ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “ชิริก” หรือ “การสร้างภาคี” ในศาสนาอิสลามคืออะไร?

เรามักจะได้ ยินว่า “ชิริก” หรือ “การสร้างภาคี” ว่า มีอยู่ สองชนิด คือ  ขิริก เล็กและชิริกใหญ่ แต่สำหรับความเข้าใจของผม การทำชิริก หรือ การสร้างภาคี ต่ออัลลอฮ์ไม่ว่า จะเล็กหรือใหญ่มันก็เป็นสิ่งเดียวกัน  แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้เรามาพิจารราดูว่า  “ชิริก” หรือ “การสร้างภาคี” ในศาสนาอิสลามมีอะไรบ้าง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่มุสลิมทุกๆคนจะต้องเข้าใจ

   ผมแยกคำอธิบาย ในเรื่องนี้ มาตั้งเป็นกระทู้ ต่างหาก เนื่องจาก ว่า เมื่อ ทำดังนี้ จะมีสาระดีกว่า การไปถกเถียงกับอาจารย์ฮุไซนี, ทั้งนี้เพราะว่า อาจารย์ฮุไซนีมองทุกๆความคิดที่ไม่ตรงกับความรู้ความเข้าใจของท่าน ว่าผิดหมด ถ้าความรู้และแนวความคิดนั้นไม่ตรงกับ ความเข้าใจของคนอรับเมื่อ พันกว่าปีมาแล้ว และผมเห็นว่าการอธิบายของผมในเรื่องนี้ไม่ควรอยู่ภายใต้หัวข้อกระทู้ที่เหลวไหลและ มีความเชื่อที่ผิดไปจากหลักการความศรัทธาต่อพระเจ้าองค์เดียวของศาสนาอิสลาม

   หนึ่งในภาระหน้าที่ ที่สำคัญที่สุดของมุสลิมคือการรู้จักและเข้าใจความหมายของคำว่า “ชิริก” หรือ “การสร้างภาคี” ต่อ อัลลอฮ์, ความสำคัญอย่างสูงสุดและชนิดที่แตกต่างกันของการกระทำที่เรียกว่า “ชิริก” หรือ “การสร้างภาคี”, เพื่อที่ว่า ความเชื่อในเอกภาพของอัลลอฮ์ที่ถูกต้อง จะทำให้ศาสนาอิสลามสมบูรณ์และมีความศรัทธาที่มั่นคง, เพื่อเราจะได้กล่าวได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า,พระองค์ฮัลลอฮ์คือพละกำลังแห่งความศรัทธาที่มั่นคง, และ แนวทางที่แท้จริงมาจากพระองค์อัลลอฮ์เท่านั้น,และเป็นที่ทราบอย่างแน่ชัดว่าพระองค์อัลลออ์เท่านั้นที่ทรงนำทางให้แก่มวลมนุษย์ผู้ศรัทธาต่อพระองค์

    คำว่า شرك‎  ชีริก, หมายถึงการนำเข้ามาเป็นหุ้นส่วน หรือ การสร้างภาคี, หรือนำผู้หนึ่งผู้ใดเข้ามาเป็นภาคีซึ่งกันและกัน, หรือแสดงให้เห็นว่าบุคคลสองคนอยู่ในสถานะที่เทียบเท่ากัน,หรือนำผู้หนึ่งผู้ใดเข้ามาร่วมในกิจการเดียวกัน อัลกุรอาน บัญญัติไว้ว่า

الَّذِي جَعَلَ لَكُمُ الْأَرْضَ فِرَاشًا وَالسَّمَاءَ بِنَاءً وَأَنْزَلَ مِنَ السَّمَاءِ مَاءً فَأَخْرَجَ بِهِ مِنَ الثَّمَرَاتِ رِزْقًا لَكُمْ ۖ فَلَا تَجْعَلُوا لِلَّهِ أَنْدَادًا وَأَنْتُمْ تَعْلَمُونَ
พระผู้ทรงบันดาลแผ่นดินสำหรับพวกเจ้าให้เป็นพื้นราบ และชั้นฟ้าเป็นหลังคาและทรงนำน้ำลงมาจากฟ้า และด้วยน้ำนั้นทรงบันดาลให้ผลไม้ต่าง ๆ งอกเงยออกมา เป็นเครื่องยังชีพสำหรับพวกเจ้า ดังนั้น ก็จงอย่าอุปโลกน์สิ่งใดเคียงคู่กับอัลลอฮฺ ในเมื่อพวกเจ้ารู้ดีแล้ว{2:22}

