คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 45
คำว่า "Website แบบ pantip" ทำให้คนตอบหลงประเด็นคำถามของคุณเจ้าของกระทู้ไปเยอะเลยครับ
จากความเห็น 44 ผมสรุปว่า คุณโอชิน77 ต้องการทำเว็บที่ เว็บบอร์ด ขึ้นมาเว็บนึง ไม่มากไปกว่านี้ ไม่น้อยไปกว่านี้ พอพูดถึงคำว่า pantip คนเลยนึกถึงเว็บไซต์ใหญ่โตสมาชิกมากมายคนออนไลน์พร้อมกันเยอะๆไปซะ
ถ้าอยากได้แบบที่เขียนไว้ใน #44 นั้นผมว่าในงบที่ตั้งไว้พออยู่ครับ คือเอาเงินไปจ้างคนมาลงโปรแกรม free web board, free web forum อย่าง SMF, Discuz หรือยี่ห้ออื่นๆอีกมากมายครับ รับรองได้ระบบแบบที่ต้องการแน่ๆ
แต่ปัญหาคือ จะหาคนมาเล่นเว็บคุณได้ยังไง (ถ้าเป็นเว็บแบบใต้ดิน หาไม่ยาก ถ้าเป็นเว็บเนื้อหาปกติ หาคนเล่นยากมาก เพราะมักมีเว็บคุยเรื่องพวกนั้นอยู่แล้่ว)
Scale ที่คุณพูดถึง คนเข้าวันละ 10,000 นั้น พอๆกับเว็บกลางๆอันนึงเลย อย่าง siamnaliga.com ก็ประมาณนั้นครับ
จากความเห็น 44 ผมสรุปว่า คุณโอชิน77 ต้องการทำเว็บที่ เว็บบอร์ด ขึ้นมาเว็บนึง ไม่มากไปกว่านี้ ไม่น้อยไปกว่านี้ พอพูดถึงคำว่า pantip คนเลยนึกถึงเว็บไซต์ใหญ่โตสมาชิกมากมายคนออนไลน์พร้อมกันเยอะๆไปซะ
ถ้าอยากได้แบบที่เขียนไว้ใน #44 นั้นผมว่าในงบที่ตั้งไว้พออยู่ครับ คือเอาเงินไปจ้างคนมาลงโปรแกรม free web board, free web forum อย่าง SMF, Discuz หรือยี่ห้ออื่นๆอีกมากมายครับ รับรองได้ระบบแบบที่ต้องการแน่ๆ
แต่ปัญหาคือ จะหาคนมาเล่นเว็บคุณได้ยังไง (ถ้าเป็นเว็บแบบใต้ดิน หาไม่ยาก ถ้าเป็นเว็บเนื้อหาปกติ หาคนเล่นยากมาก เพราะมักมีเว็บคุยเรื่องพวกนั้นอยู่แล้่ว)
Scale ที่คุณพูดถึง คนเข้าวันละ 10,000 นั้น พอๆกับเว็บกลางๆอันนึงเลย อย่าง siamnaliga.com ก็ประมาณนั้นครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 18
"หลายๆคนยังไม่เข้าใจนะครับ ว่าการที่จะรองรับคนเข้าเว็บมากๆไม่ไช่ปัญหาของผู้พัฒนาเว็บเลยซักนิด ต่อให้คนเข้าวันละหลายล้านก็ไม่ไช่ปัญหา ปัญหาส่วนนี้มันจะตกอยู่ที่hostผู้ให้เช่าพื้นที่โน่นครับ ซึ่งทุกวันนี้ก็มีหลายเจ้า ถ้าคนเข้าเยอะก็แค่เลือกเจ้าแพงๆเทคโนโลยีดีๆก็เท่านั้น. แต่ถ้ามันเยอะมากเล็งแล้วว่าเช่าไม่คุ้ม ก็ต้องลงทุนวางserver เองก็เท่านั้น"
สมาชิกหมายเลข 769264
ขอแสดงความเห็นครับ
การเขียน Code ก็มีความสำคัญครับ
เข้าเป็นล้าน อยู่ที่ Server ส่วนหนึ่งก็จริง
