Eco-Cooler พัดลมไอเย็นไร้ไฟฟ้า

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Eco-Cooler: The Zero Electricity Air Cooler







ในหลายประเทศการมีไฟฟ้าใช้เป็นเรื่องยาก
พอ ๆ กับการทำให้บ้านเย็นลงยิ่งเป็นไปไม่ได้
นั่นหมายความว่า
ชาวบ้านที่ยากจนไม่มีไฟฟ้าใช้หรือจ่ายค่าไฟฟ้าไม่ได้
ไม่มีทางหนีความร้อนจากแสงแดด

แต่มีนวัตกรรมที่แก้ไขปัญหาเรื่องนี้
Eco Cooler ใช้ขวดน้ำพลาสติดใช้แล้วขนาด 2 ลิตร
และหลักการพลศาสตร์ของเหลว Fluid Dynamics  https://goo.gl/FZRko7
ที่ทำให้พื้นที่เย็นลงได้ถึง  5 องศา Celcius
ได้สร้างความแตกต่างอย่างแรง
ให้กับชาวบ้านที่ไม่มีพัดลมไอเย็นใช้ในบ้าน








Eco Cooler ได้ชื่อว่า พัดลมไอเย็นไร้ไฟฟ้าเครื่องแรกของโลก
Eco-Cooler – the world’s first-ever zero electricity air cooler
Ashis Paul  คือ ผู้ประดิษฐ์ที่มีแนวคิดจิตอาสา
คิดจะช่วยคนจำนวนมากเท่าที่จะช่วยได้
จึงเกิดการร่วมมือจากหน่วยงาน 3 แห่ง
ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติเป็นที่รู้จักกันดีมี
Intel, Garmeen และ Grey Group

Grey Group บริษัทโฆษณาระดับนานาชาติ
ได้เริ่มลงมือช่วยเหลือในเรื่องนี้ http://goo.gl/hfFpIV
โดยทำต้นแบบจำลอง Phototype ขึ้นมาจนใช้งานได้
ก่อนช่วยเผยแพร่โครงการนี้ทางออนไลน์
เพื่อให้คนจำนวนมากสามารถสร้าง Eco Cooler ด้วยตนเอง

Intel ผู้ผลิต Chip รายใหญ่ระดับโลก
ร่วมมือตั้งบริษัทเพื่อสังคมร่วมกับ
Garmeen Bank ธนาคารคนจน/คนรากหญ้า
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนจน/คนรากหญ้าในบังคลาเทศ



อาสาสมัครจาก Grameen Intel Social Business  http://goo.gl/JcOLbz
ก็ได้มาช่วยเหลือและติดตั้ง Eco-Cooler
ให้กับชาวบ้านไปแล้วกว่า 25,000 หลังคาเรือน
โดยร่วมมือกับชาวบ้านและสอนชาวบ้านทีละขึ้นทีละตอน
รวมทั้งให้ชาวบ้านบังคลาเทศช่วยกันลงมือทำ
เพื่อมอบให้กับชาวบ้านอีกจำนวนมากต่อไป
ตอนนี้มีการติดตั้งแล้วในหมู่บ้าน  Nilphamari
Daulatdia  Paturia Modonhati และ Khaleya
และเริ่มขยายตัวไปทั่วทั้ง Bangladesh

วิธีการของ Eco Cooler เรียบง่ายมากจากมุมมองการสร้าง
โดยใช้แผ่นไม้กระดานที่ตัดให้พอดีกับช่องหน้าต่าง
แล้วเจาะรูจำนวนมากหลายรูในแผ่นตาราง
เพื่อให้สอดปากขวดน้ำพลาสติคใช้แล้ว
ที่ตัดด้านล่างออกเป็นรูปกรวยจำนวนหลายใบ
สอดปากขวดเข้าไปในแผ่นไม้กระดานตามแบบพิมพ์เขียว
ส่วนด้านกว้างของขวดน้ำที่อากาศไหลผ่าน
จะถูกบีบ/รีดอากาศให้ไหลเร็วขึ้นตอนผ่านปากขวด
ทำให้อากาศเย็นไหลเข้าสู่ด้านในบ้าน








