กันชนหน้า-หลังออฟโรด อย่าใส่วิ่งในเมืองได้ไหม

กระทู้คำถาม
อยากให้ใส่ได้เฉพาะบางพื้นที่ จุดประสงค์ของมันเอามาใส่เพื่อลุยป่าไม่ใช่หรอครับ
กระบะแว้นล้อล้นยังผิดกฎหมายเลย รถพวกนี้เวลามีอุบัติเหตุรถคู่กรณีเสียหายมากกว่าเยอะมากๆ
อยากให้มีกฎหมายควบคุมบ้าง


สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
เห็นด้วยกับ จขกท. ครับ  ความจริงต้องมีมาตรฐานครับ ต่างประเทศมีการควบคุมเรื่องนี้ เพราะต้องปกป้องกรณีการชนคน (รวมถึงมอเตอร์ไซค์) ด้วย กันชนและกระโปรงหน้าจึงต้องมีการออกแบบให้ยุบตัวได้ระดับหนึ่ง  ควรมีการเรียกร้องให้ประเทศไทยมีมาตรฐานในเรื่องนี้ด้วย   เรายังไม่ถึงยุคโลกไร้อารยธรรมแบบ madmax ครับ ที่ต้องอยู่เพื่อเอาตัวรอดบนท้องถนน  ใครอ่อนแอก็ตายไป หรือประเทศไทยจะใกล้อยู่ในยุคนั้นแล้วก็ไม่รู้ 55

ในยุโรปมีการบังคับใช้มาตรฐานเกี่ยวกับการบังคับให้รถทุกคันต้องปกป้องการชนคนเดินถนนมาตั้งแต่ ปี 2009 แล้วครับ และผลการศึกษาก็พบว่าสามารถลดการบาดเจ็บหรือพิการจากอุบัติเหตุการโดนชนได้อย่างมีนัยสำคัญ  ส่วนประเทศไทยไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้เลย  ค่อนข้างน่าเศร้านะครับ
https://etsc.eu/pedestrian-protection/

เมื่อปี 1994 ในประเทศอังกฤษ มีการศึกษาวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุของการเสียชีวิตและบาดเจ็บร้ายแรงจากการถูกรถที่ติดตั้งกันชนเสริมชน (คนเดินเท้า จักรยาน และมอเตอร์ไซค์) โดยการสุ่มตรวจสอบข้อมูลในจำนวน 316 เคส  พบว่ามีกรณีที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตประมาณ 3 ราย และบาดเจ็บร้ายแรงจำนวน 40 ราย ที่เกิดจากการติดตั้งกันชนเสริม ซึ่งผลการศึกษาสรุปว่า หากไม่มีการติดตั้งกันชนเสริม จะลดเหตุการเสียชีวิตได้ร้อยละ 6 และลดการบาดเจ็บร้ายแรงลงได้ถึง ร้อยละ 21
https://web.archive.org/web/20160113071754/http://www.dft.gov.uk/rmd/project.asp?intProjectID=10328

บางคนบอกยุโรปเขาเจริญแล้ว งั้นลองมาประเทศใกล้ ๆ บ้านเรา อย่างอินเดียก็ได้มีการออกกฎหมายห้ามการติดตั้งกันชนเสริมสำหรับ SUV เมื่อปี 2017
รวมทั้งได้มีการออกหนังสือแจ้งเวียนให้เจ้าหน้าที่มีการตรวจตรามิให้มีการฝ่าฝืนอย่างเคร่งครัด  
โดยมีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่มีการกำหนดให้กันชนเสริมดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายไว้ 4 ข้อ คือ
1. ส่งผลให้ถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน
เนื่องจากบางครั้งมีการออกแบบที่ไม่สอดคล้องกับระบบเซ็นเซอร์นิรภัยของตัวรถ
ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่

2. ส่งผลต่อการดูดซับแรงกระแทกของรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
เนื่องจากโครงสร้างแชสซีส์รถในปัจจุบันผู้ผลิตได้ออกแบบตามข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่ต้องมีการดูดซับแรงกระแทกเพื่อลดการบาดเจ็บของผู้ขับขี่ที่จะได้รับจากแรงกระแทกขณะเกิดอุบัติเหตุ แต่เมื่อมีการติดตั้งกันชนเสริมที่เชื่อมกับโครงสร้างของลดจะทำให้มีโอกาศที่แรงกระแทกจะไม่ได้รับการดูดซับและส่งผลกระทบต่อการบาดเจ็บของผู้ขับขี่

3. ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงในกรณีชนคน (รวมถึงจักรยานและมอเตอร์ไซค์)
เนื่องจากการออกแบบรถปัจจุบันจะมีการออกแบบให้กันชนและฝากระโปรงมีมุมกระทบที่เกิดอันตรายน้อยที่สุด
รวมทั้งกันชนและฝากระโปรงก็จะออกแบบให้ยุบตัวได้ระดับหนึ่งเพื่อลดอาการบาดเจ็บเมื่อเกิดการชนคน (รวมถึงจักรยานและมอเตอร์ไซค์)  ส่วนกันชนเสริม
จะก่อให้เกิดผลในทางตรงกันข้าม จากที่ผู้ถูกชนได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยก็กลายเป็นพิการหรือเสียชีวิตได้

4. ก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและมลภาวะ
เนื่องจากน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นของกันชนเสริมที่ส่วนใหญ่ทำจากเหล็กทำให้เครื่องยนต์ต้องรับภาระหนักกว่าปกติ
และกินน้ำมันเพิ่มมากกว่าเดิม
https://www.drivespark.com/four-wheelers/2017/car-bumper-crash-guard-banned-indian-government-including-bull-bars-suvs-024499.html