แต่ส่วนหนึ่งก็อยู่ที่ Code ถ้าถูก Design ให้ไม่ซับซ้อนมีประสิทธิภาพสูง ไม่กินทรัพยากร Server มันก็ดี
เราก็เห็นอยู่ web จำนวนมาก Code วุ่นวายไปหมด ไปป่วนเอา Server เดี้ยงไปก็มี
สมาชิกหมายเลข 769264
ขอแสดงความเห็นครับ
การเขียน Code ก็มีความสำคัญครับ
เข้าเป็นล้าน อยู่ที่ Server ส่วนหนึ่งก็จริง
แต่ส่วนหนึ่งก็อยู่ที่ Code ถ้าถูก Design ให้ไม่ซับซ้อนมีประสิทธิภาพสูง ไม่กินทรัพยากร Server มันก็ดี
เราก็เห็นอยู่ web จำนวนมาก Code วุ่นวายไปหมด ไปป่วนเอา Server เดี้ยงไปก็มี
ความคิดเห็นที่ 62
แวะมาแปะบทความของคุณบอย MacroArt ผู้ออกแบบ pantip.com ที่อ้างอิงกระทู้นี้ครับ
http://macroart.net/2013/06/how-difficult-to-develop-forum-with-million-visitors-per-day/
http://macroart.net/2013/06/how-difficult-to-develop-forum-with-million-visitors-per-day/
ความคิดเห็นที่ 54
ขอตอบในฐานะ Software Engineer และกำลังทำ startup นะครับ
ถ้าคิดจะทำเว็บบอร์ด "แบบพันทิป" มันตีความออกมาได้อีกยาวครับ
ในกรณีนี้ผม assume ว่าจะไม่ลอก (หรือ reverse engineer) แต่แค่จะทำระบบเว็บบอร์ดใน scale เดียวกันนะครับ
เอาสั้นๆ นะ "เกินแสนครับ ใครบอกไม่เกิน จ้างมันเลยครับ!!"
ส่วนเหตุผล ยาวนะ ใครว่างๆ ลองอ่านดู
- - - - - - - - -
เนื้อหายาวๆ จากมุมอง software engineer คนนึงนะครับ
กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างมีคุณภาพที่สั้นที่สุด มักประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ ครับ
Software Design, Implementation, QA & Deployment
ซึ่ง 3 ส่วนนี้ต้องใช้ผู้ที่มีสกิลเฉพาะทางค่อนข้างสูง ดังนั้นไม่แปลกครับที่ราคาจะค่อนข้างสูงตามไปด้วย
ส่วนแรก Software Design ผู้รับผิดชอบส่วนนี้ ต้องจัดทำเอกสารความต้องการ แล้วเขียนแผนการโค้ด ส่งต่อให้โปรแกรมเมอร์
ยิ่งเขียนได้ตรงไปตรงมามากเท่าไหร่ ยิ่งโค้ดได้งานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งความยากมันอยู่ตรงนี้แหละครับ
มันไม่ค่อยมีหรอก ตรงไปตรงมาอ่ะ มันมักจะมาแบบคลุมเครือ ที่เราเรียกกันว่า non functional requirement เช่น เว็บไซต์ต้องมีความสวยงาม
แล้วเราจะรู้ได้ไง ว่าแบบไหนสวย? โปรแกรมเมอร์จะทำยังไงให้สวย? ซึ่งถ้าผู้จัดทำแก้ปัญหานี้ให้ลงตัวไม่ได้ ก็จะกระทบต่อกระบวนการเขียนโค้ด ซึ่งสุดท้ายกลายเป็น ทำๆ แก้ๆ เสียทั้งเวลา เผลอๆ โค้ดวุ่นวาย ประสิทธิภาพตกต่ำอีก