ประสิทธิภาพของ Eco Cooler
ขึ้นกับสภาพแวดล้อม/เงื่อนไขที่แตกต่างกัน

แต่ Grey Group ได้รายงานว่า
ในพื้นที่บางแห่งสามารถลดอุณหภูมิความร้อน
ในที่ร่มมากกว่า 5 องศา Celsius
พอ ๆ กับพัดลมไอเย็นที่ใช้ไฟฟ้าทำงาน
จาก 113F (45C) ลงไปต่ำกว่า 104F (40C)
ทำให้ชาวบ้านกว่าร้อยละ  70 ที่อยู่ในกระต๊อบ
ที่มักจะสร้างด้วยสังกะสี/แผ่นเหล็กเคลือบดีบุก
ที่อบอ้าวไปด้วยความร้อนจากแสงแดด
จะได้รับอากาศที่เย็นกว่าเดิมในฤดูร้อน

แบบบ้านคนจน/คนงานก่อสร้างในไทย
ที่สร้างกันแบบง่าย ๆ ลวก ๆ
สะดวกในการสร้าง/รื้อถอนในวันหลัง
จึงไม่มีช่องระบายอากาศ/ความร้อน
แบบบ้านในยุคใหม่ที่มีการสร้างอย่างดี

“ คอขวดพลาสติค ช่วยในการรีดอากาศ
ทำให้อากาศร้อนที่ไหลผ่านขวดอย่างรวดเร็ว
เมื่อผ่านคอขวดที่มีขนาดเล็กอากาศก็จะเย็นลง
ด้วยวิธีการแบบง่าย ๆ ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า

แต่จะไม่ได้ผลในวันที่ลมสงบ/นิ่ง

แต่ถ้าเริ่มมีกระแสลมพัดผ่าน
มันก็จะเริ่มทำงานขึ้นทันทีเช่นกัน








" เราอยู่ในประเทศที่น้ำท่วมเป็นประจำ
ตามชนบทใน Bangladesh
ชาวบ้านส่วนใหญ่มักจะสร้างบ้านด้วย
สังกะสี/แผ่นเหล็กเคลือบดีบุก
แทนการสร้างจากดินโคลน
ทำให้ชาวบ้าน Bangladesh กว่าร้อยละ  70%
ร้อนเหลือทนในช่วงฤดูร้อน
ยิ่งในแถบภาคเหนือและตอนกลางของประเทศ
มันเหมือนกับซาวน่าในทะเลทรายซาฮาร่า "

Ashis Paul นักประดิษฐ์ที่คิดเกี่ยวกับเรื่องนี้
แล้วฉุกคิดขึ้นมาได้ในวันหนึ่งเมื่อได้ยิน
ครูสอนพิเศษเรื่องฟิสิกส์ให้กับลูกสาวว่า
อากาศจะเย็นลงเมื่อมันเคลื่อนที่ผ่านอย่างรวดเร็ว
ความเป็นนักประดิษฐ์ที่สนใจเรื่องวิทยาศาสตร์
จึงได้เริ่มต้นทดลองทำตามแนวคิดดังกล่าว



Ashis Paul ผู้ประดิษฐ์ Eco cooler


อากาศจะเย็นลงเมื่อมันเคลื่อนที่ผ่านอย่างรวดเร็ว
ตามกฎของ Joule–Thomson effect  https://goo.gl/DDkUz9
ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก Thermodynamics  https://goo.gl/KDfHIW

Credit : แมวขี้เซา http://pantip.com/topic/35257904/comment27




Grey Group ได้ตัดสินใจร่วมมือในโครงการนี้
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเพื่อสังคม pro-bono project
ซึ่งเป็นพันธกิจหลักของบริษัท
ด้วยการสร้างต้นแบบจำลอง Phototype
แบบนี้ขึ้นมาในเดือนมีนาคม ปีที่แล้ว
และสามารถใช้งานได้จริงในกุมภาพันธ์ ปีนี้
ซึ่งทันใช้กับฤดูร้อนใน Bangladesh พอดี

