พานขันหมาก งุงิ ครุคริ

เฮ้อออออ...ยาวๆ ในที่สุดก็มีเวลามานั่งเขียนนนนนสักกะที(วันนี้แอบว่างนิดๆ) หลังจากที่เขียนไปหนึ่งรอบแล้วมีคนชื่นชมมากพอสมควร หุหุ ...คราวนี้เลยลงมือเขียนและแชร์อีกครั้งคะ จุดประสงค์คือ อยากแชร์ประสบการณ์ดีๆ และคิดว่าเป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์ไว้ และเผื่อเป็นแนวทางว่าหากต้องทำเองต้องเริ่มอย่างไรก่อน
  เรื่องของเรื่องก็คือ ได้มีโอกาสไปจัดงานแต่งงานให้กับพี่ชายของรุ่นพี่คะ พวกเราได้รับมอบหมายให้จัดงานพิธีเช้า รวมไปถึงพานขันหมากด้วย แต่โจทย์ค่อนข้างจะยาก เพราะต้องใช้พานทองเหลืองของโบราณแท้มาเป็นส่วนประกอบในพานขันหมากด้วย .....นับว่าท้าทายมาก แต่เราก็ผ่านกันมาได้ด้วยดี ณ จุดๆนี้ คงต้องบอกว่าสามัคคีคือพลังเลยคะ...5555
  เราเริ่มงานกันจาก ไปสำรวจที่บ้านของเจ้าสาว(จัดที่บ้านเจ้าสาว เป็นเรือนไทยโบราณ อายุ100+ปี) ดูสถานที่ วัดทุกสิ่งอย่าง (ต้องออกแบบก่อนนะคะ)
อ่อ...ลืมบอก อันดับแรกเราต้องรวมกำลังพลก่อนนะคะ เรารวมกันแล้วมี4คนคะ หุหุ โคตรเยอะเลยT_T
  คะต่อคะ....เราเริ่มจาก ดูสถานที่แล้ว ต่อจากนั้นเราต้องคำนวนเวลาคะ ด้วยความที่เรามีเวลาแค่2วันแต่ก็มีบางชื้นที่เตรียมก่อนได้(เราจะได้มากสุดแค่2-3วัน ถ้าเป็นงานดอกไม้สดนะคะ ทำเยอะกว่านั้น อาจจะไม่ค่อยสดเท่าไหร่ โดยเฉพาะพานขันหมาก จะตายเร็วมากถ้าเป็นดอกไม้สดคะ)
  แล้วก็เหมือนเดิมคะ (ดูได้ในขันหมากฟรุ้งฟริ้ง)เราต้องแพลนว่าต้องทำอะไรบ้าง และต้องซื้ออะไรบ้าง ราคาประมาณเท่าไหร่(จะบอกว่า ถ้าฤดูแต่งงาน ดอกไม้จะราคามหาโหด 10ล้านเท่า)
  เนื่องจากต้องตามฝ่ายสาว ซึ่งเป็นพิธีมาแต่โบราณ ไม่เหมือนที่เคยทำ เราเองตอนแรกฟังก็งงนะ แต่ก็สรุปเอาว่า เค้าต้องใช้ พานขันหมาก(เค้าเรียกว่างั้นคะ) โดยใช้พานทองเหลือง แล้วใส่หมากข้างใน ประมาณนี้(เป็นของจังหวัดสุพรรณคะ ใครทราบมาแชร์กันนะคะ) พานสินสอด พานส่งตัว(อันนี้เราเรียกพานขันหมาก) พานไหว้ พานแหวน ประมาณนี้ ก็คือ สรุป เรามาแจกแจงงานที่ต้องทำก็จะได้ดังนี้ เราแยกเป็น สองฝั่ง คืองานพานขันหมากกับงานตกแต่ง เราจะขอหยิบยกมาเฉพาะงานไทยนา เพราะคิดว่าด้านตกแต่งหลายๆคนคงรู้จักแล้ว
งานพานขันหมาก สิ่งที่ต้องใช้ (เนื่องจากทำตั้งแต่สิงหาเลยแนบรูปมาเลยเผื่อใครยังไม่รุ้ไม่เคยเห็น จะได้รู้จักว่าสิ่งนี้คืออะไร อิอิ)
1.พานขันหมาก *4-ใช้ ฝาใบตอง4ใบ (เพราะต้องใช้กับพานทองเหลือง ห้ามติดกาวเด็ดขาด เราใช้แค่ฝาครอบและวางหมากพลูของมงคลไว้ข้างใน)
   เป็นแบบนี้คะ
ฝาใบตองม้วนเป็นกรวย ใช้จำนวน5ใบ วางสับหว่าง ..ถักตะขาบแปะรอยต่อ และพับกลับประดับปิดตรงรอยต่ออด้านล่างคาดนม จีบฝากรวยเล็กเท่ายอด ครอบอีกที ประดับกลีบ(ชิ้นนี้เพื่อสะดวกแก่การจับ) มัดด้วยถุงผ้าทองตอนเข้าพิธี