ส่วนที่สอง Implementation คือการลงโค้ด งานเว็บไซต์ จะแบ่งเป็นสองทีมอีก คือ front end กับ back end ทีม front end ดูแลเรื่อง look & feel ส่วน back end ดูแลโค้ดที่ทำงานเบื้องหลังหน้าตาสวยงามเหล่านั้น ซึ่งเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้ระดับนี้ โปรแกรมเมอร์ต้องเซียนพอสมควรที่จะรู้จุดแข็งจุดอ่อน ของอัลกอริทึ่มแต่ละแบบ เค้าต้องหาสิ่งที่ลงตัวที่สุดมาใช้ ให้มีสมดุลระหว่าง "ประสิทธิภาพ" กับ "ความปลอดภัย" ซึ่งสองอย่างนี้มักจะแปรผกผันกันด้วยสิ ความปลอดภัยสูง มักแลกมาด้วย ระบบที่ซับซ้อนและทำงานช้า (ประสิทธิภาพต่ำ) ยิ่งถ้างาน Software Design ในเฟสแรกไม่ลงตัว ยิ่งเป็นงานหิน เพราะตัวระบบเองซับซ้อนอยู่แล้ว ถ้าแก้โค้ดทีนึงก็ไม่รู้จะกระทบไปส่วนไหนอีกบ้าง
ส่วนที่สาม QA & Deployment คือการ test ระบบนั่นเอง ซึ่งก็จะมีการเทสในหลายๆ เนื้อหา เช่น ความปลอดภัย (ลองแฮคเว็บตัวเอง) ทดสอบโหลด ว่ารับคนเยอะๆ ไหวจริงหรอ ทดสอบฟังก์ชันการทำงานต่างๆ ว่าทำงานได้สมบูรณ์ไหม ทดสอบหน้าตาเว็บไซต์บนเบราเซอร์ต่างๆ ชนิดกัน ว่าแสดงผลได้ดีหรือเปล่า ฯลฯ ซึ่งจะเห็นได้ว่า งานมันก็เฉพาะทางอีก ใช้คนชุดเดิมมาทำอาจจะทำได้ แต่คงจะไม่เหมาะนัก ให้กินกับข้าวที่ตัวเองทำ ใครจะบอกว่าไม่อร่อยล่ะ เช่นเดียวกับซอฟต์แวร์ ต่างคน ก็ต่างมุมมอง งาน QA ต้องการมุมมองที่หลากหลาย เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดกับผู้ใช้
เห็นมั้ยครับ นี้แค่คร่าวๆ นะ ต้องมีอย่างน้อย 3 คนละ (แถมเป็น 3 คนที่มีสกิลสูงด้วย)
งานนี้คงพัฒนากันอย่างน้อยๆ ก็ 2 เดือน นั่นคือ 180 man-day ละ
คนที่มีสกิลสูงระดับนี้ค่าตัวไม่ถูกด้วยครับ น่าจะ man-day อย่างต่ำวันละ 1500 แค่นี้ก็ปาไป 270,000 ละครับ
ถ้ารวมค่าเซิร์ฟ ค่าดูแล ค่าการตลาด และค่าใช้จ่ายจิปาถะ ผมว่ามีเรื่องให้งบบานปลายอีกเยอะครับงานนี้
ฉะนั้น คุณรีบจ้างเลยครับ คนที่บอกจะทำให้ไม่เกินแสนอ่ะ เขียนความต้องการให้กระชับ ครบถ้วน แล้วจับเซ็นสัญญาเลย
ถ้าคิดจะทำเว็บบอร์ด "แบบพันทิป" มันตีความออกมาได้อีกยาวครับ
ในกรณีนี้ผม assume ว่าจะไม่ลอก (หรือ reverse engineer) แต่แค่จะทำระบบเว็บบอร์ดใน scale เดียวกันนะครับ
เอาสั้นๆ นะ "เกินแสนครับ ใครบอกไม่เกิน จ้างมันเลยครับ!!"
