พอบรรลุคุณวิเศษเพียงขั้นต่ำ ก็เลิกเสีย ในระหว่าง


             มหาสาโรปมสูตร อุปมาพรหมจรรย์กับแก่นไม้
             (บางส่วน)
             ... เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยมแล้วด้วยญาณทัสสนะนั้น.
             เพราะญาณทัสสนะอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็นอยู่
             ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้ไม่เห็นอยู่ เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท
เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า
             ได้ถือเอากระพี้แห่งพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่กระพี้นั้นแล.
...
             พรหมจรรย์นี้ จึงมิใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์
             มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์
             มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์
             มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
             แต่พรหมจรรย์นี้มี เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด
             (คืออรหัตตมรรคและอรหัตตผล)

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  บรรทัดที่ ๖๓๐๙ - ๖๕๐๔.  หน้าที่  ๒๕๖ - ๒๖๓.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6309&Z=6504&bgc=seashell&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=347&bgc=seashell
             จูฬสาโรปมสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6505&Z=6695&pagebreak=0&bgc=lavenderblush

             พระภิกษุบางรูปได้เพียงฌานสมาบัติแล้วชะล่าใจ หยุดอยู่เท่านั้น
ไม่กระทำความเพียรให้ถึงมรรคผลต่อไป เช่น พระเทวทัต
             พระเทวทัตเมื่อบวชแล้วเกิดลาภสักการะและความสรรเสริญ
ได้ญาณทัสสนะ (ได้อภิญญา ๕ อันเป็นโลกียอภิญญา) แล้วมีความยินดี
มัวเมา ประมาท
             คิดว่าตนถึงที่สุด (แก่น) แห่งพรหมจรรย์แล้ว
             

             พระเทวทัตจักเกิดในอบาย
             [๔๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๓ ประการ
ครอบงำ ย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้
             อสัทธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน คือ:-
                  ๑. ความปรารถนาลามก
                  ๒. ความมีมิตรชั่ว
                  ๓. พอบรรลุคุณวิเศษเพียงขั้นต่ำ ก็เลิกเสีย ในระหว่าง
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๓ ประการนี้แล
ครอบงำ ย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=3987&Z=4061&bgc=seashell
             พระเทวทัตทำโลหิตุปบาท
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=7&A=3616&Z=3644&bgc=seashell

             บุคคลที่ได้อภิญญาแล้ว ไม่หยุดอยู่ เจริญต่อไปจนถึงพระอรหัตเลย
เช่น พระอนุรุทธ เมื่อสำเร็จทิพพจักษุ ตรวจดูสัตว์ได้พันโลกธาตุ
และเห็นว่า ยังไม่บรรลุอรหัตเลย จึงไปสอบถามพระสารีบุตรเป็นต้น
             "ขอโอกาสเถิดท่านสารีบุตร ผมตรวจดูตลอดพันโลกด้วย
ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
             ก็ผมปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่หลงลืม
กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา
             เออก็ไฉนเล่า จิตของผมจึงยังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น"

             อนุรุทธสูตรที่ ๒
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=7420&Z=7441&pagebreak=0&bgc=lavender
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนุรุทธะ


             ลาภ สักการะ และความสรรเสริญ เปรียบเหมือน กิ่งและใบ
             ศีลและกัลยาณธรรม เปรียบเหมือน สะเก็ด
             ความสมบูรณ์แห่งสมาธิ เปรียบเหมือน เปลือก
             ญาณทัสสนะ เปรียบเหมือน กระพี้
             เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เปรียบเหมือน แก่น

             ตราบใดที่ยังไม่บรรลุมรรค ผล นิพพาน
             อย่าหยุดเพียงแค่กุศลธรรมในระหว่างๆ
             พึงเพียรต่อไปในกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไป

             การได้หรือบรรลุในระหว่างคั่นนั้น เมื่อบรรลุแล้ว
             อย่าหยุดอยู่แต่เพียงเท่านั้น และอย่ายกตนข่มผู้อื่นในเรื่องนั้น
             เพราะยกตนข่มผู้อื่นเป็นอกุศลธรรม
             และการหยุดอยู่เพียงเท่านั้นเป็นความประมาท อันเป็นทางเสื่อม

             สัปปุริสสูตร
             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  บรรทัดที่ ๒๖๗๐ - ๒๘๙๘.  หน้าที่  ๑๑๓ - ๑๒๒.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=2670&Z=2898&bgc=gainsboro&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อภิญญา
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิมุตติ_2
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่