ในอนาคตอาจต้องมีการจัดระดับความเสี่ยงในการลงทุนใหม่สำหรับกองทุนที่มีธนาคารค้ำประกัน

กระทู้สนทนา
จากข้อมูลของ กลต.  การค้ำประกันรายได้ของธนาคารถือเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าไม่มีการค้ำประกันตามนี้


http://capital.sec.or.th/webapp/nrs/data/5777a2.doc

9. การค้ำประกันรายได้ และความสามารถของผู้ค้ำประกันในการปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกัน เช่น การจัดให้มีหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่มีอายุ
การค้ำประกันและวงเงินครอบคลุมตลอดระยะเวลาค้ำประกัน (เช่น ระยะเวลาค้ำประกัน 3 ปี  อายุหนังสือธนาคาร 3 ปี วงเงินเท่ากับผลรวมของรายได้ที่
ค้ำประกันตลอด 3 ปี) จะมีความเสี่ยงต่ำกว่าหนังสือค้ำประกันแบบปีต่อปี

แต่ปัจจุบันการค้ำประกันรายได้ของธนาคาร อาจไม่ได้ช่วยให้ความเสี่ยงลดลง เพราะ ล่าสุด กองทุน sbpf ที่มีธนาคารของรัฐค้ำประกันรายได้ออกมาปฏิเสธการจ่ายเงินตามที่ค้ำประกันไว้จนทำให้ผู้ตรวจสอบบัญชีขอให้กองทุนตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หรือเป็น npl ทั้งจำนวน

http://www.settrade.com/NewsEngineTXTDisplay.jsp?fp=/simsImg/news/2015/15050696.t15&tk=5e0c1f7b948dc88825bc6abee48f0cc7&q=Y

หนังสือบางส่วนที่เปิดเผย

2.       ตามที่ผู้เช่าของกองทุนผิดนัดการชำระค่าเช่า
และกองทุนอยู่ระหว่างบังคับหลักประกันตามหนังสือค้ำประกัน ที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน
67 ล้านบาท กองทุนจึงได้สำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้เป็นจำนวน 71.24 ล้านบาท
ซึ่งเป็นค่าเช่าค้างรับและดอกเบี้ยค้างรับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึง 4 เมษายน 2558

แบบนี้จะมีหนังสือค้ำประกันธนาคารเพื่อลดความเสี่ยงตามเกณฑ์ของ กลต.ทำไมครับ เพราะไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงให้กับผู้ลงทุนในกองทุนรวมเลย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่