ส่วนเหตุผล ยาวนะ ใครว่างๆ ลองอ่านดู
- - - - - - - - -
เนื้อหายาวๆ จากมุมอง software engineer คนนึงนะครับ
กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างมีคุณภาพที่สั้นที่สุด มักประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ ครับ
Software Design, Implementation, QA & Deployment
ซึ่ง 3 ส่วนนี้ต้องใช้ผู้ที่มีสกิลเฉพาะทางค่อนข้างสูง ดังนั้นไม่แปลกครับที่ราคาจะค่อนข้างสูงตามไปด้วย
ส่วนแรก Software Design ผู้รับผิดชอบส่วนนี้ ต้องจัดทำเอกสารความต้องการ แล้วเขียนแผนการโค้ด ส่งต่อให้โปรแกรมเมอร์
ยิ่งเขียนได้ตรงไปตรงมามากเท่าไหร่ ยิ่งโค้ดได้งานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งความยากมันอยู่ตรงนี้แหละครับ
มันไม่ค่อยมีหรอก ตรงไปตรงมาอ่ะ มันมักจะมาแบบคลุมเครือ ที่เราเรียกกันว่า non functional requirement เช่น เว็บไซต์ต้องมีความสวยงาม
แล้วเราจะรู้ได้ไง ว่าแบบไหนสวย? โปรแกรมเมอร์จะทำยังไงให้สวย? ซึ่งถ้าผู้จัดทำแก้ปัญหานี้ให้ลงตัวไม่ได้ ก็จะกระทบต่อกระบวนการเขียนโค้ด ซึ่งสุดท้ายกลายเป็น ทำๆ แก้ๆ เสียทั้งเวลา เผลอๆ โค้ดวุ่นวาย ประสิทธิภาพตกต่ำอีก
ส่วนที่สอง Implementation คือการลงโค้ด งานเว็บไซต์ จะแบ่งเป็นสองทีมอีก คือ front end กับ back end ทีม front end ดูแลเรื่อง look & feel ส่วน back end ดูแลโค้ดที่ทำงานเบื้องหลังหน้าตาสวยงามเหล่านั้น ซึ่งเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้ระดับนี้ โปรแกรมเมอร์ต้องเซียนพอสมควรที่จะรู้จุดแข็งจุดอ่อน ของอัลกอริทึ่มแต่ละแบบ เค้าต้องหาสิ่งที่ลงตัวที่สุดมาใช้ ให้มีสมดุลระหว่าง "ประสิทธิภาพ" กับ "ความปลอดภัย" ซึ่งสองอย่างนี้มักจะแปรผกผันกันด้วยสิ ความปลอดภัยสูง มักแลกมาด้วย ระบบที่ซับซ้อนและทำงานช้า (ประสิทธิภาพต่ำ) ยิ่งถ้างาน Software Design ในเฟสแรกไม่ลงตัว ยิ่งเป็นงานหิน เพราะตัวระบบเองซับซ้อนอยู่แล้ว ถ้าแก้โค้ดทีนึงก็ไม่รู้จะกระทบไปส่วนไหนอีกบ้าง
ส่วนที่สาม QA & Deployment คือการ test ระบบนั่นเอง ซึ่งก็จะมีการเทสในหลายๆ เนื้อหา เช่น ความปลอดภัย (ลองแฮคเว็บตัวเอง) ทดสอบโหลด ว่ารับคนเยอะๆ ไหวจริงหรอ ทดสอบฟังก์ชันการทำงานต่างๆ ว่าทำงานได้สมบูรณ์ไหม ทดสอบหน้าตาเว็บไซต์บนเบราเซอร์ต่างๆ ชนิดกัน ว่าแสดงผลได้ดีหรือเปล่า ฯลฯ ซึ่งจะเห็นได้ว่า งานมันก็เฉพาะทางอีก ใช้คนชุดเดิมมาทำอาจจะทำได้ แต่คงจะไม่เหมาะนัก ให้กินกับข้าวที่ตัวเองทำ ใครจะบอกว่าไม่อร่อยล่ะ เช่นเดียวกับซอฟต์แวร์ ต่างคน ก็ต่างมุมมอง งาน QA ต้องการมุมมองที่หลากหลาย เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดกับผู้ใช้
