[บทความหนังคู่กรรม 2013-05-09] คู่กรรม – คุณมีความทรงจำเรื่องสงครามของคุณก็พอ (โดยนันธนัย ประสานนาม หนังสือสตาร์พิคส์)

หมายเหตุ : พอดีผมได้อ่านบทวิจารณ์นี้ในสตาร์พิคส์ ซึ่งมีหลายๆ อย่างแตกต่างไปจากที่ผมเคยคิดหรือเคยอ่านมา เป็นนัยยะที่เน้นทางสงคราม (แต่ก็น่าสนใจมาก) ดังนั้น ถึงแม้หนังจะออกจากโรงได้สักพัก แต่ก็ขอมา post อีกครั้ง (ผมเคยใช้ log in เลขาลิขิต แต่เนื่องจากขอเปลี่ยน password และจำไม่ได้ ก็เลยสมัครใหม่ และกำลังขอ apply log in อยู่)


ในความมืดเงียบเยียบเย็นของโรงภาพยนต์  ผู้วิจารณ์ปาดน้ำตาที่ไหลนองเอ่อขึ้นมาเรื่อยๆ  เมื่อภาพยนต์ใกล้ขมวดตัวเองช่วงปลายเรื่อง  ตรงหน้าของ ณเดชน์ คูกิมิยะ ผู้แสดงบอบช้ำซีดเซียวด้วยการแต่งหน้าเอฟเฟ็กซ์ ก็ทำให้รู้สึกสงสารอย่างใจลอย  ผู้วิจารณ์ไม่เคยเอาใจใส่ใจผลงานของเขามาก่อน และออกจะรู้สึกต่อต้านในบางบริบทเมื่อรู้สึกว่า กระแสของเขาถูกนำเสนออย่างฟูมฟ่ายเกินไป  จนกระทั่งได้ชมภาพยนต์เรื่องคู่กรรม (2556) ซึ่งมีกระแสวิจารณ์ทั้งด้านลบและด้านบวก ปะทะประสานกันอย่างมีนัยสำคัญ

คู่กรรม ฉบับ พ.ศ. 2556  เป็นผลงานกำกับของ กิตติกร เลียวศิริกุล เจ้าของผลงานกำกับภาพบนต์ที่นำเสนอความรุนแรงของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม เช่น กลุ่มเด็กวัยรุ่นที่เล่นการพนันดูบอล ในเรื่อง Goal Club เกมล้มโต๊ะ (2644)  ชนกลุ่มน้อยทางเพศและชนกฃุ่มน้อยทางชาติพันธุ์บริเวณชายแดนในเรื่อง พรางชมพู (2545) และกลุ่มภรรยาและอนุภรรยาในเรื่อง เดอะเมีย (2548)   หากคาดการณืจากผลงานที่ผ่านมาแล้ว  ความสนใจของผู้กำกับที่มีต่อความรุนแรงน่าจะนำมาประสานต่อในภาพบนต์เรื่อง คู่กรรม ฉบับนี้ด้วยเช่นกัน

ภาพยนต์ย่อนวนิยายฉบับ 2 เล่มจบของ ทมยันตี  โดยปรับการเล่นเรื่อง จากผู้เล่าเรื่องแบบรู้แจ้งเป็นผู้เล่าที่เป็นตัวละครเอก โกโบริ   ณเดชน์ คูกิมิยะเริ่มบทรถไฟที่โกโบริโดยสารมายังประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง  อันเป็นช่วงเวลาที่ความสัพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเต็มไปด้วยความเคลือบแคลง  โกโบริทำหน้าที่เป็นช่างที่อู่ต่อเรือที่ย่านฝั่งธนบุรี  ณ ที่นั่นเขาได้พบกับ อังศุมาลิน (อรเณศ ดีตาบาเลซ)  เด็กสาวที่ว่ายน้ำมาลอบสังเกตุทหารญี่ปุ่น  ความสัมพันธ์ของคนทั้งสองพัฒนาขึ้นจากการที๋โกโบริช่วยขับไล่ทาหรญี่ปุ่นที่เมาอาละวาด และหาหมอหายามาช่วยยายของอังศุมาลิน