2.พานส่งตัว(พานขันหมากเรา)*2-หมากพลู ของมงคล ดอกไม้ประดิษฐ์ กระทงใบตองประดับกลีบ อุบะลูกรุ่ย มาลัยแบนคาด
ทำกล่องใสยาเส้นดด้วยเตยลาย และที่ใบมงคลยามวนด้วยเตยลาย กระทงหักคอม้าโดยรอบ ฝากรวย ดอกข่ามัดทีละกลีบเป็นดอกร้อยเข้ากับรักโดยใช้เปลือกรักตัดก้านทำเป็นกลีบเลี้ยงจะได้เคียงกับธรรมชาติ





  แบบนี้นะคะ


3.พานแหวน*1-เย็บแบบ ใบตองเดินเซ็นถักตาข่าย บานไม่รู้โรยประดับ(อันนี้เราเรียกเสียบบาน เพราะต้องเฉือนบานไม่รู้โรย แล้วเสียบไม้กลัดทิ้งไว้))
ตัดใบตองซ้อนกันพอควรตัดตามแบบ เย็บเดินริมด้วยลวดเย็บขอบด้วยสน และปูกระเบื่องด้วยจมูกกล้วยไม้ที่เด็ดแยกไว้แล้วซ้อนกันทีละชั้น เฉือนบานทิ้งแล้วเสียบไม้กลัด










4.พานสินสอด*1-กระทงใบตอง ฝาครอบกระทง(+ตะขาบ) มาลัยแบนคาด(100+ตา) ลูกรุ่ย(*25) ใบตองเดินเซ็น+ถัก ปักรักและบาน
กระทงหักคอม้า+ฝาครอบ มาลัยแบนหน้าเดียวร้อยโดยใช้กลีบเรียวของกล้วยไม้สลับ2กับ1หันหน้าสลับกันแล้วตามด้วยพุด2สลับ1 ชั้นตรงกลางเป็นเบญจมาศน้ำ ถ้าดูจากตรงกลางจะเห็นเป็นดอก เราเรียกว่า1ดอก ใบตองหรือแผ่นตองเดินเซ็น ตัดเป็นวงกลมยึดด้วยลวดดดยรอบ เย็บดอกรักริมรอบ(เดินเซ็น)แล้วจึงวางแผ่นนี้โดยหาที่ยึดไว้เพื่อจะทำการถักรักด้วยพุด





5.พานไหว้*1-กระทงเจิม มาลัยแบนคาดเทียน*2(13ตา) ดอกข่าในกระทง*9  แผ่นตองเดินเซ็น ถักตาข่ายพุด
กระทงเจิมหักข้อม้าเล็ก ติดกลีบประดับโดบรอบ มัดข่าที่ละกลีบจนครบดอกแล้วจัดเรียงไว้ข้างในกระทง แล้วครอบด้วยฝา...





เนื่องจากมันทำตั้งแต่เดือนสิงหา ข้อมูลมันก็จะเลือนหายนิดนึงนะคะ รวมไปถึงตอนนี้เริ่มง่วงยิ่งไปกันใหญ่เลย55)

อ่ะอ่ะ อันนี้โฉมหน้า เมื่อครบจำนวนสมาชิก อู้ยยยย งามมมมมม เริศ



แอบเบลอ เพราะง่วงมาก คืองานเริ่ม6โมงเช้า แต่งานเสร็จตอนตี5.30 555)

อีกสักรูป คือภูมิจายยย

คือ ที่พยายามอธิบายว่าอะไรคืออะไร เพราะอยากให้ทุกคนรู้ว่า คนไทยแต่โบราณนั้นเจ้าฝีมือ และอดทนมาก การจะให้ได้มาซึ่งดอกประดิษฐ์ในแต่ละดอกลำบากมาก เราต้องเด็ดกลีบกล้วยไม้จากเป็นกำๆ มาแยกไว้ตามแต่ละชนิด(มีจมูก กลีบเล็ก กะเปราะ กลีบกลม) กระทงก็ต้องมาฉีกก่อนจากเป็นมัดๆ ฉีกให้เป็นนิ้วแล้วมาเย็บอีกที มาลัยก็ต้องร้อยทีละกลีบแต่ละกลีบก็ต้องให้เท่ากัน และอีกมากมาย ....เมื่อเราได้มีโอกาสเรียนและสืบสานสิ่งเหล่านี้แล้ว จึงอยากขอบอกเล่าบอกต่อแก่ผู้อื่นให้ได้ดีที่สุด เพราะไม่อยากให้สิ่งนี้สูญหายไป และเราก็คิดว่าเท่ห์มาก หากว่าเราจะสักทั้งตัวหัวสีทอง แต่เรามีความรู้เหล่านี้ไว้สอนแก่คนรุ่นหลังหรือประกอบอาชีพเลี้ยงตนในวันข้างหน้า เพราะมันเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจ...อย่างสุดๆที่โชว์ให้ผู้อื่นเห็นว่า เราคือคนไทย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่