เห็นมั้ยครับ นี้แค่คร่าวๆ นะ ต้องมีอย่างน้อย 3 คนละ (แถมเป็น 3 คนที่มีสกิลสูงด้วย)
งานนี้คงพัฒนากันอย่างน้อยๆ ก็ 2 เดือน นั่นคือ 180 man-day ละ
คนที่มีสกิลสูงระดับนี้ค่าตัวไม่ถูกด้วยครับ น่าจะ man-day อย่างต่ำวันละ 1500 แค่นี้ก็ปาไป 270,000 ละครับ
ถ้ารวมค่าเซิร์ฟ ค่าดูแล ค่าการตลาด และค่าใช้จ่ายจิปาถะ ผมว่ามีเรื่องให้งบบานปลายอีกเยอะครับงานนี้
ฉะนั้น คุณรีบจ้างเลยครับ คนที่บอกจะทำให้ไม่เกินแสนอ่ะ เขียนความต้องการให้กระชับ ครบถ้วน แล้วจับเซ็นสัญญาเลย
ความคิดเห็นที่ 46
กระทู้นี้ ผมไม่ได้ว่าใครนะครับ แต่ทำให้เห็นแนวความคิดของ คนหลายกลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่ม พ่อค้า
ก็คือผู้ว่าจ้างนั่นแหล่ะ ในทีนี้ หลายคนเป็นพ่อค้าครับ ที่มองว่า ผมต้องจ่ายเท่าไร ถึงจะได้แบบนี้ แต่ว่า ไม่ได้มองลงไปในรายละเอียด ว่า "ได้แบบนี้" มันมีรายละเอียดยังไงแค่ไหน เพราะว่าต่อให้เป็น clone เว็บ ยังไงก็ไม่มีทางเหมือนได้ 100% ครับ และตรงนั้นแหล่ะ ก็อาจจะเอามาเป็นจุดขายได้ด้วย
การ clone เว็บให้สำเร็จ เหมือน 100% ไม่ได้แปลว่าจะ success นะครับ เมื่อหลายปีก่อน ผมเคยรับ clone เว็บใหญ่เว็บหนึ่งอยู่ (ตอนนั้นยังเด็กน้อยอยู่) ปรากฏว่า ปัจจุบัน ก็ไปไหนไม่ได้ไกลเท่าไร ไม่ได้ดังอย่างที่เค้าวาดฝันไว้ ทั้งๆที่ระบบทำงานได้ดีกว่า เร็วกว่าต้นฉบับ แต่ก็ยังไม่ปิดครับ (แต่เท่าที่มองๆ ก็น่าจะคุ้มทุนไปแล้ว) นี่คือ พ่อค้า
2.กลุ่ม ผู้พัฒนา
กลุ่มนี้ หลายคน แสดงให้เห็น ถึงความรู้ ความสามารถที่แสดงออกมาผ่านคำพูดได้เลย ทำให้รู้ว่า คนที่พูดนี้ ประสบการณ์มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ราคาที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องของ performance, scalability, price, infra, network เพราะว่า การที่เรามองว่า เรื่องนั้นไม่เกี่ยวกับฉัน คนอื่นต้องเป็นคน handle จุดนั้น โดยเฉพาะ นั่นสื่อถึงประสบการณ์ได้เป็นอย่างดี ตรงนี้ไม่ได้ตำหนิ แต่แค่อยากบอกว่า เมื่อเค้าพัฒนาตัวเองไปเรื่อย เค้าจะเข้าใจ ว่าคนอื่นเค้าพูดเรื่องอะไรกันอยู่ แต่ถ้ามีความคิดนี้ตลอดไป คนเหล่านี้จะไม่ไปไหนครับ เพราะคิดว่า นี่ไม่ใช่เรื่องของฉัน ฉันไม่ยุ่ง แต่ผลสุดท้ายที่ออกมา มันไม่ได้ตามนั้นจริงครับ
