ชื่อนักแปลมีผลต่อการเลือกซื้อนิยายของท่านหรือไม่ ?

เมื่อก่อนเราชอบอ่านนิยายแปลมากๆ เพราะไม่ว่าจะหยิบหรือจับนิยายแปลเล่มไหน สำนวนการแปลเล่มนั้นก็ไหลลื่น ไม่มีปัญหา
เพราะนักแปลสมัยก่อนส่วนมากจะเป็นนักแปลชั้นครูที่มีประสบการณ์การแปลผลงานมาเยอะ
จนเราหายห่วงเรื่องสำนวนการแปลแปลกๆได้เลย

แต่พอมาปีหลังๆ เราก็เริ่มที่จะสังเกตว่าวงการแปลหนังสือบ้านเรา เริ่มดรอปลงจริงๆ
หลังจากที่มีนักแปลใหม่ๆเข้ามา ที่แปลดีก็มีเยอะ แต่ที่แปลแย่ดันมีเยอะกว่า

บางครั้งตอบตามตรงว่าเราเสียใจมากๆที่เห็นหนังสือที่เรารักไปอยู่ในมือของสำนักพิมพ์ที่เราเคยไว้วางใจ
แต่กลับกลายเป็นว่า หนังสือเล่มนั้นได้นักแปลที่ทำให้เนื้อความดีๆจากต้นฉบับถูกทำลายลงไปหมด

เราบอกไว้ก่อนเลยว่าเราไม่ใช่นักแปลและไม่เคยมีประสบการณ์ทางด้านนี้เลย
เราขออาศัยประสบการณ์การการอ่านทั้งต้นฉบับและฉบับแปลไทยตลอดหลายปีมาพูดละกัน

เราคิดว่าการแปลหนังสือสักเล่ม ไม่ใช่แค่ถอดความหมายของภาษาอื่นมาเป็นแปลไทย
แต่คุณต้องถอดทั้งอารมณ์ของบทความ หรือกระทั่งมุกตลกที่นักเขียนสอดแทรกออกมาเป็นภาษาไทยแล้วสามารถทำให้คนอ่านมีอารมณ์ร่วมไปกับมุกนั้นๆได้
ไม่ใช่พอแปลเป็นไทยแล้ว คนอ่านไม่เข้าใจ ไม่เก็ตมุก !

แต่เท่าที่เราเห็นตอนนี้ มีหนังสือแปลหลายเล่ม ถอดความหมายจากภาษาอื่นมาเป็นภาษาไทยบรรทัดต่อบรรทัด และภาษาก็แข็งทื่อมาก
จนเราคิดว่ามันไม่ต่างอะไรกับการใช้ Google Translate แปล ดังนั้นเราจึงไม่รู้ว่าจะเสียเงินสองสามร้อยไปทำไมกับเล่มแปล ถ้าคุณภาพงานที่ได้ไม่ต่างจากการใช้กูเกิ้ล

ขอบ่นอีกหน่อยนึง ... มีนิยายเรื่องหนึ่ง ขอไม่เอ่ยชื่อเรื่อง แต่ชื่อมีตัว F ... นำหน้า
เข้าใจว่ามันเป็นนิยายติดเรต แต่การที่คุณ*กล้า*ที่จะซื้อนิยายเล่มนั้นเข้ามาแปล คุณก็ต้อง*กล้า*ที่จะปล่อยเนื้อเรื่องออกมาเต็ม 100 ด้วยเหมือนกัน
ไม่ใช่ว่าตัดโน่นตัดนี่ออก แล้วไปเขียนร่ายยาวในบทบรรณาธิการห้าหกหน้าว่าทำไมถึงต้องตัด อ้างศีลธรรมในสังคมโน่นนี่
บอกตามตรง ... เราเห็นใจคนที่อ่านฉบับแปลนิยาย F เรื่องนี้มากๆ เพราะอรรถรสมันแตกต่างจากต้นฉบับยิ่งนัก
แต่ก็เข้าใจสนพ.นะ อารมณ์ ' อยากขายแต่กลัวโดนจับ ' เฮ้ออออออออออ ....
1.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่