วันหนึ่งโกโบริ ถูกตาผลและตาบัวลอบฟันข้างหลัง  อังศุมาลินเดินไปช่วยชีวิตเขาเอาไว้  ชายชราทั้งสองทำงานใต้ดินเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น  อังศุมาลินรู้เห็นเรื่องทั้งหมด   จนกระทั่งวันหนึ่ง โกโบริช่วยชีวิตอังศุมาลินมาจากระเบิด  ทั้งสองหมดสติอยู่ในท้องร่องสวน แล้วมีคนไปพบเข้า  หลังจากนั้น คนพูดกันหนาหูว่า หญิงขายคู่นี้ทำในสิ่งไม่ดีไม่งาม เกิดเป็นกระสกดดัน กอปรกับผุ้เชี่ยวชาญระดับสูงของกองทัพญี่ปุ่นเห็นว่าเป็นโอกาสสร้างสัมพันธไมตรี จึงให้โกโบริแต่งงานกับอังศุมาลิน

อังศุมาลินเย็นชากับโกโบริ ทั้งทีอีกฝ่ายหนึ่งรักเธออย่างหมดหัวใจ  เหตุผลของเธอ คือเธอต้องอยู่เพื่อรอรคยการกลับมาของ วนัส ผนิธิ วาธายานนท์) คนรักของเธอที่เข้าร่วมกับขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นเช่นกัน  ในคืนที่โกโบริเมาเหลาเขาได้ผ่านคืนนั้นกับอังศุมาลินฉันสามีภรรยา  เธอยิ่งปั้นปึ่งเย็นยาต่อเขา จนเขาตัดสินใจจะย้ายไปพม่า  โกโบริเข้าใจว่า องศุมาลินรักวนัสมากกว่าเขา  เธอขอให้เขากรุณาช่วยวนัสที่ถูกองทัพญี่ปุ่นจับกุม

วันที่วนัสกลับมา (หาอังศุมาลิน) เป็นวันเดียวกับที่โกโบริกำลังขึ้นรถไฟที่บางกอกน้อยเพื่อเดินทางไปพม่า  บทสนทนาระหว่างวนัสกับอังศุมาลินเป็นการปลดปล่อยให้เธอเป็นอิสระจากการรอคอย  วนัสไปบางกอกน้อยเพื่อส่งสัยญาณให้เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตร (ทิ้งระเบิดจุดยุทธศาสตร์ทางทหาร)  อังศุมาลินรุดไปสถานีรถไฟ เพื่อพบว่า สถานที่นั้นถูกระเบิดทำลายเสียหาย  มีคนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก  เธอตามหาโกโบริ จนพบว่า เขาบาดเจ็บสาหัสอยู่ในซากปรักหักพัง  โกโบริและอังศุมาลินได้ล่ำลากัน  อังศุมาลินได้เอยคำรัก ‘อะนะตะ โอ๊ะ อิยชิเตะมิมัส” ที่โกโบริเคยสอนเป็นครั้งสุดท้าย

กระสของภาพยนต์คู่กรรมฉบับนี้ มิได้เกิดจากแฟนคลับณเดชน์เท่านั้น แต่รวมไปถึงผู้ชมทั่วไปและแฟนหนังสือ “คู่กรรม”  ด้วย  ทั้งนี้คงปฏิเสธได้ยากว่า มีการวิจารร์นเชิงบลบค่อนข้างมาก

