วิเคราะห์ละคร รักออกฤทธิ์

เป็นบทวิเคราะห์ตามความเห็นส่วนบุคคลนะคะหัวเราะ
ส่วนตัวคิดว่าละครเรื่องนี้ไม่สมบูรณ์แบบ แต่มีเสน่ห์มาก ดูสบาย แต่ก็ซ่อนอะไรไว้มากมาย

ดวงมันก็ตรงบ้าง ไม่ตรงบ้าง เพราะมันเป็นกรรมในอดีตที่มาเป็นวิบากกรรมในปัจจุบัน
แต่สิ่งที่แน่นอน คือ การกระทำในปัจจุบัน ที่เป็นกระแสสวนทางกรรมในอดีต

ถามว่าโจเป็นตัวซวยจริงไหม จริง แต่ไม่เสมอไป
ถามว่าวนิกินผัวไหม ก็กิน แต่ก็ไม่เสมอไป
แล้วถามว่าภาคย์มีดวงปรมะจริงไหม ก็จริงอีก แต่ก็ไม่เสมอไปเช่นกัน

สิ่งที่ทำให้มันไม่ "เสมอไป" คือ การกระทำในปัจจุบันจากเหตุปัจจัยหลากหลาย

กรรมเก่า หรือ ดวง
ก็เปรียบเสมือนสายน้ำหลากเชี่ยว

กรรมปัจจุบัน หรือ การกระทำในชาตินี้
ก็เปรียบเสมือนคนว่ายในกระแสน้ำเชี่ยว จะว่ายสวนทางแรงน้ำ ก็เหนื่อยสักหน่อย เหมือนโจกับวนิที่มีกระแสน้ำเชี่ยวกรากหมายจะพัดลงหุบเหวแห่งความทุกข์ แต่เขาทั้งสองก็ว่ายสวนทางน้ำขึ้นมาได้ด้วยความดี จนมีความสุข

ส่วนนายภาคย์ กระแสน้ำช่วยพัดขึ้นที่สูงแล้วแท้ๆ ก็ยังดันทุรังทำชั่ว ว่ายสวนกระแสดีลงดิ่งสู่นรกด้วยการทำผิดศีลทุกข้อ สุดท้ายกรรมเก่าก็แพ้กรรมใหม่

กรรมไม่ดีเก่าๆในอดีตชาติของโจและวนิ ก็แพ้กรรมดีของตัวเองในปัจจุบัน

กรรมดี กรรมยิ่งใหญ่ของภาคย์ในชาติที่แล้ว ก็แพ้กรรมเลวกรรมชั่วของตัวเองในชาตินี้

ส่วนคนที่มารับเคราะห์ ทั้งสามีทั้งสามของวนิ และ เจ้านายต่างๆของโจ ก็เกิดจากวิบากกรรมร่วมกันมาทั้งนั้น บทบาทก็ไม่แข็งแรง ไม่มีสติพอ ที่จะกระทำกรรมใหม่สวนทางกรรมในอดีต หรือกรรมดีชาตินี้อาจจะส่งผลในอนาคต ซึ่งไม่มีใครรู้ได้ แต่ที่รู้แน่ๆคือทุกอย่างล้วนแต่เป็น อิทปัยตา

