۩☆۩☆۩ 15 สิ่งประดิษฐ์ที่แท้จริงแล้วเกิดขึ้นจาก “ความบังเอิญ ۩☆۩☆۩

คุณจะเชื่อหรือไม่ว่า
ของบางอย่างที่คุณใช้อยู่ทุกวัน
ของบางอย่างที่คุณกิน หลาย ๆ สิ่งมันเกิดจากอุบัติเหตุ
มันคือเรื่องของ “ความบังเอิญ” ล้วน ๆ

ซึ่งพอเราย้อนกลับไปดู
มันเลยเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมาก ๆ ที่พอเวลาผ่านไป
ของเหล่านั้นมันกลับกลายเป็นของที่ทุกคนในโลกรู้จัก
และใช้มันจนเป็นกิจวัตร

วันนี้เราเลยเอา ของต่างๆ 15 อย่าง ที่ถือกำเนิดจากอุบัติเหตุ
แต่เป็น ของที่เจ๋งมากๆ และนึกไม่ออกเลยว่า
ถ้าโลกนี้ไม่มีของเหล่านี้ มันจะเป็นอย่างไรนะ!



1.Slinky

ใน ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
วิศวกรในกองทัพเรือชื่อ Richard James
พยายามค้นหาวิธีติดสปริงบนเรือ
เพื่อกันไม่ให้ของบนเรือกระดอนไปมา

แต่ทันใดนั้น เขากลับทำสปริงตก
และสิ่งที่เขาเห็นก็คือ
สปริงมันเด้งกลับขึ้นมาอีกด้านเองบนพื้น

นับตั้งแต่นั้นมา
เด็กๆ ก็สนุกสนานไปกับการเล่นของเล่น
ชิ้นนี้ที่เรียกว่า “Slinky” นั่นเอง








2.Popsicles


ตอน นั้นเป็นปี 1905
และน้ำอัดลมกำลังเป็นที่นิยมมากในท้องตลอด

เด็กอายุ 11 ขวบอย่าง Frank Epperson
ต้องการประหยัดเงิน จึงอยากลองทำน้ำอัดลมกินเอง
แต่เด็กน้อยคนนี้ ดันลืมของที่เขาผสมเอาไว้
ทิ้งไว้นอนบ้าน ขณะที่อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว
พอในตอนเช้า สิ่งที่เขาพบคือ
ส่วนผสมทุกอย่างแข็ง
และไม้ที่ใช้คนก็ยังปักอยู่ข้างในนั่นเอง







3.Potato Chips

ใน ปี 1853 George Crum พ่อครัวที่นิวยอร์ก
ได้คิดค้นมันฝั่งทอดกรอบ หรือ Potato chips ขึ้นมา
จากการที่เขาพยายามสั่งสอนลูกค้า
คนที่ส่งคืนเฟรนช์ฟรายด์ของเขา

เพราะบอกว่ามันชุ่มน้ำมันเกินไป
เขาโกรธ จึงหั่นมันฝรั่งให้บางที่สุดเท่าที่ทำได้
ลงไปทอดให้กรอบ คลุกเกลือ และส่งให้ลูกค้า

แต่ปรากฏว่าลูกค้าชอบมาก
และนั่นคือ จุดกำเนิดของ Potato chips
หรือ มันฝรั่งทอดกรอบนั่นเอง







4.Coca Cola

หาก ไม่มี Coca Cola บทความนี้ต้องไม่สมบูรณ์แบบแน่ ๆ

เพราะเรื่องราวมันสุดยอดจริง ๆ
เมื่อ John Pemberton ทหารผ่านศึกที่ผันตัวเองมาเป็นคนปรุงยานั้น
ตั้งใจที่จะทำยา
แต่สุดท้าย มันกลับกลายเป็นเครื่องดื่มที่โด่งดังที่สุด

อันหนึ่งของมวลมนุษยชาติ ซึ่งอยากบอกว่า
ดั้งเดิมนั้น ด้วยความที่มันเป็นยา
จึงมีการใส่โคเคนลงไปจริงๆ นั่นแหละ







5.Teflon

หลัง จากวันนี้ เวลาที่คุณทำไข่เจียว หรือไข่คน
คุณอาจจะอยากขอบคุณคนที่คิดค้นเจ้ากะทะเทฟลอนนี่ขึ้นมา

เขาคือ Roy Plunkett เขาคือนักเคมีที่ทำงานให้กับ DuPont
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เหตุการณ์ในตอนนั้น
เขาค้นพบสารเคมีชนิดหนึ่งที่ไม่เกิดปฏิกริยากับสารอื่น
และไม่ยึดติดกับสารอื่น โดยบังเอิญ