แต่ บางคนรู้เยอะจริง แต่ไม่เคยทำจริง ก็ต้องระวังนะครับ เพราะว่า คำพูดมันดูเหมือนการตลาดชวนเชื่อ บางคนพูดให้ระบบราคาหลักแสน กลายเป็นหลักล้านได้อย่างไม่ยาก (เจอมาแล้ว และลูกค้าก็พร้อมจะจ่ายด้วย) คนเหล่านี้ จะเพ้อเจ้อ คำพูดสวยหรู เหมือนฝัน เหมือนวิมาน แต่พอทำจริง วิมานพังทลาย หายไปเหลือแค่เศษซาก เหมือนเสา hope well ครับ เพราะเค้ามีทฤษฏีเยอะ อ่านเยอะ แต่ไม่เคยทำจริง จึงสามารถขายฝันให้เหมือนจริงได้นั่นเอง
แต่หลายคนก็พาออกนอกเรื่องไปได้เหมือนกันนะเนี่ย เพราะเอาจริงๆแล้ว เค้าเข้ามาถาม ราคาที่อยากได้แบบนี้ แต่โยงไปเรื่อง infra อะไรต่อมิอะไรไปเรื่อย
3.กลุ่มประชาชน
อันนี้ ก็เข้ามาดูแบบไม่ได้รู้เรื่อง ว่าเค้าคุยเรื่องอะไรกันเนี่ย
------------------------------------------------------------
สรุปคำถามนะครับ ขอตอบจากผู้ที่มีประสบการณ์ เคยคุยกับ ผู้ใช้ พ่อค้า ประชาชน และเข้าใจคนทุกกลุ่ม แนะนำให้ กลุ่มที่เป็นพ่อค้า หาคนที่ดีๆ ที่รู้เรื่องเหล่านี้สักคน มาเป็นที่ปรึกษา ถ้าไม่มั่นใจ ให้หามาสองคน แล้วตรวจสอบกันเอง หรือกลัวมาก 3 คนเลย (แต่มันเยอะไปนะ อันนี้คือ มีเงินทุนเยอะหน่อย และไม่รู้เลย ว่าใครตัวจริงตัวปลอม ถ้าพอรู้บ้างก็จะ clean ตรงนี้ไปได้) อย่าลืม ว่าคุณต้องการผลกำไร ดังนั้นเรื่องเหล่านี้ คือเรื่องที่ต้องลงทุน ไม่อย่างนั้น คนจะเจอผู้พัฒนาที่มาขายฝันและดูดเงินทุนไปอย่างหน้าตาเฉย โดยสุดท้ายแล้ว เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ก็คือ ไม่เสร็จ หรือเสร็จก็เสร็จแบบกากๆ ไม่เหมือนดังที่คิด ขอให้คุณ focus ไปในทาง business เหมือนเดิม เรื่องทาง technical ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของที่ปรึกษาครับ
แต่ถ้าคุณต้องการลดต้นทุน และต้องการป้องกันผลประโยชน์ไม่ให้สูญหายจากการขายฝันเหล่านี้ด้วย คุณจะต้องลงมาเรียนรู้ เรื่องพวกนี้ก่อน หลักสูตรฟรีและเสียเงินมีเยอะไป และพยายามคุยกับคนที่รู้เรื่องให้เยอะที่สุด คุยให้มากที่สุด บางคนเค้ายินดีให้คำแนะนำ เพียงแค่นัดเลี้ยงอาหารสักมื้อก็พอแล้ว (คือไม่ได้ว่าคนเหล่านั้นเห็นแก่กิน แต่หมายถึงคุยกันถูกคอ และเข้าใจกันก็พร้อมจะชี้แนะโดยไม่หวังผลกำไร) หลังจากที่รู้เรื่อง และเข้าใจมากพอแล้ว คุณก็ไปคุยกับผู้พัฒนา ทีนี้เวลาเค้าพูดอะไรมา คุณจะพอรู้แล้ว ว่าคนนี้ มามั่ว หรือมาจริง แต่ก็ยังต้องวัดกับพวกรู้มาก ไม่เคยทำจริงอยู่ดี อันนี้ก็แล้วแต่เวรกรรมที่ทำกันมาแล้วล่ะครับ
ดังนั้น เมื่อมาถึงจุดนี้แล้ว คุณจะรู้ด้วยตัวคุณเองเลย ว่า ราคาที่เหมาะควรเป็นเท่าไรครับ และที่แต่ละคนพูดมา เหมาะสมหรือไม่
คุณลองคิดง่ายๆ คนนึงพูดว่า 5000 บาท อีกคนพูดว่า 1 ล้านบาท คุณคิดว่า ทำไมมันถึงต่างกันได้ขนาดนั้น โจทย์เดียวกันแท้ๆ
