อำนาจอธิปไตย ของปวงชนทั้งหลาย ที่เป็นสิทธิอำนาจตุลาการ

ความจำเป็นในการใช้ อำนาจตุลาการ ที่มาจากการรวมสิทธิอำนาจของปวงชนทั้งหลาย และบัญญัติเอาไว้ในสัญญาประชาคม (รธน.) ก็เพื่อการร่วมถ่วงดุลย์บริหารสังคมโดยหลักการของ “การหาข้อยุติโดยธรรม” หรือที่เรียกว่า “กระบวนการยุติธรรม” นั่นเอง การที่ปวงชนทั้งหลายยินยอมและยอมรับ วิธีการปฎิบัติ ในการหาข้อยุติโดยธรรม จากผู้ที่ได้สิทธิการใช้อำนาจตุลาการ บังเกิดขึ้นโดย ข้อจำกัดที่บัญญัติถึง ด้วยความเป็นธรรมและยุติธรรมในการพิจารณาอรรถคดีที่อยู่ในกรอบของ “วิธีการพิจารณาอรรถคดีโดยเฉพาะนั้นๆ” เป็นหลักสำคัญ อันก็หมายถึงว่า คำพิจารณาใดๆ ของผู้ใช้สิทธิอำนาจตุลาการ จะวิจารณ์หรือปฎิเสธมิได้ตราบใดที่อำนาจนี้เป็นไปตามวิธีการพิจารณาอรรถ์คดีที่ระบุเป็นข้อบัญญัติในหมวดของกรอบการใช้สิทธิอำนาจตุลาการ นั่นเอง ครับ

พื้นฐานของอำนาจตุลาการ นั้นแบ่งออกโดย “วิธีการหาข้อยุติโดยธรรมหลัก” เป็น สาม ลักษณะด้วยกัน

๑.) ลักษณะโดยวิธีการ “หาข้อยุติโดยธรรมด้วยการตีความในอรรถคดีหรือกรณีนั้นๆ” หรือที่เรียกกันว่า เป็นลักษณะ “อนุญาโตตุลาการ” สำหรับ อรรถคดีที่เป็นกรณี สัญญาประชาคม (รธน.) ในรูปบทบัญญัติและกฎหมายประกอบนั้นๆ ก็จะมีสิทธิอำนาจตุลาการ ตามกระบวนการพิจารณาเฉพาะถึงความถูกต้องและขัดหรือแย้ง โดยยึดหลักการของการใช้ดุลย์พินิจตีความนั้นๆ ถือเป็นเจตนารณ์ของเจ้าของอำนาจอธิปไตย แต่ไม่มีสิทธิอำนาจใดๆ ในการพิพากษาอรรถคดี หรือไม่มีสิทธิอำนาจเต็มรูปแบบในฐานะ ผู้พิพากษา (ศาล) นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ คำพิจารณาตีความที่ยึดพื้นฐานการพิจารณามาจาก เจตนารมณ์ของปวงชนทั้งหลาย ในกรณีเห็นต่างจากการใช้อำนาจตุลาการในการตีความหมายจากผู้เป็นเจ้าของสิทธิอำนาจและผู้จ้างวานมีสิทธิอันชอบธรรมที่สามารถวิจารณ์ หรือเรียกร้องความรับผิดชอบตามกรรมนั้นๆ ได้ ครับ

๒.) ลักษณะโดยวิธีการ “ใกล่เกลี่ยที่เป็นข้อยุติโดยธรรมในอรรถคดีหรือกรณีนั้นๆ” หรือที่เรียกกันว่า เป็นลักษณะ “ศาลในคดีแพ่ง” โดยมีหลักวิธีการพิพากษาข้อพิพาทต่างๆ ที่บังเกิดขึ้นโดยสนธิสัญญา หรือข้อผูกพันธ์นั้นๆ ตามสัญญาประชาคม (รธน.) และกฎหมายประกอบทั้งหลาย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อยุติโดยธรรมกับคู่กรณี โดยยึดหลักการของการใช้ดุลย์ในการพิพากษาโดยลักษณะใกล่เกลี่ยการใช้ การเพิกถอน หรือชดเชยสิทธิอำนาจของคู่กรณี ที่เป็นข้อยุติได้เท่านั้น ในอำนาจตุลาการ “ศาลในคดีแพ่ง” มีสิทธิอำนาจเต็มรูปแบบในฐานะ ผู้พิพากษา (ศาล) แต่เฉพาะการพิพากษาในอรรถคดีแพ่ง (คดีใกล่เกลี่ย) ครับ