บทวิจารณ์เรื่องหนึ่งที่ผู้วิจารณ์เห็นว่าน่าในใจคือ ข้อความเขียนของ ‘นิ้วกลม’ เรื่อง ‘คู่กรรม สะพานระหว่างสองเหตุผล’  ที่เขาเขียนลงในเฟซบุ๊คและมีคนแชร์กันอย่างกว้างขวาง  นิ้วกลมมีแนวโน้มที่จะวิเคราะห์ภาพบนต์เรื่องนี้ด้วยสัญศาตร์  เขากล่าวถึงชื่อของตัวละครเอกขายหญิงว่า โกโบริแปลว่าคูน้ำเล็กๆ  ส่วนอังศุมาลินเปลว่าดวงอาทิตย์  อันมีลักษณะเป็นหยินหยาง  ทั้งยังได้ตีความฉากท้องเรื่อง เช่น สะพานและท่าน้ำที่ปรากฏบ่อยครั้งว่าเกี่ยวเนื่องการปะสานคู่ตรงข้ามต่างๆ ภายในเรื่อง  ผู้วิจารณ์เห็นว่าเขามีความคิดสร้างสรรค์ดี  แต่มีข้อสังเกตเรื่องการตีความบางประการ เช่น การตีความชื่อคัวละครว่าเป็นคู่ตรงข้ามกันนั้น  ในฉบับนวนิยายรุว่า นามสกุลของอังศุมาลินคือ ชลาสินทธุ์ (อันหมายถึง ทะเล แม่น้ำ)  จึงคาดคิดได้ว่า เอเป็นคนที่มีหยินหยางในตัวเอง อันเป็นเหตุให้การแสดงออกของเธอ ดูขัดแย้งในตัวเองอยู่ตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม เมือได้สำรวจบทวิจารณ์เรื่องอื่นๆ แล้ว พบว่า ไม่ค่อยมีใครให้น้ำหนักแก่ความทรงจำเรื่องสงคราม (war memory)  ในภาพบนต์เรื่องนี้ หรือจัดภาพบนต์เรื่องนี้ให้เป็นภาพยนต์สงคราม (war film)  ดูหนังในหนังสือ จะมาชวนเชิญท่านผู้อ่านคิดถึงประเด็นดังกล่าวในภาพบนต์เรื่อง คู่กรรม ดูบ้าง

ความทรงจำเรื่องสงครามในภาพบนต์ไทยเป็นความทรงจำกระสหลัก คือ สงครามระหว่งรัฐนับแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา ที่จำลองบรรยากาศได้ล้ำกว่าพงสาวดาร  การรบพุ่งเป็นไปแย่งดุเดือดเลือดสาด ตระการตา  โดยแสดงวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของตัวละครที่เป็นศูนย์กลางของเรื่องนั้นๆ เช่น สุริโยทัย บางระจัน และภาพบนต์ชุด ตำนานสมเด็จพระณเรศวร  เมื่อลองเปรียบเทียบแล้วจะพบว่า ความทรงจำเรื่องสงครามโลกครั้งที่ 2  ปรากฏไม่มากนักในภาพบนต์ไทย หรือ แม้แต่ในภาคปฏิบัติอื่นๆ ในสังคม เช่น วรรณกรรม แบบเรยน และวันรำลึกเหตุการณ์  ความทรงจำนี้ดูจะมีความพยายามเพื่อผูกโยงเข้ากับสถานที่ทางประวัติศาสตร์ เช่น สะพานช้ามแม่นำแควที่จังหวัดกาญจนบุรี  สุสานทหาร  แต่ควาทรงจำจากสงคราครั้งนี้ ก็ถูกแปรสภาพเป็นเพียงเรื่องเล่าประกแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งไม่ทรงพลังมากพอที่จะปลุกใจให้รักชาติเท่ากับสงครามครั้งอื่น

ถ้าเปรียบเทียบกับภาพยนต์ตะวันตก ความทรงจำจากสงครามโลกครั้งที่ 2  คือขุมทรัพย์วัตถุดิบอันยิ่งใหญ่  ความทรงจำดังกล่าวยังคงถูกทบทวนในปัจจุบัน ผ่านภาพยนต์หลายเรื่อง เช่น Life is Beautiful  (1997), The Pianist (2002) และเดอะ reader (2006)  และเมื่อเทียบกับความทรงจำของสงครามโลกครั้งนี้ ที่ปรากฏในภาคปฏิบัติของประเทศอื่นในประชาคมอาเซี่ยน เราจะพบว่า สงครามโลกครั้งที่สอง เป็นหัวเลี้ยวหัวต่ออันมีส่วนปลดแอกชาติจากเจ้าอณานิคม  และกำหนดโฉมหน้าของประเทศเหล่านั้นมาจนถึงปัจจุบันด้วย

