัด (ออกจมูก) / ฮกเกี้ยนเสียงบูนถัก(เสียงแบบภาษาหนังสือ)ออกว่า ชิด /  แต้จิ๋วออกว่า ยิก ( z+y)
เกาหลีออกเสียงว่า อิล  แปลความได้ว่า พระอาทิตย์ ทุกอย่างที่เกียวกับพระอาทิตย์  ภาษาไทยก็มีคำนี้ที่ใกล้เคียงชาวบ้านคือ ....... แดด.....

ต้นกำเนิด ปูมหลัง ที่มา 本 กวางตุ้ง ปู๋น / ฮากกา ปู้น / เวียดนามออกเสียงว่า บั๋น / ฮกเกี้ยนออกเสียงว่า ปู้น /  แต้จิ๋วออกเสียงว่า ปู้ง / เกาหลีออกเสียงว่า บน
ภาษาไทยมีคำใกลี้เคียงคือ ....... พื้น ......   พื้นเพ พื้นถิ่น พื้นกำเนิด ....

ลองเอาคำมาประกอบกันจะได้ว่าประเทศญี่ปุ่น แปลว่า กำเนิดจากพระอาทิตย์ ลูกพระอาทิตย์นั่นเอง
กวางตุ้งจะออกเสียงว่า - หยัดปู๋น
ฮากกาจะออกเสียงว่า - หงิดปู้น
เวียดนามจะออกเสียงว่า - หญัดบั๋น
ฮกเกี้ยนจะออกเสียงว่า - ชิ๊ดปู้น
แต่จิ๋วจะออกเสียงว่า - หยิกปู้น เคยได้กินผู้ใหญ่บางสำเนียงก็พูด หยิกปึ้ง
เกาหลีก็คือ อิล-บน
ญี่ปุ่นเรียกตัวเองแแบบญี่ปุ่น นิฮง หรือ นิปปง

ไทยก็จะเรียกว่า ......แดดพื้น..............

ในสมัยโบราณ 2000 ปีก่อนเราอาจจะออกเสียงใกล้ชาวบ้านมากกว่านี้
อย่าเอาภาษาปัจจุบันไปเปรียบเทียบแล้วอคติว่าไม่เหมือน


ยังมีคำที่เขียนคำจีนด้วยภาษาจีนอีกหลายคำ เดี่ยวจะรวบรวบมาให้อ่านเล่นๆ

ที่นี้ลองเอาคำที่ใช้ในเมืองจีนมาเขียนด้วยคำไทยดู

คำไทย คำจีน ลองเอาคำไทยแปลจีนตรงตัว
เวลา - 時間 - ตีกลาง
ธนคาร - 銀行 - เงินญ่าง หรือ เงินห้าง ยืมคำว่า ห้างจากภาษาแต้จิ๋ว
การเขียนหนังสือ -書法 - สือแบบ
อดีต -過去 กายเก้าว -
ร้านขายขา -藥房 ยาห้อง
ร่างกาย 身體 - ตนตัว

**********************************************



มีนักวิชาการญี่ปุ่นคนหนึ่งกล่าวว่า การจะรู้ว่าเผ่าพันธ์ไหนใกล้เคียงกับเผ่าพันธ์ไหนหรือไม่ พื้นฐานแรกเลยที่ควรสังเกตคือคำที่ใช้ในชีวิตประจำ อวัยวะ เครื่องมือเครื่องใช้
สิ่งของรอบกาย ถ้ามีส่วนที่เหมือนกันมาก ก็อาจจะสันนิฐานเบื้องต้นได้ว่า มีความใกล้ชิดกัน
ซึ่งจากการที่นักวิชาการชาวญี่ปุ่นตั้งข้อสังเกตก็มีนักวิชาจีนออกมาค้นคว้าและหาคำตอบให้จนหมด
เอาไว้คราวหน้าจะพยายามแปลบทความนั้นและสืบข้อมูลมาให้อ่านกันนะครับ น่าสนนใจมาก

น่าเสียใจที่คนไทยให้ความสนใจเรื่องนี้น้อยมาก
แก้ไขข้อความเมื่อ
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่