ในระหว่างที่เขากำลังทดลองสารลดความเย็นอยู่
ซึ่งตอนนั้น เขาเลยจดสิทธิบัตรทันที
และต่อมาเราก็รู้จักกันในนาม “เทฟลอน” นั่นเอง







6.ตีนตุ๊กแก


George de Mestral วิศวกรชาวสวิส
ออกไปล่าสัตว์กับสุนัขของเขา
ซึ่งตอนที่เขาสังเกตเห็นโดยบังเอิญว่า
มีเมล็ดพืชที่ติดขนสุนัขของเขา

เขากลับไปทดลองเพื่อหาสิ่งที่เกิดผลเช่นเดียวกัน
แต่ผลการทดลองของเขา ไม่เป็นที่นิยม

จน NASA ผลิตขึ้นและเป็นที่นิยมมาจนถึงวันนี้








7.กระดาษ Post-It

ใน ปี 1968 Spencer Silver นักเคมีที่ทำงานให้กับ 3M
ค้นพบสิ่งที่ทำให้กระดาษสามารถติดกับพื้นผิวได้โดยบังเอิญ

โดยสิ่งนั้นเหนียวพอที่จะยึด
แต่ไม่เหนียวเกินไปจนลอกพื้นผิวที่กระดาษไปติดหลุดออกมา
ซึ่งหลังจากพยายามหลายครั้งในการทำการตลาด
หลังจากการค้นพบในตอนนั้น

เพื่อนร่วมงานของเขา Art Fry
ก็คิดค้นวิธีในการดัดแปลงสิ่งนั้นเป็น
ที่ขั้นหนังสือที่มีตัวแปะ
และ Post-it ก็ถือกำเนิดขึ้นมาในที่สุด







8. Play Doh

ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่นัก
ที่ Play Doh ซึ่งเป็นก้อนหนึบ ๆ ที่เด็ก ๆ เล่น  แถมกลิ่นไม่หอมนั้น
จริง ๆ แล้วถือกำเนิดมาจากที่ทำความสะอาดวอลเปเปอร์

ต่อมาเมื่อต้นศตวรรษที่ 20
คนเลิกใช้ถ่านในการทำกับข้าว
จึงทำให้วอลเปเปอร์ยังคงสะอาดอยู่

แต่โชคดีที่ลูกชายของ Cleo McVicker
ซึ่งเป็นคนคิดค้นดังเดิมของ Play Doh นั้น
ค้นพบวิธีใช้งานของสิ่งนี้ใหม่
นั่นคือ นำมาทำดินน้ำมันให้เด็กปั้นเล่นนั่นเอง







9.Vulcanized Rubber

Charles Goodyear ใช้เวลาหลายปีในการคิ
ดค้นยางที่ทนความร้อนและทนความเย็นได้
ซึ่งหลังจากความพยายาม
และความล้มเหลวหลายต่อหลายครั้ง

เขาก็ค้นพบส่วนผสมที่ลงตัว
โดยเรื่องมีอยู่ว่า เมื่อต้นทศวรรษที่ 1900s
เขาเผลอทำ ยาง ซัลเฟอร์ และตะกั่ว ลงบนเตาเผา
ซึ่งกลายเป็นส่วนผสมสีดำ
ที่แข็งและยังใช้ได้
จึงกลายเป็น “ยาง” สีดำที่เราใช้กันทุกวันนี้นั่นเอง







10. Cornflakes

เมื่อWill Keith Kellogg ช่วยพี่ชายของเขาทำอาหาร
สำหรับคนไข้ที่สถานีอนามัยที่เขาทำงานอยู่นั้น

ค้นบังเอิญค้นพบสูตร Cornflakes
จากการที่เขาลืมทิ้งแป้งขนมปังไว้หลายชั่วโมง

เค้าเลยคิดว่า ถ้าเอาแป้งขนมปังที่เป็นเศษ ๆ แผ่น ๆ
ไปอบจะเป็นอย่างไร
ซึ่งสุดท้าย เราก็ได้ Cornflakes ที่โด่งดังมาจนถึงทุกวันนี้







11. Plastic

ต้นทศวรรษที่ 1900s
ชะแล็กคือวัตถุดิบที่คนเลือกใช้
หากต้องการหาฉนวนกันความร้อน หรือฉนวนกันไฟฟ้า
แต่ด้วยความที่ครั่ง ทำมาจากแมลงครั่งจากแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และการนำเข้านั้นมีราคาที่แพง

ทำให้ นักเคมีอย่าง Leo Hendrik Baekeland
พยายามผลิตสารที่จะมาแทนครั่งได้

แต่สิ่งที่เขาคิดได้ กลับเป็น
สารที่ทนความร้อนสูงมาก
สามารถปั้นขึ้นรูปได้
และทำให้แข็งได้ นั่นคือ พลาสติก นั่นเอง






