ใครทำให้นักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทยไม่ได้เหรียญทองในกีฬาโอลิมปิกที่ลอนดอน? ตอนที่ 2

เราต้องยอมรับก็ คือความจริงอันน่าเจ็บปวด ที่ว่าผลงานของมวยสากลแห่งประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นใหม่และได้รับการรับรองโดยกกท. และโอลิมปิกไทยต่ำกว่ามาตรฐานที่สมาคมมวยสากลสมัครเล่น ฯ เดิมเคยทำไว้อย่างเห็นได้ชัด ทั้งที่นักกีฬาก็เป็นชุดเดิมที่สมาคมมวยสากลสมัครเล่น ฯ (เดิม) สร้างไว้ คำถามก็คือ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบเพราะการถอนใบอนุญาตและถอดคำว่าแห่งประเทศไทยออกจากสมาคมมวยสากลสมัครเล่นฯเดิมนั้น การอ้างความบกพร่องของสมาคมว่าจำกัดสิทธิ์สมาชิกสามัญไม่ให้เข้าร่วมประชุม การใช้สิทธิ์ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของกรรมการสมาคมไม่ถูกต้อง และสมาคมมีข้อขัดแย้งกับไอบา ฯ นั้น การพิจารณาตัดสินลงโทษเป็นอำนาจของศาลที่จะวินิจฉัยตัดสินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 100 ที่กำหนดให้ผู้ไม่เห็นด้วยไปร้องเรียนต่อศาลภายใน 1 เดือน ซึ่งการเลือกตั้งของสมาคมมวยฯครบกำหนดใน วันที่ 27 เมษายน 2554 ดังนั้นตามกฎหมายเมื่อไม่มีผู้ร้องเรียนต่อศาลแพ่ง การเลือกตั้งของสมาคมจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วเพราะผู้ร้องเรียน ไม่ร้องต่อศาล ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด



ส่วนข้อบังคับฉบับที่ 6 ข้อ 22 ตามที่ กกท.กล่าวอ้างนั้นระบุไว้ว่า สมาคมใดจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการหากสมาชิกของสมาคมมีมติฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อบังคับ กกท.มีอำนาจสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดหากไม่ปฏิบัติ กกท.มีอำนาจสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้ แต่ในการประชุมสมัชชาใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมกีฬา การตัดสินลงโทษผู้กระทำผิดเป็นอำนาจของศาล ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่ง ฯกำหนด ดังนั้นกกท.จะอ้างข้อบังคับ ฉบับที่ 6 ข้อ 22 สั่งการให้สมาคมมวยสากลสมัครเล่น ฯ จัดการประชุมเลือกตั้งใหม่ไม่ได้ เพราะเป็นการประชุมที่แตกต่างกัน การประชุมคณะกรรมการเป็นการประชุมบริหารงานตามปกติที่สมาคมต้องจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ1ครั้ง แต่การประชุมสมัชชาใหญ่สามัญประจำปีประชุมปีละ1 ครั้ง ภายในเดือน มี.ค.ดังคำให้สัมภาษณ์ของนายณัฐวุฒิ เรืองเวส ผู้แทนกกท. ที่ไปสังเกตการณ์เลือกตั้งว่าการเลือกตั้งนั้นได้ถูกดำเนินการให้เป็นไปตามกฎที่ตั้งไว้หากมีผู้ใดคิดว่าการเลือกตั้งนั้นไม่เป็นธรรมขอให้ท่านไปร้องเรียนดำเนินการทางศาลต่อไป (บางกอกโพส 28 มี.ค. 54 ) โดยข้อบังคับของ กกท.นั้นจะนำมา บังคับใช้โดยมีข้อความที่ขัดแย้งกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้ซึ่งความหมายของการประชุมคณะกรรมการในข้อบังคับฉบับที่ 6 ข้อที่ 22 ของ กกท.หมายถึงการประชุมเฉพาะของคณะกรรมการเพื่อการบริหารงานของสมาคมกีฬา แต่การประชุมสมัชชาใหญ่สามัญประจำปีตาม ประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์กำหนดให้ผู้ร่วมประชุมประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารและสโมสรสมาชิกทั้งสามัญและวิสามัญ กำหนดห้วงเวลาในการประชุม (ภายในมี.ค.ของทุกปี) และกำหนดหัวข้อเรื่องที่จะประชุมในระเบียบวาระประชุมด้วย ดังนั้นในการประชุมสมัชชาใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมกีฬา กกท.จึงทำได้แต่เพียงส่งคณะผู้แทนเข้าร่วมสังเกตุการณ์ในการประชุมเท่านั้น กกท.จึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้สมาคมกีฬาจัดการประชุมเลือกตั้งนายกสมาคมมวย ฯ ขึ้นใหม่ได้เพราะเป็นอำนาจของศาล คำสั่งดังกล่าวของ กกท. จึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายและการประชุมของสมาคมในวันที่ 27 มี.ค. 54 เป็นการประชุมสมัชชาใหญ่สามัญประจำปี 53 โดยมีวาระเลือกตั้งนายกสมาคมด้วยไม่ใช่เป็นการประชุมคณะกรรมการ ดังนั้นการที่กกท.นำข้อบังคับฉบับที่6 ข้อที่ 22 มาบังคับใช้กับสมาคมจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนั้นการสั่งการของผู้ว่ากกท.ในเรื่องนี้ควรจะต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการหรือบอร์ดกกท. ด้วย โดยการดำเนินการที่ถูกต้องของกกท.เมื่อมีผู้ร้องเรียน กกท.จะต้องแจ้งให้ผู้ร้องเรียนนำเรื่องไปร้องที่ศาลและส่งเรื่องให้ที่ประชุมบอร์ด กกท.พิจารณาสั่งการตามอำนาจหน้าที่ถ้าบอร์ด กกท.พิจารณาว่าสมาคมปฏิบัติไม่ถูกต้องก็สามารถส่งเรื่องนี้ไปให้อัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไปและการที่ไอบาสั่งให้โอลิมปิกไทย จัดการเลือกตั้งนายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่น ฯ ขึ้นใหม่โดยอ้างว่ามีผู้ร้องเรียนและต่อมาโอลิมปิกไทยได้ส่งเรื่องให้