ด้วยความสัมพันธ์ที่ ‘น่าเคลือบแคลง’ ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น  และสถานะที่เลื่อนไหลและแปรเปลี่ยนของไทย  น่าจะมีส่วนทำให้ความทรงจำดังกล่าว ไม่ได้ถูกผลิตซ้ำอย่างกว้างขวาง  ความทรงจำเรื่องสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เด่นชัดมากที่สุดฉบับหนึ่งสำหับคนไทยจึงเป็ฯโรมานซ์ระหว่างโกโบริกับอังศุมาลิน  (ฉบับสะพานข้ามแม่น้ำแคว ผู้ที่แบกรับความรุนแรงคือ เชลยชาวต่างชาติ ทำให้คนไทยโยงความทรงจำนั้น ไม่ค่อยได้)  ทีมีการผลิตซ้ำผ่านศิลปะแขนงต่างๆ หลายต่อหลายครั้ง  แต่เท่าที่จำความได้ ยังไม่มีฉบับใดที่แสดงการคารวะความทรงจำครั้งนั้น เท่าคู่กรรมฉบับนี้  

ผู้วิจารณ์สนใจคุ่กรรมฉบับนี้ ตั้งแต่เป็นตัวอย่งฉายทางเว็บไซต์ youtube  ในตอนเปิดเรื่อง มีเสียงของโกโบริ เขาตื่นจากหลับและจ้องตรงมายังผู้ชม  จากนั้น ภาพค่อยๆ ปรับเปลี่ยนเป็นภาพยนต์การ์ตูนและดนตรีมีท่วงทำนองสนุกสนาน  จุดนี้มีผู้ตำหนิกันมากว่า เป็นการไม่คารวะต่อความทรงจำเรื่องสงครามที่มีการนองเลือดของผู้คนจำนวนมาก  ผู้วิจารณืเห็นว่า ภาพการ์ตูนนี้อาจเชื่อมโยกัลอนิเมชั่นได้หลายเรื่อง  ที่น่าสนใจคือเรื่อง Grave of the Fireflies (สุสานหิงห้อย 1988) จากสตูดิโอจิบลิของญี่ปุ่น ที่นำเสนอความโหดร้ายของสงครามโลกครั้งมี่ 2  โดยบางตอนนำเสนออย่างมีชีวิตชีวา

ผู้วิจารณ์ไม่คิดว่า ภาพบนต์การ์ตูนที่ปรากฏจะเป็นอิทธิพลจากอนิเมชั่นเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือเป็นการแสดงความไม่เคารพต่อผู้สูญเสียในสงคราม  จึงขอเสนอว่า ภาพยนต์การ์ตูนที่ดูสดใสน่ารัก เมื่อนำไปวางเคียงกับความโหร้ายในตอนปลายเร่องแล้ว ย่อมแสดงให้เห็นความบิดเบี้ยวที่ไปด้วยกันไม่ได้ แต่มาประมวลอยู่นการเล่าเรื่องเดียวกัน  ผู้วิจารณ์จึงขอเสนอว่า สาระสำคัญปะรการหนึ่งที่คู่กรรมฉบับนี้ต้องการสื่อสาร คือ การวิพากษ์ความไร้สาระหรือความแอบเซิร์ตของสงคราม (absurdity of war)

