?ทำไมมีหลายๆคนเชื่อที่ไอน์สไตน์พูดว่า"จินตนาการสำคัญกว่าความรู้",ผมว่าไอน์สไตน์พูดผิด ที่ถูกคือ ๒ อย่างนั้นสำคัญเท่าๆกัน

...พิจารณาให้ดีๆ  ไอน์สไตน์พูดแบบนั้น ผิดแน่ๆ  ....

...เพราะว่า การจินตนาการของคนเรา  จะเกิดออกมาได้ ก็ต้องเอาข้อมูลเก่าๆที่จำไว้ ที่เคยเรียนรู้ไว้  มาคิดมาจินตนาการ

...ถ้าในใจคนนั้น  ไม่มีข้อมูลอะไรที่จำไว้ก่อน หรือเคยเรียนรู้ไว้ก่อน  ใจคนนั้นก็ว่างเปล่า หรือมืดมิด ไม่มีข้อมูลใดๆเลย แล้วจะไปเอาอะไรมาใช้เพื่อจินตนาการ ???   ใช่ไหมละ ??

...ก็เหมือนกับ ผลมะม่วง  ถ้าไม่มีรากของของมัน  แล้วผลของมันจะโผล่ออกมาได้ไง  เพราะทั้งต้นทั้งใบก็จะแห้งตายไปก่อน

...ทำนองเดียวกัน  จินตนาการก็เหมือนผลมะม่วง  ความรู้ ความจำ ก็เหมือนรากของต้นมะม่วง ...  มันต้องหนุนเสริมซึ่งกันและกัน   สำคัญพอๆกัน

..และในหลายๆกรณี  ความรู้ อาจจะสำคัญกว่าจินตนาการด้วยซ้ำ  เช่น  การค้นพบใหม่ๆต่างๆทางวิทยาศาสตร์มากมาย  เกิดจากความบังเอิญ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของความรู้  ไม่ได้เกิดจากจินตนาการเลย  เช่น การค้นพบยาเพ็นนิซิลิน  ของอเล๊กซานเดอร์  เฟล็มมิ่ง  การค้นพบรังสีเอ๊กซ์ ของมาดามคูรี .และอื่นๆอีกมากมายนับไม่ถ้วน  ..ฯลฯ

...และทฤษฏีสำคัญที่เกิดจากการจินตนาการของไอน์สไตน์  คือ ทฤษฏีสัมพันธภาพที่รู้จักกันดีนั้น  มาถึงยุคนี้ ก็เจอข้อบกพร่องมากมาย  แสดงว่าจินตนาการ ไม่ใช่สิ่งสำคัญมากนัก  ไม่สำคัญมากกว่าความรู้ แน่นอน  อาจจะน้อยกว่าความรู้ด้วยซ้ำ

...ผมจึงขอฟันธงว่า   เรื่องนี้  ไอน์สไตน์ พูดผิด ...

...ทำไมมีหลายๆคน  จึงเชื่อคำพูดที่บกพร่องนี้ของไอน์สไตน์ กันนักกันหนา ???

   ในหลักปฏิบัติธรรมของศาสนาพุทธ  พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนให้ทำลายทิฏฐิ(ความเห็น) ซึ่งเป็นฐานของการเกิดแนวคิดและจินตนาการต่างๆ จึงจะได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน

   แต่อย่างไรก็ตาม  ในการฝึกปฏิบัติธรรมในขั้นต้น  ก็ยังต้องใช้จินตามยปัญญา หรือการจินตนาการ ไปก่อน ระยะหนึ่ง เพื่อพิจารณาสิ่งที่เป็นบัญญัติธรรม ..แต่เมื่อยกระดับการพิจารณาขึ้นสู่ระดับสูงๆไป  ..เมื่อต้องยกระดับไปพิจารณาในระดับปรมัตถธรรม  ก็ต้องละจินตนาการทิ้งออกไป (เพื่อเข้าสู่ระดับญาณ) ไม่งั้นจิตจะฟุ้งซ่านไม่หยุด  หมายถึงการใช้จินตนาการคือลักษณะการฟุ้งซ่านอย่างหนึ่งของจิต นั่นเอง  ใครใช้มากๆ อาจจะเป็นบ้าได้ในอนาคต

    (เห็นว่า เรื่องนี้  เกี่ยวโยงกันทั้งทางศาสนาและวิทยาศาสตร์ จึงขอใส่แท็กทั้ง ๒ ห้อง...คงไม่ว่ากัน)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่