๓.) ลักษณะโดยวิธีการ “พิพากษาใช้มาตราการลงอาญาในอรรถคดีนั้นให้เป็นข้อยุติโดยธรรม” หรือที่เรียกกันว่า “ศาลในคดีอาญา” โดยมีหลักวิธีการพิพากษาอรรถคดีต่างๆ เพื่อหาข้อยุติโดยธรรม มิเพียงแต่กรอบที่บัญญัติการกระทำต้องห้าม ตาม สัญญาประชาคม (รธน.) และกฎหมายประกอบ (กฎหมายอาญา) เท่านั้น ยังต้องมีกระบวนการเฉพาะเพื่อให้ความเป็นธรรมและโปร่งใสกับคู่กรณี ระหว่าง ผู้กล่าวหา (อัยการ หรือ ทนายแผ่นดิน) และผู้ถูกกล่าวหา (จำเลย หรือผู้ต้องสงใสคดีอาญา) พร้อมกันไปด้วย ฉนั้นการใช้ดุลย์พินิจในการพิพากษาในอรรถคดีอาญา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาข้อยุติโดยธรรมใน สอง กรณีคือ การกระทำหรือให้บังเกิดเป็นคดีอาญา และการใช้มาตราการลงอาญาด้วยสิทธิอำนาจตุลาการ อันอำนาจตุลาการ “ศาลในคดีอาญา” มีสิทธิอำนาจเต็มรูปแบบในฐานะ ผู้พิพากษา (ศาล) แต่เฉพาะการพิพากษาในอรรถคดีอาญา (คดีลงอาญาโดยธรรม) ครับ

ลักษณะของอำนาจตุลาการ ที่อยู่ในส่วนของ อนุญาโตตุลาการ อันเป็นเพียงการใช้ “ดุลย์พิจารณา ตีความ” เป็นที่สิ้นสุดอย่างเป็นกลางหรือเป็นมาตราฐาน ในความเข้าใจแตกต่างของคู่กรณีตามอรรถคดีนั้นๆ คำพิจารณาของอนุญาโตตุลาการจึงสามารถเป็นข้อยุติโดยธรรมในขั้นพิจารณาขั้นเดียวได้โดยทันที หรือเรียกว่า เป็นที่สิ้นสุด อันต่างกับการใช้ “ดุลย์พินิจในการพิพากษา” ในอรรถคดี แพ่งและอาญา เพราะเป็นการใช้ดุลย์พินิจเพื่อหาข้อยุติโดยธรรมต่อคู่คดี หรือคู่กรณี เป็นเหตุให้ต้องมีกระบวนการพิพากษาอรรถคดีกระบวมการตรวจสอบการใช้ดุลย์พินิจกับคำพิพากษาในตัวเอง ครับ  

อันแบ่งตามระดับของคำพิพากษาออกเป็น สามระดับ คือ คำพิพากษาในศาลชั้นต้น คือการใช้ดุลย์พินิจโดยได้มาจากการตรวจสอบข้อมูลพยานหลักฐานของอรรถคดีหรือกรณีพิพาทนั้นๆ คำพิพากษาในศาลอุทรณ์ คือการใช้ดุลย์พินิจที่ได้มาจากการตรวจสอบข้อมูลพยานหลักฐานใหม่รวมกับที่ปรากฏอยู่ในศาลชั้นต้น และคำพิพากษาในศาลฎีกา คือการใช้ดุลย์พินิจโดยตรวจสอบความถูกต้องในการพิพากษาตามกฎหมายของอรรถคดีหรือกรณีพิพาทนั้นๆ ตามกรอบวิธีพิพากษาอรรถคดีนั้นๆ (แพ่ง หรือ อาญา) โดยคำพิพากษาระดับศาลชั้นต้น คือจุดเริ่มต้น และระดับศาลฎีกาคือจุดสิ้นสุดของกระบวนการ อันไม่สามารถรวบรัดระดับขั้นตอนได้ ครับ

ฉนั้นถ้าบทบัญญัติของ ร่าง รธน. ในหมวดที่เกี่ยวข้องกับ อำนาจตุลาการ โดยที่จะให้มีการ “ลงประชามติ” ในฐานะ สัญญาประชาคม หรือกฎหมายสูงสุดของประเทศ เพื่อให้บังเกิดการสมยอมมอบสิทธิอำนาจอธิปไตยอันนี้นำไปใช้ได้ “กลุ่มผู้ร่าง รธน. ทั้งหลาย” ควรทำความเข้าใจถึงกรอบอำนาจอธิปไตยและรวมถึงเจตนารมณ์อันนี้ ที่เป็นของปวงชนทั้งหลาย โดยจำเป็นต้องเป็นเนื้อหาที่ระบุเป็นบทบัญญัติใน รธน. แต่ถ้าในเนื้อหาที่เป็นบทบัญญัติ ไม่เป็นไปตามลักษณะที่อ้างมานี้ ก็ย่อมหมายถึงว่า อำนาจตุลาการ ใน รธน. มิใช่เป็นสิทธิอำนาจอธิปไตยและเจตนารมณ์ของปวงชนทั้งหลาย อันก็เป็นความชอบธรรมที่ผู้เป็นเจ้าของ จะสามารถสงวนการให้ประชามติ ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่