การจัดวางองค์ประกอบหลายอย่างให้ดูน่าขบขัน แต่แสดงนัยความหมายที่เคร่งเครียดจริงจังก็เป็นจุดหนึ่งที่แสดงให้เห็นความแบบเซิร์ต ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่โกโบริกับหมอโยชิตั้งใจทำเทริยากิที่บ้านของอังศุมาลิน  แล้วสัญญาณหวอดังขึ้น  หมอโยชิถืออุกรณ์ประกอบอาหารแล้วรุดกลับไปยังอู่ ในกิริยาที่ขึ้นขึ้นเตรียมพร้อม

[มีต่อ]

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
อีกตัวอย่างหนึ่งที่สำคัญ คือ ฉากระเบิดบนสะพานพุทธ ที่อังศุมาลินยืนหลับตา ทั้งที่ได้ยินเสียงหวอ จนดูเหมือนว่าเธอจะฆ่าตัวตาย  โกโบริพยายามพาเธอลงจากสะพานแต่เธอไม่ยอม  ในท่ามกลางฝุ่นควันและเสียงพูดที่ได้ยินไม่ถนัดชัดเจน โดยเลืยนแบบมาจากอาการหูดับชั่วตราวเพราะสดับเสียงที่ดังเกินไป  อังศุมาลินแสดงสายตามผูกพันลึกซึ้งต่อโกโบริ  เมื่อการทิ้งระเบิดสิ้นสุด เขาและเธอในสภาพเปื้อนฝุ่นมอมแมมพากันขี่จักรยานออกจากสถานที่นั้นราวกับว่าคนทั้งสองมาเดทกัน  สองข้างทางเป็นซากปรักหักพัง ควันไฟ และเสียงร้องให้ของผู้คน  องค์ประกอบเหล่านี้ เมื่อมาวางเยงกันจึงดูบิดเบี้ยวและแสดงให้เห็ความไร้แก่นสารของสงคราม อันเป็นแนวคิดสำคัญที่เราพบได้ในภาพบนต์สงครามจากทั่วมุมโลก  แต่มิใช่แนวคิดที่อยู่ในภาพยต์สงครามกระแสหลักของไทย

เมื่อหันกลับไปพิจารณาคำวิพากษ์ของผู้ชมเกี่ยวกับการแสดงที่แข็งทื่อของตัวละคร  การตีความตัวละครอย่างวนัสผู้อ่อนโยน ให้กลายเป็นวนัสผู้แข้มแข็งเหี้ยมหาญ  ผู้วิจารณ์จะขอชวนให้ลองอ่านภาพยนต์เรื่องนี้อีกมุมหนึ่งว่า เมื่อสงครามคือความไร้สาระ  การแสดงออกที่แข็งทื่อและลุคลิกที่ดูกลับหัวกลับหางของตัละครต่างกับที่แฟนละครคู่กรรมเคยรับรู้มก่อน ส่อนัยให้เห็นว่าสงครามเปลี่ยนชีวิตของคนไปมากเพียงไร  อังศุมาลินอาจเปลี่ยนจากเด็กสาวผู้เปี่ยมด้วยพลังชีวิต กายเป็นผู้ที่อยู่กับการคาดคอยและความหวังอันเลือนลาง  หลังจกอังศุมาลินได้ร่วมรักกับโกโบริ  โปรดสังเกตุว่า การแสดงที่แข็งทื่อของเอกลับดูมีชีวิตชีวาขึ้น และมีพลังสสูงสุดในเพดานของเธอในฉากสุดท้าย  นอกจานั้น สงครามยังได้เปลี่ยนวนัสผู้อ่อนโยนให้กลายเป็นอื่น  สงครามจึงมิได้ทำลายเพียงแค่ตึกรามบ้านช่องหรือพรากชีวิตคนจำนวนมหาศาลเท่านั้น  แต่สงครามยังกลอ่นกินลึกซึ้งถึงตัวตนของคนที่อยู่ในสงครามด้วย