وَمِنَ النَّاسِ مَنْ يَتَّخِذُ مِنْ دُونِ اللَّهِ أَنْدَادًا يُحِبُّونَهُمْ كَحُبِّ اللَّهِ ۖ وَالَّذِينَ آمَنُوا أَشَدُّ حُبًّا لِلَّهِ ۗ وَلَوْ يَرَى الَّذِينَ ظَلَمُوا إِذْ يَرَوْنَ الْعَذَابَ أَنَّ الْقُوَّةَ لِلَّهِ جَمِيعًا وَأَنَّ اللَّهَ شَدِيدُ الْعَذَابِ
และในหมุ่มนุษย์นั้น มีผู้ที่ยึดถือบรรดาภาคี อื่นๆนอกจากอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขารักภาคีเหล่านั้น เช่นเดียวกับรักอัลลอฮฺ แต่บรรดาผู้มีศรัทธานั้น เป็นผู้ที่รักอัลลอฮฺมากยิ่งกว่า และหากบรรดาผู้อธรรมนั้นเห็น - ขณะที่พวกเขาเห็นการลงโทษอยู่นั้น ก็จะเห็นว่าอำนาจทั้งมวลเป็นของอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺทรงเป็นพระผู้ทรงรุนแรงในการลงโทษ{2:165}

وَجَعَلُوا لِلَّهِ أَنْدَادًا لِيُضِلُّوا عَنْ سَبِيلِهِ ۗ قُلْ تَمَتَّعُوا فَإِنَّ مَصِيرَكُمْ إِلَى النَّارِ
และพวกเขาได้ตั้งภาคีคู่เคียงกับอัลลอฮฺ เพื่อให้พวกเขาหลงทางของพระองค์ จงกล่าวเถิด "พวกเจ้าจงร่าเริงกันเถิด เพราะแท้จริงทางกลับของพวกเจ้าย่อมไปสู่เพลิงนรก"{14:30}

การกำหนดยกย่อง สถานะภาพ, คุณสมบัติ ที่ควรจะเป็นของอัลลอฮ์เท่านั้นให้แก่ผู้อื่นหรือวัตถุอื่นใด,สิ่งเหล่านี้ได้แก่ คุณลักษณะต่างๆของอัลลอฮ์ที่มี กำหนดไว้ในอัลกุรอาน คุณานุภาพ 99 ประการ “อัสมะอุลฮุสนะ”  http://asmaulhusna.com/  อัลกุรอานบัญญัติไว้ว่า

وَلِلَّهِ الْأَسْمَاءُ الْحُسْنَىٰ فَادْعُوهُ بِهَا ۖ وَذَرُوا الَّذِينَ يُلْحِدُونَ فِي أَسْمَائِهِ ۚ سَيُجْزَوْنَ مَا كَانُوا يَعْمَلُونَ
และอัลลอฮฺนั้นมีบรรดาพระนามอันสวยงาม ดังนั้นพวกเจ้าจงเรียกพระองค์ด้วยพระนามเหล่านั้นเถิด และจงปล่อยบรรดาผู้ที่ทำให้บิดเบือนบรรดาพระนามของพระองค์นั้นเถิด พวกเขานั้นจะถูกตอบแทนในสิ่งที่พวกเขากระทำ{7:180}

الَّذِينَ آمَنُوا وَتَطْمَئِنُّ قُلُوبُهُمْ بِذِكْرِ اللَّهِ ۗ أَلَا بِذِكْرِ اللَّهِ تَطْمَئِنُّ الْقُلُوبُ
{13:28} บรรดาผู้มีศรัทธา และจิตใจของพวกเขาสงบด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ไม่ใช่ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺดอกหรือ? ที่จิตใจจะสงบ

การเคารพบูชารูปเคารพ และหลุมฝังศพ ของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว,รวมทั้งการแสดงความรักต่อรูปภาพ,รูปปั้น หรือวัตุถุ หรือยกย่องสิ่งเหล่านี้ คู่เคียง คุณานุภาพของ อัลลอฮ์  