ป.ล.ไม่ต้อง PM หาผมนะครับ ผมไม่รับงานนอกแล้วครับถ้าจะปรึกษานิดๆหน่อยๆ ทั่วๆไปไม่ลึกมาก ได้ครับ ไม่คิดเงิน แต่ถ้าให้ไปทำเว็บ แก้ไขเว็บ งดนะครับ ไม่รับแล้ว(ปัจจุบัน รับแต่งานจากคนที่สนิทๆเท่านั้น ซึ่งหมด project นี้ก็เลิกแล้วเหมือนกัน)
1. กลุ่ม พ่อค้า
ก็คือผู้ว่าจ้างนั่นแหล่ะ ในทีนี้ หลายคนเป็นพ่อค้าครับ ที่มองว่า ผมต้องจ่ายเท่าไร ถึงจะได้แบบนี้ แต่ว่า ไม่ได้มองลงไปในรายละเอียด ว่า "ได้แบบนี้" มันมีรายละเอียดยังไงแค่ไหน เพราะว่าต่อให้เป็น clone เว็บ ยังไงก็ไม่มีทางเหมือนได้ 100% ครับ และตรงนั้นแหล่ะ ก็อาจจะเอามาเป็นจุดขายได้ด้วย
การ clone เว็บให้สำเร็จ เหมือน 100% ไม่ได้แปลว่าจะ success นะครับ เมื่อหลายปีก่อน ผมเคยรับ clone เว็บใหญ่เว็บหนึ่งอยู่ (ตอนนั้นยังเด็กน้อยอยู่) ปรากฏว่า ปัจจุบัน ก็ไปไหนไม่ได้ไกลเท่าไร ไม่ได้ดังอย่างที่เค้าวาดฝันไว้ ทั้งๆที่ระบบทำงานได้ดีกว่า เร็วกว่าต้นฉบับ แต่ก็ยังไม่ปิดครับ (แต่เท่าที่มองๆ ก็น่าจะคุ้มทุนไปแล้ว) นี่คือ พ่อค้า
2.กลุ่ม ผู้พัฒนา
กลุ่มนี้ หลายคน แสดงให้เห็น ถึงความรู้ ความสามารถที่แสดงออกมาผ่านคำพูดได้เลย ทำให้รู้ว่า คนที่พูดนี้ ประสบการณ์มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ราคาที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องของ performance, scalability, price, infra, network เพราะว่า การที่เรามองว่า เรื่องนั้นไม่เกี่ยวกับฉัน คนอื่นต้องเป็นคน handle จุดนั้น โดยเฉพาะ นั่นสื่อถึงประสบการณ์ได้เป็นอย่างดี ตรงนี้ไม่ได้ตำหนิ แต่แค่อยากบอกว่า เมื่อเค้าพัฒนาตัวเองไปเรื่อย เค้าจะเข้าใจ ว่าคนอื่นเค้าพูดเรื่องอะไรกันอยู่ แต่ถ้ามีความคิดนี้ตลอดไป คนเหล่านี้จะไม่ไปไหนครับ เพราะคิดว่า นี่ไม่ใช่เรื่องของฉัน ฉันไม่ยุ่ง แต่ผลสุดท้ายที่ออกมา มันไม่ได้ตามนั้นจริงครับ
แต่ บางคนรู้เยอะจริง แต่ไม่เคยทำจริง ก็ต้องระวังนะครับ เพราะว่า คำพูดมันดูเหมือนการตลาดชวนเชื่อ บางคนพูดให้ระบบราคาหลักแสน กลายเป็นหลักล้านได้อย่างไม่ยาก (เจอมาแล้ว และลูกค้าก็พร้อมจะจ่ายด้วย) คนเหล่านี้ จะเพ้อเจ้อ คำพูดสวยหรู เหมือนฝัน เหมือนวิมาน แต่พอทำจริง วิมานพังทลาย หายไปเหลือแค่เศษซาก เหมือนเสา hope well ครับ เพราะเค้ามีทฤษฏีเยอะ อ่านเยอะ แต่ไม่เคยทำจริง จึงสามารถขายฝันให้เหมือนจริงได้นั่นเอง
แต่หลายคนก็พาออกนอกเรื่องไปได้เหมือนกันนะเนี่ย เพราะเอาจริงๆแล้ว เค้าเข้ามาถาม ราคาที่อยากได้แบบนี้ แต่โยงไปเรื่อง infra อะไรต่อมิอะไรไปเรื่อย
3.กลุ่มประชาชน
อันนี้ ก็เข้ามาดูแบบไม่ได้รู้เรื่อง ว่าเค้าคุยเรื่องอะไรกันเนี่ย
