สอนการอ่านการเขียนภาษาไทย ต้องสอนยังไงกันแน่?

ช่วงนี้ตามข่าว เห็นมีกระแสหนังสือสอนการอ่านภาษาไทย ที่สอนไม่เหมือนกับที่เราเรียนมาสมัยเด็กๆ เช่น คำว่า “เสือ” ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราก็จะอ่านว่า “สอ-เอือ-เสือ” แต่เหมือนเดี๋ยวนี้หลายโรงเรียนสอนให้อ่านว่า “เอ-สอ-อือ-ออ” ไม่เข้าใจเลยว่าจะอ่านว่า “เสือ” ได้ยังไง คิดว่าผู้ปกครองหลายๆ คนก็คงงงแล้วสอนไม่ถูกเหมือนกัน

พอดีว่าได้ความรู้ใหม่มา เลยอยากเอามาเล่าสู่กันฟังค่ะ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากช่วยสอนเด็กๆ ที่บ้าน หรือคุณครูบางคนที่อาจจะกำลังงงกับหนังสือสอนภาษาไทยเหมือนกัน


พอดีได้ดูรายการนี้ใน Youtube ของ Teachers as Learners เรื่อง “เรียนอ่านเขียนอย่างไรให้รู้ภาษา” มีอาจารย์จากคณะอักษรศาสตร์ และครุศาสตร์ จุฬาฯ มาช่วยอธิบายทั้งเรื่องโครงสร้างภาษาไทยและวิธีการสอนการอ่านและการเขียนภาษาไทย เลยเข้าใจขึ้นเยอะมากเลยค่ะว่า จริงๆ แล้ว ระบบการเขียนในภาษาไทยมีความซับซ้อนหลายอย่าง เช่น ร.เรือ ถ้าอยู่ต้นคำ อ่านเป็นเสียง /ร/ คือ รอ แบบรัวลิ้น แต่ถ้าเป็นตัวสะกด ก็จะต้องอ่านเป็น แม่กน คือ /น/ แล้วยังมีเรื่องสระที่ลดรูป เช่น คำว่า “กด” ที่เป็นสระ “โอะ” แต่ไม่มีรูปสระให้เห็น บางคำสระเขียนอยู่ข้างหน้าพยัญชนะ บางคำอยู่ข้างหลัง หรือไม่ก็ข้างบนบ้าง ข้างล่างบ้าง บางคำอยู่มันทั้งข้างหน้า ข้างบน ข้างหลัง เพราะฉะนั้นว่าจริงๆ แล้ว เราต้องเข้าใจว่า รูปกับเสียงไม่ได้สัมพันธ์กันซะทีเดียว

แล้วอีกตอนนึง อาจารย์จากสายครุศาสตร์มาอธิบายว่า การสอนมี 2 อย่างคือ “การอ่านสะกดคำ” กับ “การเขียนสะกดคำ” ซึ่งไม่เหมือนกัน การอ่านสะกดคำก็คือ สอนตามลำดับเสียงที่เกิดขึ้น เช่น “สอ-เอือ-เสือ” การเขียนสะกดคำคือ ต้องสอนให้เขียน สระ “เ” ก่อน เป็นต้น

แล้วยังมีการสอนแบบ “แจกลูก” ด้วย แบบที่เราเรียนกันตอนเด็กๆ “กะ กา กิ กี กึ กือ” อะไรแบบนี้ จะช่วยให้เด็กๆ เชื่อมโยงและผสมคำได้

จริงๆ ในรายการยังมีรายละเอียดอย่างอื่นอีก ดูแล้วคิดยังไงกันบ้างคะ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่