เหตุผลข้างบนนี้ผมไม้ได้คิดเองนะครับ แต่ในประเทศที่เค้าคำนึงถึงความปลอดภัย จึงได้ตระหนักและมีการควบคุม
ส่วนกรมการขนส่งทางบกบ้านเรายังไม่ได้มองถึงความปลอดภัยในส่วนนี้ปัจจุบันกรมเองเลยมองว่าการติดตั้งกันชนในลักษณะนี้
ไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรเรียกร้องให้ราชการของบ้านเราต้องมองเรื่องพวกนี้มากขึ้น ไม่ใช้เฉพาะเรื่องกันชนที่เป็นส่วนหนึ่งของการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยเท่านั้นยังมีมาตรฐานอีกหลาย ๆ เรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและต่างประเทศมีการบังคับใช้กันมานานแล้ว แต่บ้านเรายังไม่มีใครสนใจ
ความคิดเห็นที่ 46
สายมุด สายปาด เดือดร้อนกันเป็นแถว คนที่ขับรถดีมีวินัย มีน้ำใจ ไม่เดือดร้อน
ถามหาประเทศที่เจริญแล้วเค้าทำแบบนู้นแบบนี้ ถามตัวเองก่อนหรือยัง ว่าตัวเองขับรถแบบไหน ผมขับเก๋งเตี้ย ไม่เคยเป็นเดือดเป็นร้อนอะไรเลย กลับมองว่า เค้าคงป้องกันรถที่เค้ารัก และป้องกันคนที่ขับรถไม่รู้ ยิ้ม รู้ Ted อะไร สักแต่ขับได้ขับเป็น อันตรายอยู่ที่ผู้ขับ ขับรถเดิมๆ ปาดซ้ายขวา ชนคนตายห่าไปเยอะแยะ เปิดดูข่าวมาหลายปี ก็เห็นรถเดิมๆ กันชนบางหวดคนตายห่าไปไม่รู้กี่ศพ
ปล.กันชนเหล็กมันน่ากลัว แต่ที่น่ากลัวสุดคือสันดานคนขับมากกว่า
ความคิดเห็นที่ 20
ตรรกะของคนที่โหยหาความเจริญ ที่ต้องการแก้ที่ต้นเหตุคือการไม่ไปชนเพียงอย่างเดียว แต่ปฏิเสธที่จะร่วมกันแก้ปัญหาที่ตอนกลางและปลายเหตุ เพียงแค่เพื่อจะยังคงสนองความต้องการของตัวอยู่

แต่ในที่ๆเขาเจริญแล้ว กลับรวมหัวกันคิดว่า
จะทำอย่างไรไม่ให้ชน
หากชนจะทำอย่างไรให้บาดเจ็บน้อยที่สุด  
เจ็บแล้วทำอย่างไรให้ถึงมือหมอเร็วที่สุด

แต่เรากับคิดสุดโต่งแค่ว่าอย่าให้มันชนซึ่งทั้งโลกใบนี้ไม่มีที่ไหนทำได้
ความคิดเห็นที่ 17
รถใส่กันชนเหล็ก ถ้าขับปรกติมันก็อยู่ของมันนะคะ มันไม่ได้พุ่งไปชนใครด้วยตัวเองนี่

รสนิยมการแต่งรถแต่ละคนมันไม่เหมือนกันค่ะ
ถ้ามีคนมาบอกว่าภรรยาคุณขี้เหร่จัง ทำไม่แต่งหน้าแบบคนนั้นคนนี้ เพราะเวลาคนอื่นมองจะได้สบายตา คุณจะโกรธมั๊ยคะ

ทำไมเราไม่มุ่งประเด็นไปที่การขับขี่ให้ถูกกฎจราจรล่ะคะ ทำไมคิดว่าการขับรถออกมาจากบ้าน ต้องพร้อมบวก หรือโดนบวกตลอดเวลาล่ะคะ

รถของใครอยากแต่งยังไงมันก็เรื่องของเขามั๊ยคะ เพียงแต่อย่าแต่งอะไรที่มันไปรบกวนเพื่อนร่วมทางก็พอ พวกไฟสีรุ้ง ดีเซลดันรางจนควันดำ
หรือพวกยกสูงมากๆจนเกะกะเพื่อนร่วมทางอันนั้นมันก็น่าด่าค่ะ
ความคิดเห็นที่ 27
เม่าอุ้มห่านเล่าจากประสพการณ์  ที่บ้านมี

Yaris สีๆ  อยู่คันหนึ่ง  ขับไปที่ไหน  ขับก็ไม่ช้าแต่เจอบีบแตรไล่  ยกไฟสูงไส่  เจอปาดหน้าเปลี่ยนเข้าเลนกระชั้นชิดประจำ  
             ชลอผ่านแยก  อีกด้านมาแบบไม่ชลอผ่านไปเลย  รถชอบมาขับเบียด  จี้ท้ายประจำ  และโดนบีบแตรใส่แบบไม่มีอะไรประจำ

พอเป็น Vigo ดำ  กันชนหน้าหลังแบบต้นกระทู้  Sidebar  ยางตะขาบ    แต่ง OffRoad  เต็มที่  ไปไหนมีแต่คนเกรงใจ
                       ไม่มีใครมาบีบแตรใส่  อยู่บนถนนมีแต่คนขับห่างๆ  ไม่ค่อยมีใครมาเบียดแทรก  เวลาถึงแยกวัดใจ  มีแต่คนให้ไปก่อน
                       เพราะกันชนหน้า-หลังมีแต่สีและรอยขูดขีด(ผมขับขูดตามสถานที่จอดเป็นประจำ)

ก็สังคมการขับรถในเมืองไทยมันเป็นแบบไหนละคิดดู
เพี้ยนหัวเราะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่