ปล. หนึ่ง ว่าด้วยการเชื่อมโยงเรื่อง
1. ที่วนิสาไม่ตายทั้งที่เป็นเจ้านายของโจ เพราะวนิสาไม่ได้จ่ายเงินโจ และก็อยู่ในฐานะคนรักของโจมากกว่าเจ้านาย
2. มันเป็น parallelism and paradoxical ตรงที่ โจ'แกล้ง'เป็นนายดาว ดวงซวยเลยไม่ออกฤทธิ์ใส่วนิสา ส่วนวนิสาก็'แกล้ง'เซ็นทะเบียนสมรสว่าโมฆะ จนเป็นการพิสูจณ์ว่าดวงซวย ดวงกินสามี มันไม่มีจริง
3. การทำความดีเป็นการสู้ชะตากรรมได้มากกว่าการแก้เคล็ด
4. ฉากวนิสาระเบิดอารมณ์เกือบบ้า วนิษาไม่ได้โกรธและเสียใจที่โจโกหก แต่เสียใจ ผิดหวัง อย่างรุนแรง หลังจากรู้ความจริงว่า ตัวเองไม่สามารถรัก และ อยู่กับโจได้ เสียใจเพราะรักโจมากกว่า
5. โจพูดกับระรินว่า "ผมยอมเป็นคนแพ้ แต่ผมจะไม่ยอมแพ้" มีความหมายแฝงว่า ผมยอมรับกรรมเก่า(ดวง) แต่ผมจะไม่เลิกสร้างกรรมใหม่(ที่เป็นการกระทำไม่ใช่แก้เคล็ด)
6. การที่คุณหญิงจุ๋ม จะตายหรือไม่ เป็นจุดถ่วงดุลตัวสำคัญระหว่างการกระทำ และ ดวง เพราะมันสามารถเป็นการฆาตกรรมที่เกิดจากการกระทำ และดวงของโจตัวซวย
7. ฉากโยนมีดของภาคย์ ภาคย์ใช้ดวงปรมะของตัวเองตัดสินความจริง ความดี ความเลว และวนิษาก็เชื่อเพราะข้อมูลไม่มากพอ แต่สุดท้าย สิ่งที่ตัดสินความจริง ความดี ความเลว ของภาคย์คือการกระทำของเขาในตอนสุดท้าย
8. ฉากตายของภาคย์ ที่เกิดจากกระแสลม เปรียบได้กับกรรมเก่า กรรมใหม่: ทิศทางการตกของปากกาที่จะลงมาที่โจ เป็นกระแสกรรมในอดีต (ดวง) ส่วนกระแสลมที่พัดปากกาลงปักคอภาคย์ เปรียบเหมือนกระแสกรรมการกระทำในปัจจุบัน ของทั้งโจ และ ภาคย์ในชาตินี้ สองกระแสนี้สวนทางกัน แต่สุดท้าย กรรมปัจจุบันก็ชนะ

ปล. สอง ว่าด้วยเรื่องของคำพูดเด็ดโดน
1. จะช่วยใคร จงช่วยด้วยเมตตา อย่าช่วยด้วยเสน่หา
2. แก้วที่ตกจากภูเขาหรือโต๊ะกินข้าว มันก็แตกเหมือนกัน
3. ถ้าคุณพิสูจณ์ได้ ว่าดวงมันไม่มีจริง ฉันจะแต่งงานกับ"คนที่ฉันรัก"... และ"เขาก็รักคุณ"
4. เขาได้จ่ายค่าจ้างให้ผมแล้ว ตอนที่เขาช่วยชีวิตพ่อ

ปล. สาม ว่าด้วยเรื่องปมของตัวละคร
ปมใหญ่ในเรื่องคืออาการ ความเชื่อและการหลอกตัวเอง

1. โจ ลังเลว่าตัวเองเป็นตัวซวย เลยพยายามหาความจริง
2. วนิ เชื่อว่าตัวเองเป็นผู้หญิงกินผัว เลยทำบุญและตัดสินใจแต่งงานกับดวงปรมะ
3. หญิงจุ๋ม เชื่อว่าดวงไม่มีจริง และเชื่อสามี เลยพยายามหาความจริง
4. คอปบร้า เชื่อว่าตัวเองฆ่าพ่อ เลยโยนให้ดวง

**ยังมีบางฉากที่ทิ้งปมเอาไว้ และไม่ต่อให้จบ
- ฉากที่พ่อวนิมีอะไรจะบอกโจ แล้วก็ล้มไปเสียก่อน (ถ้าให้เดา ก็คงจะบอกโจว่า วนิชอบโจล่ะ)

สรุป: เรื่องนี้สร้างด้วยแนวคิด และ เจตนาที่ดีมาก ขอชื่นชมค่ะ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่