ลองคิดถึงภาพบนต์สงครามอย่าง Rambo (1992-2008) ที่ตัวละครเอกดูมีอาการทางประสาทเพราะผ่านความโหร้ายของสงคราม   ในคู่กรรม เราก็ได้เห็นหมอโยชิผู้เคยมีอารมณ์ขัน กลับแสดงอาการคล้ายคนเสียจริต  เขาพร่ำบ่นกับตัวเองซ้ำๆ  หลังจากที่พบว่าเขาไม่อาจช่วยโกโบริผู้เป็นเพื่อนรักได้  จึงกล่าวได้ว่า สงครามได้ทำลายตัวตนของเขาไปอีกคนหนึ่ง  การนำเสนอหรือวิพากษ์ความรุนแรงผ่านความรุนแรงอันเป็นลายเซ็นของผุ้กำกับคนนี้ จึงน่าจะยังคงอยู่อย่างมีนัยสำคัญ

อีกจุดหนึ่งที่จะชวนให้พิจารณาคือ การตายของโกโบริ ที่เขาถูกทับอยู่ในซากปรักหักพัง และมีเศษไม้แทงทะลุอก  อังศุมาลินตามหาเขามาทั้งคืน จนยามรุ่งเธอได้พบเขา  อังศุมาลินเดินขึ้นไปหาโกโบริบนกองเศษซากนั้น แล้วกล่าวอำลา  กองเศษซากที่รวมทับกันจนสูง ทำให้ดกโบริที่อยู่บนยอดดูเหมือนอนุสาวรีย์  เมื่อมองอีกมุมหนึ่ง ก็อาจมองเศษกองซากเป็นเหมือนแท่นบูชา  และโกโบริเสมือนสิ่งที่ถูกใช้บูชายันให้แก่ความรัก และ/หรือความโหร้ายของสงคราม  ฉากตายของเขาเกิดขึ้นในเวลาที่ดวงอาทิตย์กำลังจะทอแสง (ซึ่งต่างจากในนวนิยายที่การตายเกิดขึ้นในเวลาที่ ‘ท้องฟ้ามืดสนิท แสงดาวสลัวหลุบหรู่”)  การมาของ ‘ฮิเดโกะ’ คือ การมาของแสดงสว่างในชีวิตเขา  ส่วนใหญ่ล้ว เราจะพบลว่าความมืดมิดในรัตติกาล จะเป็นสัญญลักษณ์ของความตาย  แสงอบอุ่นยามเช้า ซากปรัก  อารมณ์ขัน การบอกรัก และความตาย สิ่งเหล่านี้น่าจะถูกจัดวางให้สวยงามอย่งบิดเบี้ยว เพื่อวิพากษ์ความไร้สาระของสงคราม  อันเป็นสารอีกประการหนึ่งของภาพยนต์ ที่มาแข่งขันกับสถานะโรแมนซ์ ในการรับรู้ของผู้ชมที่รู้จักคู่กรรมฉบับอื่นๆ

ผู้วิจารณ์เองไม่ปฏิเสธว่าภาพยนต์มีความไม่ลงตัวหลายอย่างที่ทำให้รู้สึกเสียดาย  แต่ผู้วิจารณ์ขอบอกกล่าวสิ่งที่ประทับใจสองอย่างในภาพยนต์เรื่องนี้  อย่างแรกคือ ฉากท้องเรื่องที่มีบรรยากาศพยับโพยมฝนที่เป็นของจริงปรากฏอยู่ตลอด  ภาพกลุ่มเมฆอุ้มน้ำลอยต่ำ  ฟ้าแลบแปลบปลาบ  เม็ดฝนที่เต้นระบำบนผืนน้ำ  ภาพเหล่านี้ปรากฏในเรื่องระหว่างที่ความขัดแย้งเริ่มทวีความเข้มข้มมากขึ้น  วันที่อากาศแจ่มใสจึงเป็นวันที่ชวนจดจำสำหรับตัวละคร  ทั้งวันแรกและวันลาระหว่างโกโบริกับอังศมาลิน (หสังเกตได้ว่า ในวันพิธีแต่งงานอากาศดี แต่กลางคืนกลับอึมครึมอีกครั้ง  ส่วนในการตายของโกโบริ หลังการทิ้งระเบิดมามากมาย แต่มีดวงอาทิตย์ในยามรุ่งสาง)