“ บนท้องถนนต่างมีขวดน้ำพลาสติคทิ้งเพ่นพ่าน
จึงกลายเป็นวัตถุดิบที่นำมาใช้ได้ง่าย ๆ
เพราะชาวบ้านต่างไม่ค่อยนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง ”

ในการเผยแพร่ Eco-Coolers
ได้มีการตั้งทีมงานร่วมกับ  
Grameen Intel Social Business Ltd
เพราะพวกเขาทำงานอยู่ในหลายหมู่บ้านใน Bangladesh
Grameen Intel คือ รูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม
ที่เป็นพันธมิตรระหว่าง NGO Grameen กับบรรษัท Intel
ทีมงาน Grameen Intel ต่างไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ
ร่วมมือทำงานร่วมกับชาวบ้าน
เพื่อสอนวิธีการสร้าง  Eco-Coolers ทีละขั้นทีละตอน
เรื่องที่ดีก็คือ มันฟรีและชาวบ้านได้ใช้งานทันที




Grameen Intel Social Business
เป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่ตั้งขึ้นโดย
Craig Barrett ประธาน Intel
ที่ได้พบกับ Muhammad Yunus
ผู้ได้รับรางวัล Noble ในปี 2006/2549
ในเรื่องธนาคารคนจน/คนรากหญ้า
ทั้งคู่ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทนี้ขึ้นมาในปี 2007/2550
โดยเน้นหนักไปที่เทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ยากไร้
ด้วยบริการต่าง ๆ สำหรับชุมชนในท้องถิ่น





เรียบเรียง/ที่มา

http://goo.gl/yjQof4
http://goo.gl/JcOLbz
http://goo.gl/BGtuD3
http://goo.gl/hfFpIV
http://goo.gl/7hsBDK




Download  แบบพิมพ์เขียว  http://goo.gl/2Embd5









เพิ่มเติม  ไฟฟ้าจากขวดพลาสติคใช้แล้ว Liter of Light

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Philippines: Plastic Bottles go Solar | Global 3000


นวัตกรรมนี้คิดค้นโดย  Alfredo Moser ชาว Brazil ในปี 2002/2545
แต่มีการเผยแพร่และนำไปใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
ด้วยการรณรงค์จาก Illac Diaz ชาว Philippine
ที่เริ่มต้นด้วยแรงกายแรงใจและทุนส่วนตัว
ก่อนที่จะขอรับเงินสนับสนุนในการเริ่มโครงการในปี 2011/2554
เพื่อนำไปติดตั้งตามชุมชนแออัด/สลัมต่าง ๆ ในฟิลิปปินส์
ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้งานหรือถ้ามีก็ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงมาก
มีการติดตั้งไปแล้วมากกว่าหลายล้านหลังคาเรือนกว่า 20 จังหวัดฟิลิปปินส์

ทั้งนี้ยังมีการใช้งานที่ อาร์เยนติน่า บังคลาเทศ บราซิล โคลอมเบีย อียิปต์ อินเดีย
เคนย่า มาเลย์ เม็กซิโก เนปาล ปากีสถาน เปรู แทนซาเนีย อูกานด้า
และเริ่มเป็นที่นิยมใช้งานกันใน ฝรั่งเศส สวิส สหรัฐฯ เนเธอแลนด์ สเปญ
เพราะช่วยอนุรักษ์สภาพแวดล้อม/เป็นการ Recycle



ขวดน้ำใสที่ใช้แล้วขนาดยอดนิยมคือขนาด 1.5 ลิตร
จะมีอายุใช้งานราว 5 ปีก่อนเปลี่ยนขวดใหม่
และให้ความสว่างพอ ๆ กับหลอดไฟขนาด 40-60 วัตต์
ขึ้นกับแสงแดดที่ส่องผ่านขวดน้ำในแต่ละวัน/ช่วงเวลา