กกท.รับเรื่องไปดำเนินการต่อนั้น การที่กกท.สั่งให้สมาคมมวย ฯ เดิมจัดการเลือกตั้งนายกสมาคมมวย ฯ ขึ้นใหม่ โดยอ้างเรื่องที่มีผู้ร้องเรียนเรื่องความไม่ถูกต้องในการเลือกตั้งฯ,เรื่องข้อขัดแย้งระหว่างสมาคมกับไอบาซึ่งอาจทำให้สมาคมถูกเพิกถอนสิทธิ์ในการเป็นสมาชิกของไอบา อาจส่งนักกีฬาไปแข่งขันในรายการที่ไอบารับรองไม่ได้และอาจเสื่อมเสียมาสู่การกีฬาของชาตินั้น กกท.ต้องรู้ดีว่าไอบาไม่มีอำนาจสั่งให้สมาคมมวย ฯ จัดการเลือกตั้งใหม่ได้เพราะถ้าไอบามีอำนาจสั่งให้สมาคมเลือกตั้งใหม่ได้ ทำไม ไอบาไม่สั่งให้ สมาคมจัดการเลือกตั้งใหม่โดยตรง เพราะสมาคมเป็นสมาชิกของไอบาอยู่แล้วรวมทั้งเรื่องการตัดสิทธิ์ ไม่ให้สมาคมส่งนักมวยไปแข่งขันในรายการที่ไอบาจัด หรือในกีฬาโอลิมปิกโดยสมาคมมวย ฯ เดิมสามารถส่งนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นไปแข่งขันได้ทุกรายการเนื่องจากศาลกีฬาโลกให้ความคุ้มครองและสมาคมมวยสากลสมัครเล่น ฯ เดิมก็ได้แจ้งให้ กกท. ทราบแล้ว กกท.จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามไอบา ถ้ากกท.ไม่มีเป้าหมายที่จะหาเรื่องลงโทษสมาคมมวยสากลสมัครเล่น ฯ เดิม เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและไอบาไม่มีอำนาจโดยที่สมาคมมวย ฯ ก็ไม่ได้กระทำผิดทำเสียชื่อเสียงตามข้อกล่าวหาของ กกท.แต่อย่างใด แต่ตรงกันข้ามสมาคมได้สร้างสร้างซื่อเสียง ให้กับประเทศไทยมายาวนานกว่า 50 ปี ในขณะเดียวกัน กกท.ก็ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วยเช่นกัน

---ติดตามตอนต่อไปในวันพรุ่งนี้----

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่