อย่างที่สองที่ผู้วิจารณ์ประทับจคือ การแสดงของณเดชน์  เมื่ออ่านคู่กรรมบันวนิยายประกอบ ยิ่งชวนเชื่อว่า เขาคือโกโบริจริงตามที่ผู้เขียนพรรณาความผึ่งผ่ายไว้ในตัวอักษร  คู่กรรมฉบับอื่นในประสบการณ์ในประสบการณ์ชีวิตของผู้วิจารณืยังไม่เคยไปถึงจุดนี้  ก่อนชมคู่กรรฉบับนี้ ผู้วิจารณ์ยอมรับว่า มีอคติต่อนักแสดงนำอยู่บ้าง  แต่หลังได้ชมภาพยนต์ฉบับนี้ซ้ำหลายรอบ ผู้วิจารณ์ขอแสดงจุดยืนทิ้งท้ยข้อเขียนนี้ผ่านคำพูดของอังศุมาลิน ในฉบับนวนิยาย มีความตอนหนึ่งว่า ‘ความทุกข์จากได้รัก ไม่เท่ากับความทุกข์จากการไม่พยายามรัก … ตอนนี้ ฉันเป็นอิสระแล้ว

credit : หนังสือสตาร์พิคส์  โดย นันธนัย  ประสานนาม


หมายเหตุ : แม้จะยาวไป (ไม่) หน่อย แต่หวังว่า พวกเราที่ชอบหนังคู่กรรมจะได้มุมมองอีกแง่มุมหนึ่ง ที่พวกเราส่วนใหญ่ไม่ได้คิดไปถึง
ความคิดเห็นที่ 3
ยาวแต่ก็อ่านจนจบ ขอบคุณที่เอาบทวิจารณ์มาลงให้อ่านครับ  เห็นด้วยกับประโยคนี้ของผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง

"ก่อนชมคู่กรรฉบับนี้ ผู้วิจารณ์ยอมรับว่า มีอคติต่อนักแสดงนำอยู่บ้าง  แต่หลังได้ชมภาพยนต์ฉบับนี้ซ้ำหลายรอบ ผู้วิจารณ์ขอแสดงจุดยืนทิ้งท้ายข้อเขียนนี้ผ่านคำพูดของอังศุมาลิน ในฉบับนวนิยาย มีความตอนหนึ่งว่า ‘ความทุกข์จากได้รัก ไม่เท่ากับความทุกข์จากการไม่พยายามรัก … ตอนนี้ ฉันเป็นอิสระแล้ว "

หนังเรื่องนี้มันประหลาดตรง คนยี้ ก็จะยี้ตั้งแต่ดูครั้งแรก หรือ ยี้ตั้งแต่ยังไม่ได้ดู ส่วนคนชอบ มักจะชอบมากขึ้นหลังดูซ้ำหลายรอบ เรียกว่าไปคนละทิศละทางเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามการมีบทวิจารณ์แง่มุมต่างๆของหนังจากนักวิจารณ์ออกมามากมายทั้งด้านดีด้านไม่ดี ก็แสดงถึงแก่นสารในตัวหนังเองที่มีเรื่องให้พูดถึงได้มาก หนังที่ทำแบบขอไปที ไม่มีเรื่องให้กล่าวถึงได้มากมายขนาดนี้แน่นอน ส่วนตัวใครถามพันครั้งผมก็จะตอบเหมือนกันทั้งพันครั้งว่าหนังเรื่องนี้ไม่ได้ดีสมบูรณ์แบบ แต่ก็ห่างไกลจากคำว่าแย่อย่างที่ใครหลายคนอยากเห็นมันเป็น    

รอ DVD และ Blu Ray อย่างใจจดใจจ่อ  สไตล์หนังเหมาะกับสไตล์การดูหนังแบบปิดไฟ ปิดม่าน ครอบหูฟังแล้วเสพย์ ของผมมาก 555+

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่