การสร้างภาคี อาจจะเป็นการ สร้างภาคีภายในจิตใจที่ซ่อนเร้น ความรู้สึกในการยกย่อง สิ่งหนึ่งเทียบเคียง หรือ เหนือกว่าคุณานุภาพของ อัลลออ์, ผู้ที่ซ่อนเร้นลบหลู่อัลลอฮ์ ไว้ในใจแต่แสดงออกว่าศรัทธาต่อพระองค์, การสร้างภาคีต่ออัลลออ์นี้อาจจะมาในรูปความศรัทธา คือเชื่อหรือศรัทธาต่อบุคคลหรือ วัตถุ ว่า จะกำหนดชีวิต หรือ หรือควบคุมจักรวาล หรือ มีส่วนร่วมในภาระรับผิดชอบร่วมกับ อัลลอฮ์ ในกิจการใดๆก็ตาม

    ที่กล่าวมานี้เป็นแต่เพียงย่อๆ ถึงการกระทำเช่นใดที่เรียกว่าการกระทำที่เป็น “ชิริก” หรือ “การสร้างภาคี” ต่อ อัลลอฮ์ตะอาลา โดยที่ไม่ได้แจกแจงว่า การกระทำใดๆมี ความสำคัญมากน้อยกว่ากัน,ทั้งนี้เพราะว่าเมื่อผู้ศรัทธามีจิตใจหรือการกระทำที่แสดงออกและที่เก็บซ่อนเร้นไว้ภายในจิตใจ หันเหไปจาก องค์อัลลอฮ์หรือแนวทางที่พระองค์ทรงกำหนดแนะให้มุสลิมปฏิบัติตาม(อัลกุรอาน) โดยมิจิตใจไปผูกพันกับสิ่งอื่นยิ่งกว่าอัลลออ์แล้วนั้น ก็คือการ
กระทำที่เป็น “ชิริก” หรือ “การสร้างภาคี” ต่อ อัลลอฮ์ตะอาลา ตามที่อัลกุรอานบัญญัติไว้


ผมขอความกรุณาให้สมาชิกทั้งมุสลิมและผู้ต่างศรัทธาทุกๆท่านอ่าน ความเชื่อ และการกำหนด ความสำคัญ และการกระทำของมุสลิม, ต่อ "หินดำที่กะบะอ์" ในกรุงเมกกะ ว่า เข้าข่ายใน การกระทำที่เรียกว่า “ชิริก” หรือ “การสร้างภาคี” ต่อ อัลลอฮ์หรือไม่?

http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=1520.0




หินดำคือมือขวาของอัลลอฮ์ (ที่ขีดเส้นใต้สีแดง ภายในกรอบสีแดง)

...........................

  คำถามสำหรับผู้ที่ศรัทธาต่อหินดำ ว่า การสัมผัสหินดำนั้นมีส่วนที่ทำให้ "อัลลอฮ์ทำให้บาปของผู้สัมผัสร่วงได้" ดังนี้

1 มีเหตุผลอะไรที่อัลลอฮจะต้องทรงทำให้บาปของคนผู้นั้นร่วง   เมื่อสัมผัสหินดำ    

2 หินดำมีความสำคัญอย่างไร   อัลลอฮจึงต้องเลือกให้มาเป็นสิ่งประเสริฐ   เป็นสิ่งที่ให้มุสลิมสัมผัส

3 หากว่าหินดำสำคัญขนาดนั้น    ทำไมจึงไม่มีบันทึกอะไรไว้ในอัลกุรอ่านเลย

สำหรับมุสลิม ท่านเห็นว่าความเชื่อเรื่อง "หินดำ" ที่มีต่อ "หินดำ" นั้น ต่างจากการเชื่อใน รูปเคารพในสภาพต่างๆหรือไม่? หรือถ้า ท่านเห็นว่า หินดำไม่ใช่รูปเคารพ เป็นเพียงวัตถุ ท่านเห็นว่า "การจูบหินดำ" นั้นแตกต่างจากการ จูบกอด แสดงความรักต่อ ต้นไม้ หรือ ภูเขา หรือวัตถุ ตามธรรมชาติ อื่นๆหรือไม่?  

มุสลิมผู้ที่มีสติปัญญาและความศรัทธามั่นต่อ อัลลอฮ์เท่านั้นจึงจะเข้าใจและตอบคำถามนี้ได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่