ตอนนี้มีการพัฒนาใส่หลอด Led  ขนาดเล็กไว้ในขวด
แล้วใช้โซล่าเซลล์ชาร์ตไฟฟ้าเก็บไว้ในแบตเตอรี่
เพื่อให้จ่ายแสงสว่างในเวลากลางคืนให้กับชาวบ้านได้

เรียบเรียง/ที่มา

https://goo.gl/P4FGBt
http://goo.gl/pYDcJ6
http://goo.gl/i4Ou62
http://goo.gl/aW2n6L






เรือนเพาะะชำในเมืองหนาว http://goo.gl/ABiSeQ
มีการสร้างตั้งแต่ปี 1800/2343 แต่ค่อย ๆ เลือนหายไป
จนกระทั่งมีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
ให้อากาศเย็นในฤดูร้อน ให้อากาศอบอุ่นในฤดูหนาว



Underground Greenhouse ที่มา/รวมภาพจาก  https://goo.gl/uA7sh8



ตู้เย็นรักษาผักผลไม้ในเมืองหนาว  http://goo.gl/cIf1yE




เรื่องเล่าไร้สาระ

ในบังคลาเทศมีชาวพุทธราว 1 ล้านคน 0.6%
จัดว่าเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศที่มีชาวมุสลิมถึง 86.6%
จากจำนวนประชากรรวม 177,700,000 คน https://goo.gl/LBu65M
แต่ข้อมูลพระภิกษุบังคลาเทศ
ประมาณการว่ามีชาวพุทธถึง 15 ล้านคน 8.4%
แต่ชาวพุทธส่วนมากมักจะไม่กล้าแสดงตัวตน
เพราะเกรงว่าชาวมุสลิมจะมีปัญหากระทบกระทั่ง

ในหนังสือ ธนาคารคนจน/คนรากหญ้า
ของ Muhammad Yunus ก็เคยเขียนไว้ว่า
ในเขตที่สตรียังเคร่งครัดต่อหลักการศาสนาอิสลาม
จะส่งสตรีชาวพุทธเข้าไปติดต่อในเรื่องการกู้ยืมเงิน
และการแนะนำในเรื่องต่าง ๆ เพราะทำงานคล่องตัวกว่า

Upannya Jota Thera (উ পঞ্ঞা জোত থের)
อูปัญญา โยธา เถระ  (อู=คนสูงอายุ/คนควรเคารพ)
ประธานพระภิกษุ โลกาพุทธศาสนาเสวกสังฆะ  (เสวก=ผู้รับใช้)
Chief Priest of The World Buddha Sasana Sevak Sangha

รัฐบาลบังคลาเทศให้เกียรติท่าน
กับอำนวยความสะดวกให้กับท่านเป็นอย่างมาก
ในปี 2555 มีเหตุชาวมุสลิม ฆ่าเณร พระภิกษุ/ชาวพุทธ
แล้วเผาทำลายบ้าน/วัดวาอาราม
ท่านได้รับนิมนต์จากทางการให้ไปสงบศึกในครั้งนั้น
ทำให้เรื่องเลวร้ายยุติลงโดยเร็ว
ด้วยหลักธรรมคำสอนพุทธศาสนา

ในอดีตช่วงวัยรุ่นท่านไว้ผมยาว เป็นพวกกบฎต่อสังคม ขับรถจักรยานยนต์ซิ่ง
ก่อนบวชเรียนท่านสำเร็จการศึกษา LL.B(Hons.) LL.M (University of Dhaka)
BCS (Bangladesh Civil Service) Former Senior Assistant Judge



Facebook : https://goo.gl/jw29JN

เรื่องเดิม พระพุทธศาสนาในบังคลาเทศ

http://goo.gl/GFnJdq
http://goo.gl/JgFTjp
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่