12. Microwave

ทุกคนบนโลกนี้ที่ชื่นชอบการใช้ไมโครเวฟ
ต้องขอบคุณ Percy Spencer ทหารเรือและผู้เชี่ยวชาญด้านเรดาร์
ที่ทำงานอยู่กับเครื่องปล่อยไมโครเวฟ

จนเขารู้สึกว่า ช็อกโกแลตในกระเป๋าเสื้อของเขาเริ่มละลาย
และหลังจากนั้น ปี 1945เป็นต้นมา
ครัวของคนทั้งโลกก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป







13. Chocolate Chip Cookies

คุ้กกี้ช็อกโกแลตชิพ ถูกคิดค้นด้วยความบังเอิญ
โดย Ruth Wakefield ที่โรงแรม Toll House Inn
ในปี 1933 เธอกำลังจะทำคุ้กกี้ช็อกโกแลตธรรมดา
แต่ช็อกโกแลตหมด เธอเลยเลือกใช้เศษช็อกโกแลตมาใช้แทน
และช็อกโกแลตที่เธอใช้นั้น ไม่ละลายรวมกับคุ้กกี้
จึงกลายเป็นคุ้กกี้ ช็อกโกแลตชิพ เหมือนในปัจจุบัน







14. กระจกนิรภัย


หลังจากที่ Édouard Bénédictus นักเคมีชาวฝรั่งเศส
เผลอทำขวดแก้วในห้องทดลองลงพื้น
ซึ่งแทนที่มันจะแตกเป็นเสี่ยง ๆ มันแค่ร้าว

เขาจึงสนใจและค้นหาเหตุผล
จนเขารู้ว่าในนั้นมี ” plastic cellulose nitrate”
ที่ทำให้กระจกไม่แตกเป็นเสี่ยง ๆ และทนแรงกระแทกได้







15. Penicillin


ขณะที่กำลังศึกษาเรื่อง staphylococcus ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งนั้น
Alexander Fleming ได้ใส่แบคทีเรียลงในจาน petri
ก่อนที่จะไปพักร้อน

ตอนแรกเขาคิดว่า แบคทีเรียจะโต
แต่สุดท้าย “รา” กลับโตขึ้นมาบนจานแทน
หลังจากทำการศึกษาอย่างใกล้ชิด

จนเขาได้พบว่า “รา” จะปล่อยสารออกมา
ที่จะยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรีย
และนั่นคือจุดกำเนิดของยาต้านแบคทีเรียตัวแรกของโลกนั่นเอง



Credit
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
เพิ่มเติมให้นะครับ^^

      14. กระจกนิรภัย ” plastic cellulose nitrate” (พลาสติก เซลลูโลส ไนเทรต)  ถือว่าเป็นวัสดุพลาสติกชนิดแรก เซลลูลอยด์ (celluloid) ที่ถูกใช้แทนงานช้างในการทำลูกบิลเลียด ในช่วงหลังของศตวรรษที่ 19 โดยผู้คิดทำขึ้น คือ จอห์น เวสเย์ ไฮแอทท์ (John Wesley Hyatt) ใช้เซลลูโลสไนเทรต(cellulose nitrate) ผสมกับการบรู( camphor)


     แล้วทำไมเวลากระจกกระจกนิรภัยแตกถึงเป็นเม็ดล่ะ

http://cool.conservation-us.org/jaic/articles/jaic30-02-003.html
         กระบวนการผลิตกระจกนิรภัยเทมเปอร์ เริ่มด้วยการนำกระจกธรรมดาอบด้วยความร้อนจนมีความร้อนประมาณ 650C แล้วเป่าด้วยลมให้เย็นลงอย่างรวดเร็วทันที ผิวนอกของกระจกจะแข็งก่อนกระจกที่อยู่ภายใน ทำให้เกิดความแตกต่างของการเรียงตัวของโมเลกุลกระจก และเกิดความเครียดในเนื้อกระจก ผลของความเครียดนี้ทำให้เกิดเส้นแรงสองชนิด โดยชนิดแรกเป็นเส้นแรงที่ล้อมรอบกระจกทั้งแผ่น ชนิดที่สองเป็นแรงภายในเนื้อกระจกที่ดันออกภายนอก ทำให้กระจกมีคุณสมบัติพิเศษดังกล่าว

    ซึ่ง มี หลายแบบ แล้วแต่ ข้อกำหนดมาตฐานของงานที่จะใช้ครับ
เช่น
1. แตกเป้นเม็ดละเอียด
2. แตกเป้นเม็ดหยาบ
3. แตกเป็นแผ่นเล็ก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่