------------------------------------------------------------
สรุปคำถามนะครับ ขอตอบจากผู้ที่มีประสบการณ์ เคยคุยกับ ผู้ใช้ พ่อค้า ประชาชน และเข้าใจคนทุกกลุ่ม แนะนำให้ กลุ่มที่เป็นพ่อค้า หาคนที่ดีๆ ที่รู้เรื่องเหล่านี้สักคน มาเป็นที่ปรึกษา ถ้าไม่มั่นใจ ให้หามาสองคน แล้วตรวจสอบกันเอง หรือกลัวมาก 3 คนเลย (แต่มันเยอะไปนะ อันนี้คือ มีเงินทุนเยอะหน่อย และไม่รู้เลย ว่าใครตัวจริงตัวปลอม ถ้าพอรู้บ้างก็จะ clean ตรงนี้ไปได้) อย่าลืม ว่าคุณต้องการผลกำไร ดังนั้นเรื่องเหล่านี้ คือเรื่องที่ต้องลงทุน ไม่อย่างนั้น คนจะเจอผู้พัฒนาที่มาขายฝันและดูดเงินทุนไปอย่างหน้าตาเฉย โดยสุดท้ายแล้ว เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ก็คือ ไม่เสร็จ หรือเสร็จก็เสร็จแบบกากๆ ไม่เหมือนดังที่คิด ขอให้คุณ focus ไปในทาง business เหมือนเดิม เรื่องทาง technical ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของที่ปรึกษาครับ
แต่ถ้าคุณต้องการลดต้นทุน และต้องการป้องกันผลประโยชน์ไม่ให้สูญหายจากการขายฝันเหล่านี้ด้วย คุณจะต้องลงมาเรียนรู้ เรื่องพวกนี้ก่อน หลักสูตรฟรีและเสียเงินมีเยอะไป และพยายามคุยกับคนที่รู้เรื่องให้เยอะที่สุด คุยให้มากที่สุด บางคนเค้ายินดีให้คำแนะนำ เพียงแค่นัดเลี้ยงอาหารสักมื้อก็พอแล้ว (คือไม่ได้ว่าคนเหล่านั้นเห็นแก่กิน แต่หมายถึงคุยกันถูกคอ และเข้าใจกันก็พร้อมจะชี้แนะโดยไม่หวังผลกำไร) หลังจากที่รู้เรื่อง และเข้าใจมากพอแล้ว คุณก็ไปคุยกับผู้พัฒนา ทีนี้เวลาเค้าพูดอะไรมา คุณจะพอรู้แล้ว ว่าคนนี้ มามั่ว หรือมาจริง แต่ก็ยังต้องวัดกับพวกรู้มาก ไม่เคยทำจริงอยู่ดี อันนี้ก็แล้วแต่เวรกรรมที่ทำกันมาแล้วล่ะครับ
ดังนั้น เมื่อมาถึงจุดนี้แล้ว คุณจะรู้ด้วยตัวคุณเองเลย ว่า ราคาที่เหมาะควรเป็นเท่าไรครับ และที่แต่ละคนพูดมา เหมาะสมหรือไม่
คุณลองคิดง่ายๆ คนนึงพูดว่า 5000 บาท อีกคนพูดว่า 1 ล้านบาท คุณคิดว่า ทำไมมันถึงต่างกันได้ขนาดนั้น โจทย์เดียวกันแท้ๆ
ป.ล.ไม่ต้อง PM หาผมนะครับ ผมไม่รับงานนอกแล้วครับถ้าจะปรึกษานิดๆหน่อยๆ ทั่วๆไปไม่ลึกมาก ได้ครับ ไม่คิดเงิน แต่ถ้าให้ไปทำเว็บ แก้ไขเว็บ งดนะครับ ไม่รับแล้ว(ปัจจุบัน รับแต่งานจากคนที่สนิทๆเท่านั้น ซึ่งหมด project นี้ก็เลิกแล้วเหมือนกัน)
แสดงความคิดเห็น
เขียน Website แบบ pantip กี่บาทครับ
หาคนทำยากไหมครับ แล้วราคาประมาณกี่บาทครับ
หมายเหตุ มีประมาณ 6 ห้องย่อย
มีซื้อขายแบบ Pantip market
มีประกาศรับสมัครงาน
ขอบคุณมากครับ
อัพเดทครับ ผมตัดสินใจจ้าไปแล้วครับ 40000 บาท ขอบคุณทุกความเห็นครับ